DSpace Repository

รูปแบบการให้บริการการคลอดธรรมชาติโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ณ โรงพยาบาลระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต th
dc.contributor.author สุคนธา ผาสุข th
dc.contributor.author นิภาวรรณ์ รัมภารัตน์ th
dc.contributor.author ปิยฉัตร ปธานราษฎร์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:33Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:33Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/397
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการการคลอดธรรมชาติ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของสูติแพทย์ พยาบาล หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์และครอบึครัวที่รับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลระยอง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 27 คู่ (ดำเนินการสอนตามโครงการครั้งที่ 1 จำนวน 5 คู่ ครั้งที่ 2 จำนวน 2คู่ และครั้งที่ 3 จำนวน 20 คู่ โดยปรับปรุง แผนการการดำเนินงานในแต่ละครั้ง) และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการให้คำแนะนำ คู่มือการเตรียมหญิงตั้งครรภ์เพื่อการคลอดธรรมชาติ คู่มือการให้บริการการคลอดธรรมชาติ และแบบประเมินผลการใวห้บริการการคลอด ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอด แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการให้บริการการคลอด แบบสอบถามความต้องการมีส่วนร่วมในการคลอดของครอบครัว และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการให้บลริการการคลอดของพยาบาล เท่ากับ.75 , .96, .86 และ .70 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที ผลการประเมินการให้บริการตามรูปแบบการคลอดธรรมชาติมีดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความเจ็บปวดของผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบให้บริการการคลอดธรรมชาติกับผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 2. คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบให้บริการการคลอดธรรมชาติกับผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม 3. คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้คลอดต่อรูปแบบให้บริการการคลอดธรรมชาติกับผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ ไม่มสีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม 4. คะแนนเฉลี่ยะความต้องการมีส่วนร่วมในการคลอดของรอบครัวที่ได้รับการดูแลตามป กติอยู่ในระดับมาก 6. คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการให้บริการการคลอดของพยาบาลที่ดูแลตามรูปแบบให้บริการการคลอดธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลาง และดูแลตามปกติอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาการดูแลในระยะคลอดที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบการให้บริการการคลอดธรรมชาติโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดินปี 2549-2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การคลอด th_TH
dc.subject การคลอดธรรมชาติ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title รูปแบบการให้บริการการคลอดธรรมชาติโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ณ โรงพยาบาลระยอง th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2555
dc.description.abstractalternative The purpose of this action research was to develop the nursing model for natural childbirth focusing on participation among obstetricians, nurses, pregnant women and their families. The sample was composed of 27 couples of treatment group (5 couples in the first time, 2 couples in the third time and the research and nurses improved the education plan in each time) and 30 couples of control group at antenatal clinic in Rayong hospital, Rayong province. The subjects were selected using purposive sampling. The data were collected by using natural childbirth preparation manual, natural childbirth sevice manual and the sevice evaluation questionnaires for pregnant women, their families and nurses. The reliability of childbirth experience perception questionnaire, service satisfaction questionnaire, childbirth participation need questionnaire and service evaluation questionnaire were .75, .96, .86 and 70 respectively. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. The results from service evaluation of natural childbirth model revealed that 1. The mean score of labor pain between treatment group and control group were not significant different at P < .05 The mean score in treatment group was lower than control group. 2. The mean score of childbirth experience perception between treatment group and control group were significant different at p < .05 The mean score in treatment group was higher than control group 3. The mean score of service satisfaction between treatment group and control group were not significant different at P<.05. The score in treatment group was higher than control group. 4. The mean score of childbirth participation experience of their families were high level. 5. The mean score of childbirth participation need of their families were high level. 6.The mean score of service evaluation of nurses were moderate level in treatment group and high level in control group. The finding could be used as foundation to develop a guideline for planning for improving care for childbirth. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account