DSpace Repository

แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนและนักศึกษาไทยในสถาบันระดับอุดมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.author Zhang, Chunjiao
dc.contributor.author สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.author วรวุฒิ เพ็งพันธ์
dc.contributor.author ภัทรมนัส ศรีตระกูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-06-23T01:34:01Z
dc.date.available 2021-06-23T01:34:01Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4234
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีน ที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทย 2) ศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมจีนในชีวิตประจำวันของนักศึกษาไทยที่เคย ไปศึกษาในระดับอุดมศึกษาของจีน 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของ นักศึกษาจีนและนักศึกษาไทยในสถาบันระดับอุดมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ นักศึกษา จีนและนักศึกษาไทย จำนวน 40 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิธีการสนทนากลุ่มจากอาจารย์และผู้ ประสานงาน จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปจัดหมวดหมู่ประเด็นสำคัญ นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบความเรียง ตารางและแผนภูมิ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนมีการศึกษาด้วยตนเองจากหนังสือ จากเว็บไซต์ จากอินเทอร์เน็ต จากภาพยนตร์ และการถามรุ่นพี่ทั้งชาวจีนและชาวไทยก่อนมาศึกษา ขณะศึกษา เรียนรู้จากการสังเกต การพูดคุยกับเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต้องส่งเสริม คือภาษา สมัยใหม่ในการสื่อสารมารยาทในสังคม กฎหมายข้อบังคับที่แตกต่างกัน สถานที่ที่ต้องติดต่อ ต้องการเพื่อนคนไทยและคนจีนช่วยให้คำแนะนำ 2. การเรียนรู้วัฒนธรรมจีนในชีวิตประจำวันของนักศึกษาไทยมีการเรียนรู้จากบทเรียนในหลักสูตรสังคมศึกษา จากเอกสาร จากเว็บไซต์ จากอินเทอร์เน็ต ศึกษาด้วยตนเองจากช่องโทรทัศน์ของจีนในไทยจากภาพยนตร์ จากคำบอกเล่าของรุ่นพี่คนไทยที่เคยไปศึกษา และถามเพื่อนคนจีนที่เรียนอยู่ด้วยก่อนไปศึกษา ขณะศึกษาเรียนรู้จากการสังเกต อ่านเอกสาร ถามเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต้องส่งเสริม คือ ภาษาสมัยใหม่ในการสื่อสารมารยาทในสังคม กฎหมาย อาหารที่แตกต่างกัน สถานที่ที่ต้องติดต่อ ต้องมีเพื่อนคนไทยและคนจีนให้คำแนะนำและช่วยเหลือ 3. แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนและไทยในสถาบันระดับ อุดมศึกษา คือ ควรมีการปรับหลักสูตรให้ทันสมัย เพิ่มภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน ควรสอดแทรกวัฒนธรรมด้วยการจัดโครงการทัศนศึกษา จัดตั้งหน่วยงานและบุคลากรช่วยประสานงานโดยตรง จัดตั้งเป็นสมาคมหรือชมรมศิษย์เก่าเพื่อจัดกิจกรรมเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาไทยและจีน จัดบรรยากาศวิชาการโดยใช้เทศกาลตามประเพณีในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มเติมจากที่ได้รับในบทเรียน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การเรียนรู้ th_TH
dc.subject วัฒนธรรมไทย th_TH
dc.subject นักศึกษาจีน th_TH
dc.title แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนและนักศึกษาไทยในสถาบันระดับอุดมศึกษา th_TH
dc.title.alternative The guideline for culture learning in daily life promotion of Chinese and Thai students in higher educational institutions level en
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 15 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The purposes of this research aimed to; 1) study Thai culture learning in daily life of Chinese students in Thai higher education level, 2) study Chinese culture learning in daily life of Thai students who had studied in Chinese higher education level, 3) study guideline promotion for culture learning in daily life of Chinese and Thai students in higher education level. Qualitative method was the method of this research. The key informants composed of 40 Chinese and Thai students were indepth interviewed and 6 instructors and coordinators who participated in focus group discussion. Data analysis composed of content analysis and main topics classification. Research results was presented by descriptive analysis with tables and charts. The results were as follows; 1. Thai culture learning in daily life of Chinese students consisted of studying by themselves, books, website, internet, film and talking with senior both Chinese and Thai students before coming to Thailand. During studying in Thailand, both observation and conversation with friends and instructors were used. Culture learning to be promoted were modern language for communication, different social etiquettes, law and social rules, important places, these need assistance from both Chinese and Thai friends. 2. Chinese culture learning in daily life of Thai students consisted of studying by lesson from social studies curriculum, documents, website, internet, self-study from China channel television in Thailand, film, talking with senior Thai students who had studied in China and Chinese friends who were studying in Thailand before travelling to China. During studying in China, observation, study from documents and conversation with friends and instructors needed to use. Culture learning needed to be promoted were modern language for communication, different social etiquettes, law and Chinese foods. Concerning with important places must be assisted from both Chinese and Thai friends. 3. The guideline for culture learning in daily life promotion for both Chinese and Thai students in higher education level was that the curriculum should be revised to be up date addition modern language, added culture issues by field trip management, setting up a Chinese students service, forming student alumni association or club for cultural activity, atmosphere academic arrangement using tradition of community in each festival to be culture learning resource for students. en
dc.journal วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม th_TH
dc.page 174-190. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account