DSpace Repository

การศึกษาทางเคมีและความหลากหลายทางชีวภาพของแอคติโนแบคทีเรียที่แยกได้จากดินในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่

Show simple item record

dc.contributor.author ภรณี ศรีปรีชาศักดิ์
dc.contributor.author อนันต์ อธิพรชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-30T07:35:48Z
dc.date.available 2020-04-30T07:35:48Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3917
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนุกรมวิธานและความหลากหลายทางชีวภาพของแอคติโนแบคทีเรียที่คัดแยกได้ตัวอย่างดินบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมพู่ จังหวัดชลบุรีและคัดกรองฤทธิ์ต้านจุลชีพของเมแทบอไลต์ทุติยภูมิจากแอคติโนแบคทีเรียที่คัดเลือก จากการทดลองสามารถคัดแยกแอคติโนแบคทีเรียได้ทั้งหมด 132 ไอโซเลท ซึ่งจัดจำแนกออกเป็น 5 สกุล ได้แก่ Actinmadura (1.5%), Micromonospora (11.4%), Nocardia (6.1%), Nonomuraea (4.5%) และ Streptomyces (76.5%) โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับลักษณะทางจีโนไทป์ ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ลำดับเบสและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของยีน 16S rRNA และมีแอคติโนแบคทีเรีย จานวน 7 ไอโซเลท ที่มีแนวโน้มว่าเป็นแอคติโนแบคทีเรียสปีชีส์ใหม่ในสกุล Micromonospora (ไอโซเลท KK12-4 และ KK12-5) และสกุล Streptomyces (ไอโซเลท KK01-16, KK03-17, KK04-5, KK05-18 และ KK08-10) นอกจากนี้ยังได้ทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของ เมแทบอไลต์ทุติยภูมิที่ผลิตจากแอคติโนแบคทีเรีย พบว่า แอคติโนแบคเรียที่คัดแยกได้ จำนวน 46 ไอโซเลท (34.8%) สามารถผลิตเมแทบอไลต์ทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ในการยั้บยั้งการเจริญของ Bacillus subtilis ATCC 6633, Micrococcus luteus ATCC 9341, Staphylococcus aureus ATCC 25923 หรือ Candida albicans ATCC 10231 และ Streptomyces ไอโซเลท KK06-20 เป็นสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตสารยับยั้งจุลชีพ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject อนุกรมวิธาน th_TH
dc.subject ความหลากหลายทางชีวภาพ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การศึกษาทางเคมีและความหลากหลายทางชีวภาพของแอคติโนแบคทีเรียที่แยกได้จากดินในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ th_TH
dc.title.alternative Chemistry and Biodiversity Studies of Actinobacteria Isolated from Soil in Khao Khieo - Khao Chomphu Wildlife Sanctuary Area en
dc.type Research th_TH
dc.author.email paranees@buu.ac.th th_TH
dc.author.email anana@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The objectives of this research are to study the taxonomy and biodiversity of actinobacteria that isolated from soil samples in Khao Khieo - Khao Chomphu Wildlife Sanctuary Area, Chonburi Provine and screening for antimicrobial activity of secondary metabolites which produced from the actinobacteria. In the experiment, 132 isolates of actinobacteria were classified into 5 genera which were Actinmadura (1.5%), Micromonospora (11.4%), Nocardia (6.1%), Nonomuraea (4.5%) and Streptomyces (76.5%) based on morphological and genotypic characteristics by using sequencing and phylogenetic tree analysis of 16S rRNA gene. There were 7 isolates that tend to be new species in the genera Micromonospora (KK12-4 and KK12-5) and Streptomyces (KK01-16, KK03-17, KK04-5, KK05-18 and KK08-10). In addition, the antimicrobial activity of secondary metabolites from actinobacteria were determined. The secondary metabolites that produced from 46 isolates showed antimicrobial activity against Gram-positive bacteria; B. subtilis ATCC 6633, M. luteus ATCC 9341, S. aureus ATCC 25923 or yesast; Candida albicans ATCC 10231 and Streptomyces sp. KK06-20 was the most effective stain in antimicrobial metabolite production. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account