DSpace Repository

การแพร่กระจายและการถ่ายทอดเชื้อไวรัสระหว่างกุ้งขาวกับกุ้งพื้นเมืองในลุ่มแม่น้ำบางปะกง (โครงการวิจัยปีที่ 2)

Show simple item record

dc.contributor.author ปภาศิริ บาร์เนท th
dc.contributor.author วันศุกร์ เสนานาญ th
dc.contributor.author จรัญ วงษ์วิวัฒนาวุธิ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:48Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:48Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/416
dc.description.abstract การศึกษาในครั้งนี้เป็นการสำรวจไวรัสสามชนิด คือ Taura syndrome Virus (TSV), white Spot Syndrome Virus (WSSV) และ Yellow Heard Virus (YHV) ต่อเนื่องในปีที่ 2 แบ่งการสำรวจออกเป็นฤดูแล้งในปี 2005 (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) และฤดูฝน ปี 2006 (มิถุนายน-สิงหาคม) จากกุ้งพ่อแม่พันธุ์ที่จับจากธรรมชาติของอ่าวไทย และกุ้งพื้นเมือง ในแม่น้ำบางปะกง สำหรับการตรวจไวรัส TSV จะใช้เทคนิค RT-PCR ของชุดทดสอบ IQ2000TM TSV Detection and Prevention system ส่วน WSSV และ YHV ใช้เทคนิค Immuno dot blot ที่มี monoclonal antibody จำเพาะต่อ YHV และ WSSY ผลสรุปการสำรวจไวรัสในกุ้งพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำตลอดปีจากจำนวน 66 ตัว พบไวรัสชนิด TSV, WSSV และ YHV จำนวน 3, 16 และ 10 ตัว ตามลำดับ พ่อแม่พันธุ์กุ้งแชบ๊วย จำนวน 38 ตัว พบไวรัส TSV และ WSSV อย่างละ 1 ตัว และพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาลาย จำนวน 1 ตัว ไม่พบไวรัสทั้งสามชนิด ผลการตรวจพบอัตราความชุกชุม (prevalence) ของไวรัสจากกุ้งธรรมชาติที่จับจากแม่น้ำบางปะกง ดังนี้ในช่วงฤดูแล้ง พบไวรัส TSV ในกุ้งขาว จากอำเภอเมืองจำนวน 26 ตัว จาก 47 ตัว และจากอำเภอบางคล้า จำนวน 6 ตัว จาก 44 ตัว รวมทั้งพบไวรัส WSSV และ YHV ด้วยส่วนกุ้งพื้นเมืองจำนวน 11 ชนิด สามารถพบไวรัสได้ทั้งสามชนิด ในช่วงฤดูฝน และพบการปนเปื้อนของไวรัส TSV ในกุ้งพื้นเมืองสูงมาก สอดคล้องกับการปนเปื้อนของไวรัส TSV จากกุ้งขาวในฤดูแล้งที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า การพบกุ้งจากธรรมชาติไวรัส YHV ได้ทั้งสองฤดู สอดคล้องกับการระบาดในฟาร์กุ้งขาวเลี้ยงอย่างมาก ทำให้การเลี้ยงกุ้งขาวในฟาร์มขอองปี 2006 มีปัญหาการระบาดได้ทั้งสามชนิดผลการศึกษาในครั้งนีั้ชี้ให้เห็นถึงการแพร่กระจายของไวรัส TSV ต่อกุ้งท้องถิ่นของประเทศไทยหลายชนิดในแม่น้ำบางปะกง รวมทั้งพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วย จากธรรมชาติ และกุ้งขาวเองก็ยอมรับไวรัสท้องถิ่น (WSSV และ YHV) ของประเทศไทย ทั้งยังสำรวจพบไวรัส TSV ได้ในปูนา และปลากะพงขาวชี้ให้เห็นบทบาทของไวรัสต่างถิ่นนี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์แหล่งน้ำของประเทศไทยอย่างมาก การศึกษาการยอมรับและการตายของกุ้งขาวต่อไวรัส YHV และ WSSV โดยการฉีดและผ่านทางน้ำ ถูกเปรียบเทียบที่ความเค็ม 5 ppt และ 25 ppt พบว่า การฉีดก่อความรุนแรงให้เกิดการตายในกุ้งขาวของไวรัสทั้งสองชนิด ทุกความเจือจาง (1 ต่อ 100, 200 และ 500) ของปริมาณไวรัสและไม่ขึ้นกับความเค็มโดยทำให้กุ้งขาวเริ่มตายภายใน 24 ชั่วโมง และตายติดต่อกันภายใน 2-3 วัน ส่วนการอบรมรับเชื้อผ่านทางน้ำ พบว่า การยอมรับของกุ้งขาวต่อไวรัส YHY ได้เริ่มภายใน 48 ชั่วโมง กุ้งเริ่มตายภายใน 7 วัน และตายปริมาณ 100% ภายใน 6 วัน ที่ความเค็ม 5 ppt เมื่อเปรียบเทียบกับความเค็ม 25 ppt ใช้ระยะเวลา 8 วัน ส่วนการยอมรับและการตายของกุ้งขาวต่อไวรัส WSSV ที่ความเค็ม 5 ppt พบไวรัสในกุ้ง 72 ชั่วโมง กุ้งเริ่มตายภายใน 9 วัน และตายปริมาณ 100% ภายใน 5 วัน ส่วนที่ความเค็ม 25 ppt พบไวรัสในกุ้งภายใน 72 ชั่วโมง กุ้งเริ่มตายปริมาณ 100% ภายใน 9 วัน th_TH
dc.description.sponsorship งบประมาณแผ่นดินประจำปี 2549 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กุ้งขาว - - การเลี้ยง - - วิจัย th_TH
dc.subject กุ้งขาว - - โรค th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.subject ไวรัส - - วิจัย th_TH
dc.title การแพร่กระจายและการถ่ายทอดเชื้อไวรัสระหว่างกุ้งขาวกับกุ้งพื้นเมืองในลุ่มแม่น้ำบางปะกง (โครงการวิจัยปีที่ 2) th_TH
dc.title.alternative Distribution and transmission of virus diseases between litopenaeus vannamei and native shrimp species in Bangpakong watershed en
dc.type Research th_TH
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative Tuara Syndrome Virus (TSV), White Spot Syndrome Virus (WSSV), and Yellow Head Virus (YHV) are investigated the prevalence in the second year. Two seasons for field study divided into dry season of 2005 (December-February) and rainy season of 2006 (June-August). The RT-PCR technique of IQ2000 TSV was used to detect the TSV. As for WSSV and YHV detection, immuno dot blot with monoclonal antibody specically for YHV and WSSV was utilized. The result showed that out of 66 Penaeus monodon broodstocks tested throughout two seasons, 3, 16 and 10 shrimps tested positive for TSV, WSSV, and YHV respectively. Additionally, out of 38 P. merguiensis, two shrimps were tested positive, one for TSV and the other for WSSV. None of virus was detected in one female P. semisucatus. As a result, the prevalence. of TSV in P. vannamei from Amphur Muang is 26 out of 47 shrimps and from Amphur Bangkra were 6 out of 44 shrimps, with WSSV and YHV detection also. All three viruses were found in 11 types of native shrimp during rainy season. There is a high possibility of distribution of TSV virus in native shrimp, which parallel with the contamination of TSV in P. vannamei during dry season.This supports the fact that finding YHV in wild shrimp in both season is in line with the epidemic of all three virus in farmed P. vannamei, which causes problems in rearing P. vannamei in 2006. This study emphasized the way in which TSV spread in wild native shrimps in Bangprakong River, which includes wild P. monodon and P. merguiensis broodstocks The P. vannamei is also susceptible to local viruses; WSSV and YHV in Thailand. The study not only detects these viruses in shrimps, but also found TSV in rice crab and seabass (Lates calcarifer). Consequently, this shows how foreign viruses play a role in the marine ecology of Thailand. Susceptibility and mortality of P. vannamei to WSSV and YHV were conducted via injection and immersion under salinity condition. By viral injection, both virus caused death in P. vannamei within 24 hours and continued to die 100% for 2-3 days. As for viral susceptibility and mortality through watermedium to YHV, P. vannamei was detected virus within 48 hours and started to die within 7 days and continued to die 100% for 6 dats at 5 ppt. Similar result of YHV susceptibility found at 25 ppt but 100% mortality took place for 8 days. As for the susceptibility and mortality of P. vannamei to WSSV at 5 ppt, it detected virus within 72 hours and shrimps started to die within 9 days die completely 100% for 5 days. As for 25 ppt, it detected WSSV within 72 hours and shrimps started to die within 13 days and die completely 100% for 9 days. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account