DSpace Repository

การเคลือบฟิล์มบางอลูมินาด้วยเทคนิคแมกนีตรอนสปัตเตอริงเพื่อปรับปรุงคุณภาพอัญมณีเนื้ออ่อน

Show simple item record

dc.contributor.author สายสมร นิยมสรวญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned 2020-04-23T06:19:31Z
dc.date.available 2020-04-23T06:19:31Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3912
dc.description.abstract อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจัดเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และยังเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งจัดเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญอันดับ 1 ใน 10 ของสินค้าส่งออก ปัจจุบันพลอยเนื้ออ่อนเป็นพลอยที่ตลาดให้ความนิยมเป็น อย่างมาก แต่มักเกิดปัญหาในขณะทำการฝังซึ่งอาจเกิดรอยขูดขีดบนผิวพลอย กระบวนการเคลือบฟิล์มบางอลูมินาบนผิวอัญมณีเนื้ออ่อน ด้วยเทคนิค อาร์เอฟ แมกนีตรอนสปัตเตอริง โดยการควบคุมเงื่อนไขในการเคลือบ ด้วยความดันก่อนสปัตเตอริง PB = 6.0 x 10-4 Pa ความดันของอาร์กอน PAr = 6.0 x 10-1 Pa อัตราการไหลของก๊าซอาร์กอน Ar = 15 sccm ที่กำลังไฟ 50 วัตต์ สามารถเพิ่มความแข็งและความต้านทานการขูดขีดของพลอยเนื้ออ่อนได้ จากการศึกษาการเคลือบฟิล์มบางบนควอตซ์และอะพาไทต์ ด้วยเวลาที่ใช้ในการเคลือบ คือ 30 นาที 180 นาที และ 300 นาที ตามลำดับ พบว่าที่เวลาเคลือบที่นานขึ้นจะสามารถทำให้พลอยต้านทานรอยขูดขีดได้เพิ่มขึ้น เมื่อตรวจสอบความหนาและพื้นผิวของฟิล์มด้วยเครื่อง FE-SEM พบว่าเวลาการเคลือบที่มากขึ้นจะทำให้ความหนาของฟิล์มเพิ่มมากขึ้น และการตรวจสอบปริมาณของธาตุ ด้วยเครื่อง XRF พบว่าเวลาที่มากขึ้นจะทำให้ปริมาณธาตุของอลูมินาเพิ่มมากขึ้น แต่การตรวจสอบการวัดสีด้วยเครื่องยูวีวิสิเบิลสเป็คโตรโฟโตมิเตอร์ (UV – Vis NIR spectrophotometer) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสีเล็กน้อย โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงสีเมื่อสังเกตุด้วยตาเปล่า การศึกษาการเคลือบฟิล์มบางอลูมินาบนผิวพลอยเพอริดอตและอความารีน โดยการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของแก๊สออกซิเจนต่ออาร์กอน เวลาที่ใช้ในการเคลือบ และการให้ความร้อนที่จะทำให้ฟิล์มบางอลูมินา มีความโปร่งแสงสูง มีการยึดเกาะบนผิวพลอยที่ดีมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นและทนต่อรอยขีดข่วน เมื่อนำไปทดสอบสมบัติทางแสงของฟิล์มด้วยเครื่องยูวี วิสสิเบิล สเปคโตรโฟโตมิเตอร์พบว่าจะได้ค่าการส่งผ่านแสงสูง ศึกษาปริมาณธาตุองค์ประกอบด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ พบว่ามีธาตุ อลูมิเนียมออกไซด์และ ศึกษาโครงสร้างฟิล์มด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ดิฟแฟรคโตมิเตอร์พบพีคของอลูมินาที่ต่ำแหน่งมุม 45.79 องศา ซึ่งยืนยันได้ว่ามีฟิล์มบางอลูมินามีโครงสร้างผลึก โดยเมื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเอ็กซเรย์รีเฟล็กซ์ทิวิตี้พบว่าความหนาฟิล์มลดลงตามการเติมแก๊สออกซิเจน จากการทดสอบการการขูดขีดของฟิล์มด้วยเครื่องสแครชเทสเตอร์โดยใช้แรงสูงสุด 20 นิวตัน พบว่าพลอยที่มีการเคลือบฟิล์มบางอลูมินาสามารถทนรอยขูดขีดได้เพิ่มขึ้น โดยแรงที่ทำให้ฟิล์มอลูมินาบนผิวพลอยเพอริดอตและอความารีนหลุดลอกโดยสมบูรณ์อยู่ที่ประมาณ 6 และ 7 นิวตัน โครงงานนี้ได้ทำการผลิตเครื่องประดับจากควอตซ์ที่เคลือบฟิล์มบาง ด้วยเทคนิคอาร์เอฟ แมกนีตรอน สปัตเตอริง เครื่องประดับประกอบด้วยแหวน และจี้ ซึ่งสามารถนำมาสวมใส่ได้จริง th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.title การเคลือบฟิล์มบางอลูมินาด้วยเทคนิคแมกนีตรอนสปัตเตอริงเพื่อปรับปรุงคุณภาพอัญมณีเนื้ออ่อน th_TH
dc.title.alternative A study of alumina thin film coating by Magnetron Sputtering on semi-precious stones en
dc.type Research th_TH
dc.author.email saisamor@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Gems and jewelry industry is one of the top 10 industries that makes a great income to our country. The semi-precious gemstones are a very popular gemstone in the market. However, they have a drawback on scratch resistance. This project focused on coating the semi-precious gemstone with alumina thin film with RF Magnetron Sputtering technique to provide a high translucence thin film that increase hardness and scratch resistance. The study on coating quartz and apatite by varying coating time from 30 minutes, to 180 and 300 minutes. Increasing coating time enhanced higher hardness for the coated gemstones by scratching test with the harder gemstones on the quartz and apatite surfaces. Results from UV - Vis spectrophotometer showed color changes slightly. However, with naked eyes, there was no change. Checking the thickness and surface of the film with the FE-SEM showed that the higher the coating time, the greater the thickness of the film. The XRF measurement showed that the higher the deposition time, the higher the amount of aluminium oxide. The study on coating peridot and aquamarine by varying oxygen/argon ratio, deposition time and heating temperature. The result from UV/Visible spectrophotometer show that the film was high transmission. Study of elemental composition by X-ray fluorescent indicated that the film was aluminum oxide. XRD measurement showed Al2O3 at 2-theta of 45.79 degree, with indicating the Al2O3 film on the surface. Film thickness measurement was done by X-ray reflectivity and showed that The film thickness decreased with the presence of oxygen gas. With scratch tester using of 20 N maximum force, the gemstone coated with Al2O3 thin film gained an improve on scratch resistance. However, the resistance varied with different gemstone substrate. The coated peridot could withstand less force in comparing with the coated aquamarine. In this project, the quartz coated with alumina for 180 minutes by RF Magnetic Sputtering was beautifully decorated on a ring and a pendant. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account