DSpace Repository

การประเมินความเสี่ยงและการจัดการบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19

Show simple item record

dc.contributor.author อโณทัย จัตุพร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-06-23T07:37:16Z
dc.date.available 2021-06-23T07:37:16Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4249
dc.description.abstract บทนำ บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 สูง การดูแลบุคลากรในสถานพยาบาลที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 จึงควรได้รับการประเมินความเสี่ยงและการจัดการจากหน่วยงานอาชีวอนามัย และหน่วยงานควบคุมโรคติดเชื้อของโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อทบทวนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงและการจัดการของบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสเชื้อโควิด-19 ที่เผยแพร่ในปัจจุบัน 2) เพื่อเผยแพร่เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ประเมินความเสี่ยง วิธีการศึกษา รวบรวมแนวทางปฏิบัติของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางแพทย์ จากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษา การประเมินความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์อาศัยการประเมินการรับสัมผัสต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยอาศัยข้อมูล เช่น ระยะห่าง ระยะเวลา และความรุนแรงของเหตุการณ์สัมผัส การใส่หน้ากากป้องกันของผู้ป่วย กิจกรรมที่บุคลากรทำกับผู้ป่วย และการใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของบุคลากรทางการแพทย์จากนั้นบุคลากรจะถูกแบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็นระดับสูง กลาง และต่ำ โดยมีกระบวนการจัดการบุคลากรที่เคร่งครัดแตกต่างกัน ที่ประกอบไปด้วย การหยุดการปฏิบัติงานและกักตัว การส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 การสังเกตอาการและวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วันหลังวันที่สัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย และการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย สรุปผล เมื่อบุคลากรทางการแพทย์สัมผัสผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 ควรได้รับการประเมินความเสี่ยง ให้การจัดการตามระดับความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การติดเชื้อไวรัสโคโรนา th_TH
dc.subject โควิด-19 (โรค) th_TH
dc.subject การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ th_TH
dc.subject บุคลากรทางการแพทย์ -- การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ th_TH
dc.title การประเมินความเสี่ยงและการจัดการบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19 th_TH
dc.title.alternative Risk assessment and management of health care workers who exposed to COVID-19 virus en
dc.type Article th_TH
dc.issue 1 th_TH
dc.volume 7 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Introduction: Healthcare workers are at an especially high risk for COVID-19 infection. To prevent further infectious transmission between healthcare workers, risk assessment and management from the infection control and occupational health units of the hospital, should include those healthcare workers caring for personnel with any history of exposure to patientsconfirmed to haveCOVID-19. Objective: 1) To review the current published practice guidelines on risk assessment and management of healthcare workers who have been exposed to the COVID-19 virus; and 2) todisseminate risk assessment tools and procedures. Methods: Examiningthe COVID-19 virus practice guidelines that are relevant to healthcare workers from the World Health Organization (WHO), the Centers for Disease Control and Prevention (CDC) and the Department of Disease Control under theThai Ministry of Public Health. Results:The risk assessment of healthcare workers must rely on collected data includingdistances, durationsand severity of exposure. This also includes all the activities these health care workersdid with the patients as well aswhat personal protective equipment was worn by both the healthcare workers and the patients. Uponassessment, the healthcare workers must be classifiedinto 3 groups ofrisk (i.e., high, medium and low).Each risk assessment group has different management processes correlated with it based on stringency, including work restriction and quarantine, COVID-19 laboratory tests, daily observation of symptoms and body temperaturesfor at least 14 days from the last day of exposure. Conclusion: Healthcare workers with exposure to patients confirmed with COVID-19 should undergo risk assessment and a proper risk-based management to prevent infectious transmission. en
dc.journal บูรพาเวชสาร th_TH
dc.page 127-133. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account