DSpace Repository

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ศิวานิตย์ ทองคำดี
dc.contributor.author ฉวีวรรณ บุญสุยา
dc.contributor.author เสาวนีย์ ทองนพคุณ
dc.contributor.author สาวิตรี วิษณุโยธิน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-06-11T05:47:31Z
dc.date.available 2021-06-11T05:47:31Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4116
dc.description.abstract การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 713 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มสองขั้นตอนของโรงเรียนทั้ง 14 แห่ง เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมเสี่ยงทาง เพศ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่านักเรียนมากกว่าครึ่งหนึ่งมีบิดา/ มารดาประกอบอาชีพรับจ้าง/ พนักงานบริษัท/ โรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 75.3 และ 55.0 ตามลำดับ นักเรียนร้อยละ 59.9 ยอมรับว่าเคยมีแฟน ในขณะที่ นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในระดับต่ำ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมของนักเรียน พบว่า 1) ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ (p<0.001) ระดับการศึกษา (p<0.001) สัมพันธภาพระหว่างบิดามารดา (p<0.05) การปรึกษาบุคคลในครอบครัว (p<0.001) 2) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การไปร้านเกมส์ ร้านคาราโอเกะ หรือที่ลับตาคนหลังเลิกเรียน (p<0.001) การนัดพบแฟนหรือเพื่อนต่างเพศตามลำพังในที่ลับตา (p<0.001) 3) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การดู/ เห็นภาพโป๊ (p<0.001) การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง (p<0.05) ประสบการณ์การมีแฟนหรือคนรักของนักเรียน (p<0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) รัฐบาลควรส่งเสริมนโยบายการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อสร้างโปรแกรมลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศทั้งนี้ผู้ปกครอง ชุมชน สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และผู้บริหารสถานศึกษาควรร่วมมือกันวางแผน จัดการสหปัจจัยเสี่ยง และประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้เท่าทันสื่อเรื่องเพศต่อนักเรียน การส่งเสริมผู้ปกครองให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเข้มงวดกับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพฤติกรรมเสี่ยง th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Sexual risk behavior of primary school students in industrial area, Chonburi province en
dc.type Article th_TH
dc.issue 1 th_TH
dc.volume 15 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This cross-sectional descriptive study aimed to determine sexual risk behaviors and the associated factors among primary school students in the industrial area. Total of 713 were primary school students by stratified two-stage cluster sampling from 14 schools in the industrial area. They were randomly recruited into the study and data were collected by self-administered questionnaire during May 2019- June 2019. Descriptive statistics was analyzed by percentage, mean, standard deviation. Inferential statistics was applied to test the association between predisposing, enabling, and reinforcing factors with sexual risk behaviors by ANOVA at 5% significance level. The results revealed that more than half of the students’ parents were employees. Students admitted to having girl/boyfriends 59.9% whereas the majority of students had a low level on sexual risk behaviors (95% CI = 0.17-0.22). Association analysis of predisposing, enabling and reinforcing factors with sexual risk behaviors significantly related to sexual risk behavior were 1) Predisposing Factors: sex (p<0.001),education level (p<0.001), relationship between parents (p<0.05), family counseling (p<0.001), 2) Enabling Factors: going to sexual risk area after school (p<0.001), dating to opposite sex in a secret place (p<0.001), 3) Reinforcing Factors: watched pornography (p<0.001), parenting (p<0.05), having a girlfriend or lover (p<0.001) were statistically significant (p<0.05). The government should strengthen policy to set an integrated program to reduce sexual risk behavior of primary school students in industrial area because there were multiple factors which associated with sexual risks behaviors by the collaboration of parents, community, health care units in the area and school administrators to plan, implement, and evaluated continually. In order to decrease sexual risk behaviors, needs to emphasize an increase of sexual media literacy for primary school students, parents encouragement to concern their roles, and striction of the sexual risk environment. en
dc.journal วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.page 85-98. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account