DSpace Repository

การติดตามประเมินผลโครงการผลิตและพัฒนาอาจารย์โครงการพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลนและโครงการพัฒนาอาจารย์วิทยาเขตสารสนเทศ

Show simple item record

dc.contributor.author เสรี ชัดแช้ม th
dc.contributor.author สุชาดา กรเพชรปาณี th
dc.contributor.author Larry R. Nelson th
dc.contributor.author อัญชลี ศรีกลชาญ th
dc.contributor.author พูลพงศ์ สุขสว่าง th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:33Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:33Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/401
dc.description.abstract การติดตามประเมินผลโครงการและพัฒนาอาจารย์โครงการพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลน และโครงการพัฒนาอาจารย์วิทยาเขตสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการ ติดตามความก้าวหน้าของผู้รับทุนแต่ละโครงการในด้านการศึกษา การคงอยู่ในระบบสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การผลิตผลงานทางวิชาการ และเส้นทางความก้าวหน้าด้านวิชาชีพ ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับทุนและสถาบันต้นสังกัด ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและความต้องการของผู้รับทุนและสถาบันต้นสังกัด และการศึกษาเกี่ยวกับการชดใช้ทุนในด้านระยะเวลาของการปฏิบัติงานชดใช้ทุน สาเหตุของการลาออก โอนย้าย และจำนวนที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี โดยใช้วิธีการประเมินแบบรวมสรุป (Summative evaluation) น่วมกับแนวคิดการประเมินแบบอิงวัตถุประสงค์ (Goal-based Evaluation) และแนวคิดการประเมินแบบไม่อิงวัตถุประสงค์ (Goal-Free Evaluation) เพื่อให้ครอบคลุมผลการดำเนินโครงการทุกด้านดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกสำหรับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 2 คน ผู้ปฏิบัติงานทุนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 2 คน การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้บริหารสถาบันต้นสังกัด จาก 24สถาบัน จำนวน 24 คน ผู้ปฏิบัติงานทุนสถาบันต้นสังกัด จาก 24 สถาบัน จำนวน 24 คน และการสำรวจจากผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาและเข้าปฏิบัติงานในสถาบันต้นสังกัดแล้ว จากทั้ง 3 โครงการ จำนวน 2,336 คน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการติดตามประเมินผลโครงการฯ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยายโดยการคำนวณค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจำแนกประเภทข้อมูลและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการประเมินโครงการ 1. การดำเนินการทั้ง 3 โครงการปรากฎว่า บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ พิจารณาได้จากมีผู้สมัครรับทุนจำนวนมาก ประกอบด้วยบุคคลภายนอกและบุคลากรภายในสถาบันต้นสังกัด ผลการดำเนินการทั้ง 3 โครงการมีการจัดสรรทุน จำนวน 7,422 ทุน มีผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 3,490 คน คิดเป็นร้อยละ 47.02 โดยผู้รับทุนโครงการผลิตและพัฒนาอาจารย์มีผู้สำเร็จการศึกษาร้อยละ 51.82 (751 คน) โครงการพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลน มีผู้สำเร็จการศึกษา ร้อยละ 44.72 (2,486 คน) และโครงการพัฒนาอาจารย์วิทยาเขตสารสนเทศ มีผู้สำเร็จการศึกษา ร้อยละ 61.11 (253 คน) ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 52.98 ยังไม่สำเร็จการศึกษา 2. การติดตามความก้าวหน้าของผู้รับทุน ปรากฎว่า หลังสำเร็จการศึกษาและการเข้าปฏิบัติงานในสถาบันต้นสังกัดแล้ว มีผู้รับทุนดำรงตำแหน่งร้อยละ 0.17 รองศาสตราจารย์ร้อยละ 6.59 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ร้อยละ 22.00 และอาจารย์ร้อยละ 71.24 สำหรับการติดตามความก้าวหน้าของผู้รับทุนด้านการศึกษา ปรากฏว่า ผู้รับทุนเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 96.26) พยายามอย่างเต็มที่ให้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด และภายหลังจากสำเร็จการศึกษา ผู้รับทุนยังสามารถุประยุกต์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานได้ และมีความภาคภูมิใจกับการสำเร็จการศึกษาในฐานะนักเรียนทุน ด้านการคงอยู่ในระบบสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปราฏว่า ผู้รับทุนร้อยละ 96.24 ยังคงปฏิบัติงานให้กับสถาบันต้นสังกัด ได้ใช้ความรุ้ความสามารถตรงตามสาขาวิชาที่เรียน และมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน ด้านการผลิตผลงานทางวิชาการ ปรากฎว่า ผู้รับทุนร้อยละ 78.25 ทำวิจัยส่วนบุคคล รองลงมาได้แก่ การผลิตตำรา/ หนังสือ ร้อยละ 73.50 เอกสารประกอบการสอน ร้อยละ 73.12 บทความวิจัย ร้อยละ 71.91 ทำวิจัยร่วมกับคนอื่นทั้งในและนอกสถาบัน ร้อยละ 62.89 เอกสารคำสอน ร้อยละ 60.53 และบทความทางวิชาการ ร้อยละ 47.65 และด้านเส้นทางความก้าวหน้าด้านวิชาชีพ ปรากฎว่า ผู้รับทุนเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 96.92) มีการใฝ่หาความรู้หรือพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งมีการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 3. การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับทุน และสถาบันต้นสังกัด ปรากฏว่า ผู้รับทุนมีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก อันเนื่องมาจากผู้รับทุนมีความภาคภูมิใจในฐานะผู้ได้รับทุน อีกทั้งการดำเนินโครงการในขั้นตอนต่าง ๆ มีความเหมาะสม ชัดเจนและโปร่งใส ส่วนสถาบันต้นสังกัดมีความพึงพอใจผู้รับทุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เนื่องจากอาจารย์ส่วนใหญ่ปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ และนโยบายของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด อีกทั้งอาจารย์ในสถาบันมีแผน แนวทางในการพัฒนาตนเองทางวิชาการ และความก้าวหน้าทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และสถาบันต้นสังกัดยังมีความพึงพอใจกับโครงการพัฒนาอาจารย์ ที่ช่วยให้อาจารย์มีคุณวุฒิสูงขึ้นและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีศักยภาพ 4. ปัญหาและอุปสรรคของโครงการฯ ที่เกิดขึ้นกับผู้รับทุน คือ การได้รับเงินทุนล่าช้าจึงต้องสำรองเงินส่วนตัวในการชำระค่าเล่าเรียน ปัญหาและอุปสรรคของผู้ปฏิบัติงานทุนที่พบ คือ มีการเปลี่ยนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทุนบ่อย ทำให้การดำเนินงานโครงการขาดความต่อเนื่อง และปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับผู้รับทุน เนื่องจากผู้รับทุนไม่แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทุนทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับทุน ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่พบคือ เอกสารคู่มือทุนไม่ทุนไม่ทันสมัย โดยผู้ปฏิบัติงานทุนสถาบันต้นสังกัดเสนอแนะว่าควรมีการจัดทำเอกสารคู่มือทุน ฉบับปรับปรุงทุกปีการศึกษา เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับทุนสะดวกขึ้น ส่วนปัญหาของสถาบันคือ จำนวนทุนที่ได้รับไม่เพียงำอกับความต้องการของสถาบัน 5. ผู้รับทุนจาก 3 โครงการส่วนใหญ่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเข้าปฏิบัติงานในสถาบันต้นสังกัดเพื่อชดใช้ทุน มีผู้รับทุนร้อยละ 0.66 ที่ลาออก และร้อยละ 0.70 โอนย้ายก่อนครบกำหนดเวลาการปฏิบัติงานชดใช้ทุน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการย้านถิ่นฐานตามครอบครัว สถาบันต้นสังกัดเดิมให้ค่าตอบแทนน้อยกว่าหน่วยงานอื่น และระบบการปฏิบัติงานของสถาบันต้นสังกัดเดิมไม่สอดคล้องกับแนวคิดการปฏิบัติงานของผู้รับทุน ส่วนผู้รับทุนที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี มีจำนวน 5 รายและมีเฉพาะผู้รับทุนจากโครงการพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลน ที่ศึกษาต่อต่างประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะมีการดำเนินการติดตามผู้รับทุนและให้ชดใช้ด้วยเงินพร้อมเบี้ยปรับ The objectives of the follow up and evaluation of the project of instructor development, the project of instructor development in the critical shortage fields and the project of instructor development for the information campus were to assess working results of the projects; follow up the progress of the scholarship recipients in terms of educational achievement, retention in the public institution system, academic work productivity, and professional progress path; study the satisfaction of the scholarship recipients and higher institutions; examine problems, obstacles, suggestions and needs of the scholarship recipients and higher institutions; and investigate compensation in terms of duration of operational working, causes of resignation, transfer and litigation. The evaluation methods were based on summative evaluation, goal-based evaluation combined with goal-free evaluation concepts in order to cover all aspects of the project performance. The data were gathered by an in-depth interview from two administrators and two fund officials in the Office of Higher Education Commission, and by a structured interview from twenty-four administrators in higher institutions and 24 fund officials, and questionnaires developed for 2,336 scholarship recipients who had graduate and resumed working. Quantitative data analysis was focused on calculation of frequency, percentage, mean and standard deviation while qualitative data were calculated though content analysis and analytic induction. The assessment results were as follows: 1. The performance of the three projects achieved the set objectives. There were a large number of applicants from both inside and outside institutions. The 7,422 scholarships were allocated, but just only 47.02 percent or 3,490 scholars finished their study. The graduates in the Project of Instructor Development were 51.82 percent (751 subjects) and the ones in the Project of Instructor Development in the critical shortage Fields were 44.72 percent (2,486 subjects) while the ones in the Project of Instructor Develpment for the Information Campus were 61.11 percent (253 subjects). However, the scholars who were being on their study were 52.98 percent. 2. Regarding the progress follow-up after their graduation, it was found that the scholars hold professorship, associate professorship, assistant professorship and instructor at 0.17, 6.59, 22.00 and 71.24 percents respectively. Concerning their progress in educational achievement aspect, it was found that most of the schools (98.23 percent) had an effort to complete the study within the curriculum period. Aftergraduation, they can apply the knowledge in their work and feel proud of being scholarship graduates. For the aspect of retention in the public institution system, 96.24 percent of scholars were still working with higher institutions and making use of the knowledge in their fields of study. In terms of academic work productivity, 78.25 percent of the scholars conduct research individuallt; 73.50 percent written the textbooks or books; 73.12 percent produced teaching materials; 71.91 percent written research papers; 62.89 percent were co-researchers with others both inside and outside; 60.53 percent produced instructional materials; 47.65 worked on academic papers. For the aspect of professional progress path, almost all of the scholars (98.80 percent) developed themselves and searched for information that was usefully in work regularly. 3. Regrading the satisfaction of the scholars and higher institutions, it was found that the scholars had the overall satisfaction at a high level due to their pride as scholarship recipients as well as appropriate and clear working process of the projects. Also higher institutions demonstrated their satisfaction at a high level because the scholars conformed to the rules and university policies and they had a plan of regular professional self-development. Moreover higher institutions were very satisfied with the project in terms of increasing the instructors' degree and potential. 4. There were many problems and obstacle occurring with the scholars First, receiving the fund late make the scholars made an advance payment by themselves. Second, changing the fund officials too often discontinued the project. Next, the scholars did not inform the officials in case there was a change of personal information. Other problems include a scholarship manual that was not updated. The officials suggested that there should be a revision of manual every academic year. In addition, higher institutions recommended that the fund was not enough. 5. Most of the scholars in theree projects resumed working after their graduation. Only 0.66 percent resigned and 0.70 percent transferred to other institutions before compensation period ended. The major reasons were family movement, getting less payment than other institutions, and unacceptance of working system in the original place. Five scholars were still in the process of litigation; all of them were abroad scholarship recipients in the critical schortage fields of office of the Civil service commission. There would be a follow-up for a refund and fine. th_TH
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2552 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th
dc.subject บุคลากรทางการศึกษา th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.subject อาจารย์มหาวิทยาลัย - - การประเมิน th_TH
dc.subject อาจารย์มหาวิทยาลัย - - การพัฒนา th_TH
dc.title การติดตามประเมินผลโครงการผลิตและพัฒนาอาจารย์โครงการพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลนและโครงการพัฒนาอาจารย์วิทยาเขตสารสนเทศ th_TH
dc.title.alternative The follow up and evaluation of the project of instructor development, the project of instructor deelopment in the critical shortage fields, and the project of instructor development for the information campus en
dc.type Research th_TH
dc.year 2552


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account