DSpace Repository

ผลและกลไกการทำงานของกรดโอคาดาอิกต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริเวณไซแนปส์ของเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัส

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-01-28T09:07:16Z
dc.date.available 2021-01-28T09:07:16Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4009
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 th_TH
dc.description.abstract จากงานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่ากรดโอคาดาอิกมีผลต่อการแสดงออกของ synaptic protein ในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยงฮิปโปแคมปัสแต่อย่างไรก็ตามกลไกการทำงานของกรดโอคาดาอิกก็ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษากลไกการทำงานของกรดโอคาดาอิกในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยงฮิปโปแคมปัสต่อการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของ synaptic protein โดยทำการบ่มเซลล์เพาะเลี้ยงด้วยกรดโอคาดาอิกที่ความเข้มข้น 0.1 uM เป็นเวลา 0 96 ชั่วโมง จากนั้นทำการทดสอบค่าการมีชีวิตของเซลล์ด้วยวิธี MTT assay ทดสอบการแสดงออกของยีน Rho, Rho associated protein kinase (ROCK), postsynaptic density 95 (PSD 95), และ activity regulated cytoskeleton associated protein (Arc) ด้วยวิธี Real time polymerase chain reaction ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ากรดโอคาดาอิกที่ความเข้มข้นต่ำ (0.1 uM) มีผลลดอัตราการมีชีวิตของเซลล์เพาะเลี้ยงหลังจากถูกบ่มเป็นเวลา 72 และ 96 ชั่วโมง และมีผลยับยั้งการแสดงออกของ synaptic genes ทั้ง 2 ชนิด คือ PSD 95 ที่เวลา 72 และ 96 ชั่วโมง และ Arc ที่เวลา 96 ชั่วโมง ตามลาดับ เมื่อทำการทดลองโดยให้กรดโอคาดาอิกร่วมกับตัวยับยั้งการทำงานของ Rho associated kinases (Y27632) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ากรดโอคาดาอิกไม่สามารถยับยั้งการแสดงออกของยีน Arc และ PSD 95 ได้ โดยที่ตัวยับยั้งดังกล่าวไม่มีผลต่อการแสดงออกของยีนทั้งสอง อีกทั้งกรดโอคาดาอิกก็ไม่มีผลต่อการแสดงออกของยีน Rho และ ROCK อีกด้วย ผลการทดลองครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่ากรดโอคาดาอิกมีผลยับยั้งการแสดงออกของ synaptic genes ทั้ง Arc และ PSD 59 โดยผ่านการกระตุ้นการทำงานของ Rho associated protein kinase แบบไม่มีผลต่อปริมาณยีนรวมภายในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยงฮิปโปแคมปัส บ่งชี้ว่ากรดโอคาดาอิกกระตุ้น ROCK แบบ non genomic pathway จากผลการทดลองครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการได้รับกรดโอคาดาอิกเข้าสู่สมองเป็นเวลานานมีผลกระทบต่อการบวนการ synaptic plasticity และอาจจะมีผลต่อการสร้างความจำ โดยมีกลไกการทำงานแบบขึ้นกับ Rho/ROCK pathway th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กรดโอคาดาอิก th_TH
dc.subject เซลล์ประสาท th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ผลและกลไกการทำงานของกรดโอคาดาอิกต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริเวณไซแนปส์ของเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัส th_TH
dc.title.alternative The effects and teh mechanisms of okadaic acid on architectural synaptic changes of hippocampal neuron en
dc.type Research th_TH
dc.author.email siripornc@buu.ac.th th_TH
dc.year 2558 th_TH
dc.description.abstractalternative Previous study showed that okadaic acid affected to the expression of synaptic protein on hippocampal neuronal culture. However, the signaling mechanism of OA on the synaptic protein expression is still unknown. Therefore, the present study aims to demonstrate the signaling mechanism of OA on the expression of synaptic gene by incubation of hippocampal neuron with 0.1 uM OA for 0 96 hours. Then, the cell viability was demonstrated by using MTT assay. To demonstrate the expression of genes including Rho, Rho associated protein kinase (ROCK), postsynaptic density 95 (PSD 95), and activity regulated cytoskeleton associated protein (Arc) by real time polymerase chain reaction. The result shows that low concentration of OA (0.1 uM) decreases percent cell viability of OA treated hippocampal neuron for 72 and 96 hours. Moreover, OA significantly decrease arc and PSD 95 genes for 96 and 72 and 96, respectively. In singling mechanism study, OA treated cell were combined with specific inhibitor of Rho associated kinases (Y27632). The result shows that OA fails to inhibit the expression of Arc and PSD 95 genes in present of Rock inhibitor, which inhibitor alone has no effect on 2 genes expressions. Total Arc and PSD 95 mRNA were not change in OA treated cell. This study suggested that OA inhibit the expression of Arc and PSD 95 via the activation of Rho associated kinases in non genomic dependent pathway. This finding showed that prolong OA exposure to hippocampal neuron affect on synaptic plasticity and may be on the memory function via Rho/ROCK dependent pathway. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account