DSpace Repository

การจัดการระบบระบายน้ำแบบบูรณาการเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อชุมชนเมืองในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author กฤษณะ อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-09T02:22:52Z
dc.date.available 2020-04-09T02:22:52Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3860
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการระบายน้ำในเขตพื้นที่เมืองที่ได้รับอิทธิพลน้ำท่วมซ้ำซาก 2) วิเคราะห์เชิงพื้นที่ในการระบายน้ำในเขตพื้นที่เมืองโดยประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาการระบายน้ำโดยใช้หลักการทางภูมิสารสนเทศ วิธีการศึกษา ครั้งนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากและระบบระบายน้ำในชุมชนเมือง เช่น ท่อระบายน้ำ แนวท่อระบายน้ำ ความลึกของท่อ ลักษณะพื้นผิวของท่อ และพื้นที่รับน้ำ สำรวจจัดเก็บ เป็นฐานข้อมูลโดยใช้แบบจำลอง SWMM 5 ใช้วิเคราะห์การระบายน้ำในชุมชนเมืองร่วมกับข้อมูล ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลความสูงเชิงเลข และค่าสัมประสิทธิ์ของการไหลบนพื้นผิว เพื่อสร้างแบบจำลอง บริเวณน้ำท่วมขังบริเวณชุมชนเมืองที่กำลังพัฒนาสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงและหาแนวทางแก้ไข ปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่เขตเมืองที่มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยส่วนมาก มีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นตัวกำหนดการเกิดและระยะเวลาในการเกิดน้ำท่วมขัง เช่น พื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง หรือบริเวณที่เป็นแอ่งกระทะจะมีระยะเวลาในการท่วมขังมากกว่าพื้นที่รูปแบบอื่น ซึ่งใน พื้นที่ศึกษาพบว่าชุมชนเมืองฉะเชิงเทรา มีลักษณะภูมิประเทศที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนปัญหาด้านพื้นที่ ของชุมชนเมืองบริเวณที่มีความหนาแน่นของอาคาร สิ่งปลูกสร้างมากจะทำให้ระดับน้ำท่วมขังเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว คือ พื้นที่ชุมชนเมืองพัทยา เนื่องจากเมืองพัทยามีลักษณะภูมิประเทศที่ราบลุ่มชายฝั่ง ทะเล และรูปแบบชุมชนเมืองตั้งอยู่ในพื้นที่เส้นทางการระบายน้ำและมีความหนาแน่นมากทำให้เมื่อ เกิดฝนตกในพื้นที่เพียงไม่นานการระบายน้ำไม่สามารถระบายได้ทันและเกิดการไหลสะสมมากขึ้น อย่างรวดเร็ว ทำให้มีระดับน้ำสูงมากขึ้น และปัญหาด้านลักษณะท่อระบายน้ำส่วนใหญ่ในพื้นที่สำรวจ อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งานเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลักษณะท่อมีความตื่นจาก ตะกอนโคลน ทราย เศษขยะ และคราบไขมันจากครัวเรือน ท้าให้เกิดการอุดตันการระบายน้ำไม่ สามารถระบายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในการระบายน้าในเขตพื้นที่เมือง กับปริมาณน้ำฝนช่วงที่ตกมากไม่สามารถระบายน้ำได้ทันทำให้เกิดที่เกิดน้ำท่วมขังระดับความสูง ประมาณ 0.30 – 0.75 เมตร และแนวทางแก้ไขน้ำท่วมขังในชุมชนเมืองให้เพิ่มพื้นที่สีเขียวและใช้ นวัตกรรมพื้นที่รอบ ๆ สิ่งปลูกสร้าง เช่น โครงสร้างคอนกรีต หรือยางมะตอย ให้สามารถระบายน้ำได้ เพื่อให้น้ำที่ไหลอยู่บนพื้นผิวสามารถซึมผ่านลงสู่ชั้นใต้ดินได้สามารถช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลสะสมได้ เป็นอย่างดี th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ th_TH
dc.subject เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก th_TH
dc.subject การระบายน้ำ th_TH
dc.title การจัดการระบบระบายน้ำแบบบูรณาการเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อชุมชนเมืองในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative The Integrated Management of Urban Drainage Systems for Mitigating Climate Change and Urbanization Impacts in the Special Economic Eastern Region en
dc.type Research th_TH
dc.author.email kritsana@go.buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were (1) to study the drainage problems in urban areas that are affected by flood bed. (2) Spatial analysis of urban drainage by applying geo- informatics technology In the special economic area of the East. 3) to Guidelines for solving drainage problems using geographic information principles In the special economic area of the eastern region. This study method is a collection of data related to the use of flood bed and urban drainage systems for example, sewers, pipe depth, surface characteristics of pipes and subcatchment. The survey is stored as a database using SWMM 5 model to analyze drainage in urban communities together with rainfall data. Numerical height data and the coefficient of flow on the surface. In order to create a model for flooding in the urban area that is developing a high speed train station and find solutions to drainage problems in the special economic area of the eastern region. The results showed that the problem of drainage in urban areas with flood bed areas Most of the terrain is to determine the occurrence and duration of flooding, such as floodplains or pan basin will have longer periods of flooding than other types of flooding. In the study area, it was found that Chachoengsao Urban Area With the topographical features mentioned above as for the urban area problems, the density of buildings many buildings will cause flooding levels to increase rapidly is the Pattaya urban area. Because Pattaya has a coastal plain and the urban form is located in the drainage area and is very dense, so when there is only a short rainfall in the area, the water can’t drain in time and the flow accumulates more quickly. Resulting in higher water levels And most of the drainage pipe problems in the survey area are not available when climate change occurs, The pipes are shallow from sediment, mud, sand, debris and grease from households. Causing clogging. Drainage. Can not drain at full efficiency. As for spatial analysis, drainage in urban areas and the amount of rainfall during the rainy season cannot drain the water in time, causing flooding at an altitude of approximately 0.30 - 0.75 meters and solutions to flooding in the community. Cities to increase green spaces and use innovations around buildings, such as concrete or asphalt structures, to drain water so that water flows on The surface can penetrate into the basement and can help reduce the amount of water that accumulates very well. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account