DSpace Repository

รูปแบบนโยบายภาครัฐในการสร้างความมั่นคงของแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรม

Show simple item record

dc.contributor.author สมเจตน์ ภิรมย์มาก
dc.contributor.author ไพฑูรย์ โพธิสว่าง
dc.contributor.author จีระ ประทีป
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-06-17T01:43:34Z
dc.date.available 2021-06-17T01:43:34Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4181
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายด้านแรงงานของภาครัฐ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายภาครัฐด้านความมั่นคงของแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการพัฒนารูปแบบนโยบายด้านความมั่นคงของแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรูปแบบในการวิจัย ครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญ คือ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ หัวหน้าหน่วยงานราชการด้านแรงงานหรือนักวิชาการแรงงาน นักบริหาร สถานประกอบการหรือตัวแทนผู้นำด้านแรงงาน ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 12 ราย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายด้านแรงงานของภาครัฐ มาจากความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การเรียกร้องของภาคแรงงาน ภาคนายจ้างหรือผู้ประกอบการ และความต้องการขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ปัจจัยในการสร้างความมั่นคงของแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมประกอบไปด้วย 8 ปัจจัย ได้แก่ กฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานภาครัฐ นายจ้าง/ผู้ประกอบการ เทคโนโลยี ลูกจ้าง การเมือง และการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายภาครัฐด้านความมั่นคงของแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จนั้นประกอบไปด้วย 9 ปัจจัย ได้แก่ นโยบายด้านแรงงาน กฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานของรัฐ การเมือง เทคโนโลยี การบังคับใช้กฎหมาย นายจ้าง/ ผู้ประกอบการ และการมีส่วนร่วมจากการวิจัย ได้เสนอแนวทางในการพัฒนารูปแบบนโยบายด้านความมั่นคงของแรงงานไทยในภาค อุตสาหกรรม ดังนี้ ปรับปรุงกกฎหมายให้มีความทันสมัย เพิ่มการบังคับใช้และบทลงโทษ จัดสรรอัตรากำลังเจ้าหน้าที่รัฐให้เพียงพอ เพิ่มความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมนายจ้าง/ ผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตรวจสอบสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุนโดยให้มีการปรับลดหรือเพิกถอนสิทธิหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กำหนดให้ผู้ประกอบการสนับสนุนแรงงานให้เข้ารับการพัฒนาความรู้และทดสอบทักษะตามมาตรฐานการพัฒนาฝีมือแรงงาน นำระบบเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้อำนวยความสะดวกแก่นายจ้าง/ ลูกจ้างในการตรวจสอบสิทธิและการจ้างงาน ส่งเสริมให้ลูกจ้าง พัฒนาความรู้และทักษะให้ตรงกับความต้องการขององค์กรเพื่อรองรับเทคโนโลยี 4.0 ภาคการเมืองควรมีการแก้ไขขั้นตอนการพิจารณากฎหมายให้รวดเร็วและทันสมัย โดยพิจารณาถึงประโยชน์ต่อแรงงาน และการมีส่วนร่วมของภาคแรงงานในการแก้ไขและกำหนดนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของแรงงานอย่างแท้จริง th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject แรงงาน -- ไทย th_TH
dc.subject นโยบายแรงงาน -- ไทย th_TH
dc.title รูปแบบนโยบายภาครัฐในการสร้างความมั่นคงของแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรม th_TH
dc.title.alternative Government policy model for the stability of Thai workers in industrial sector en
dc.type Article th_TH
dc.issue 1 th_TH
dc.volume 12 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to analyze the factors relating to the decision making of the government’s labor policy and the factors affecting the government policy for the stability of Thai workers in the industrial factor for the implement and suggestions of development. Qualitative research was the methodology of this research. Data collection came from research documents and in-depth interview with the main informants who are the chief of an official unit in labor department or the labor academicians, the business administrators or the representatives of labors in the eastern region including Chonburi, Rayong, and Samut Prakarn, totaling 12 persons. According to the research, the factors relating to the decision-making of the government’s labor policy are as follows: the demands of the labor sector, the employers or the entrepreneurs and the demand of international labor organizations. Additionally, the constitution of labor’s stability consists of 8 factors which are laws, government officers, government units, employers/entrepreneurs, technology, employees, politics, and participation. The factors that affect the government’s stability policy of Thai workers in the industrial sector can be implemented requiring 9 factors which are labor policy, laws, government officers, government units, politics, technology, law enforcement, employers/entrepreneurs and participation. And The research gave the suggestion for the development of the government’s policy model of Thai workers in the industrial sector as follows: modernization of laws, increase of law enforcement and punishment, capacity sufficiency of government officer, increase of knowledge and skills of government officer for the working efficiency, control of employers/entrepreneurs to strictly follow the laws, monitor the privilege tax of the investor, reduce or termination of the privilege tax for negligence, specifying entrepreneurs to support workers to development knowledge and skill in accordance with the labor skill testing standards, application of information technology to facilitate employers/employees in the inspection of right and employment, encouraging employees to improve their knowledge and skills that correspond to the demand of the organization and are able to handle the 4.0 technology, the politic sector revising the law consideration process to be faster and more updated. By considering the benefits of workers and must take the concern on participation of the labor sector in the improvement of the government policy which truly associates with the stability of workers. en
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย th_TH
dc.page 139-156. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account