DSpace Repository

การสร้างและผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีที่มีความจำเพาะกับโปรตีนของพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma mekongi และ Schistosoma japonicum ในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อพัฒนาชุดตรวจ

Show simple item record

dc.contributor.author พรอนันต์ เกื้อไข่
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-08T03:56:04Z
dc.date.available 2020-04-08T03:56:04Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3857
dc.description.abstract โรคพยาธิใบไม้เลือดนับว่าเป็นโรคติดต่อที่สำคัญโรคหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประชากรโลกมาแล้วหลายประเทศ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้โรคนี้เป็นโรคติดต่อในเขตร้อนที่มีความสำคัญเป็นที่สองรองมาจากโรคมาลาเรีย ปัจจุบันประชากรทั้งหมดในโลกคาดว่าเป็นโรคพยาธิใบไม้เลือด ประมาณ 200 ล้านคน พยาธิใบไม้เลือด (blood flukes) เป็นพยาธิใบไม้ที่ตัวเต็มวัยแยกเพศ คือมีตัวผู้และตัวเมีย พยาธิใบไม้เลือดที่ก่อโรคในมนุษย์หลัก ๆ มี 4 ชนิด คือ Schistosoma mekongi, Schitosoma japonicum, Schistosoma mansoni, Schistosoma hematobium ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสกัด RNA ของเชื้อพยาธิแล้วนำมาสังเคราะห์เป็น cDNA โดยใช้เอนไซม์ reverse transcriptase จากนั้นนำมาเพิ่มปริมาณของ CatB2 และ CatL genes โดยการทำ PCR ผลการหาลำดับนิวคลีโอไทด์และกรดอะมิโนของ CatB2 หรือ CatL gene ในพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma spp. และศึกษาความคล้ายกันของลำดับนิวคลีโอไทด์ในพยาธิตัวอื่น พบว่าโปรตีน CatB2 และ CatL มี signal peptide ส่วนผลการเปรียบเทียบลำดับกรดอะมิโนของรีคอมบิแนนท์โปรตีน SmCatB2 กับสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ชนิดอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบกับ S. japonicum, S. mekongi, C. sinensis, F. hepatica, M. musculus, B. taurus และ H. sapiens โดยตำแหน่งของกรดอะมิโนที่เป็นลักษณะสำคัญของโปรตีนชนิดนี้ได้แก่ ตำแหน่งของ Active sites คือบริเวณ Cysteine Histidine และ Asparagine พบส่วนของ Cysteine residues ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเอนไซม์ในกลุ่ม cysteine proteinase และได้ผลการเปรียบเทียบลำดับกรดอะมิโนของโปรตีน SmCatL กับสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ชนิดอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบกับพยาธิ S. haematobium และ S. japonicum ซึ่งเป็นพยาธิในกลุ่มเดียวกันกับพยาธิ S. mansoni และพยาธิ F. gigantica, F. hepatica, P. westermani และ C. sinensis ซึ่งเป็นพยาธิในกลุ่มใกล้เคียง และเปรียบเทียบกับโฮสท์ในธรรมชาติได้แก่ คน หนู และวัว โดยตำแหน่งของกรดอะมิโนที่เป็นลักษณะสำคัญของโปรตีนชนิดนี้ได้แก่ ตำแหน่งของ Active sites คือบริเวณ Glutamine Glycine Cysteine Histidine และ Asparagine พบส่วนของ Cysteine residues ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเอนไซม์ในกลุ่ม cysteine proteinase นอกจากนี้พบส่วนของโปรตีน SmCatL ที่มีการเติม N-glycosylation ที่อะมิโน asparagine และพบบริเวณตำแหน่งอนุรักษ์ของกรดอะมิโนคือ ERFNIN และผู้วิจัยจะทำการศึกษาการแสดงออกของโปรตีน CatB2 และ CatL ของพยาธิใบไม้เลือดทั้ง 3 สปีชีส์ (S. mekongi, S.mansoni และ S. japonicum) และจะพัฒนาเป็นชุดตรวจสำหรับโรค schistosomiasis ต่อไปในอนาคต th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ชุดตรวจวินิจฉัยโรคสำเร็จรูป th_TH
dc.subject โรคพยาธิใบไม้เลือด th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การสร้างและผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีที่มีความจำเพาะกับโปรตีนของพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma mekongi และ Schistosoma japonicum ในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อพัฒนาชุดตรวจ th_TH
dc.title.alternative Construction and production of recombinant antibody against antigens of Schistosoma mekongi and Schistosoma japonicum in mammalian cells for diagnosis en
dc.type Research th_TH
dc.author.email earn_patho@hotmail.com th_TH
dc.year 2562 th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account