DSpace Repository

การพัฒนาเคโมเซ็นเซอร์สำหรับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชออร์กาโนฟอสฟอรัส โดยใช้เทคนิคสเปกโตรเมทรี

Show simple item record

dc.contributor.author เมธินี จามกระโทก
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-30T01:44:55Z
dc.date.available 2020-03-30T01:44:55Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3820
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาเคโมเซ็นเซอร์สำหรับวิเคราะห์สารกำจัดศัตรูกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส ด้วยเทคนิคทางสเปกโตรเมทรี ได้แก่ ยูวี-วิสิเบิล และ ฟลูออร์เรสเซนส์ โดยใช้กลไกตรวจวัดแบบ indicator-displacement assay หรือ IDA เพื่อพัฒนาเคโมเซ็นเซอร์ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาปฏิกิริยา การเกิดสารเชิงซ้อนอินดิเคตอร์สำหรับโลหะ (metal indicator) 5 ชนิด ได้แก่ Calcon Calcien Murexide Calconcarboxylic acid และ Tiron กับไอออน ของโลหะ 3 ชนิด ได้แก่ Mg2+ Ca2+ และ Zn2+ และปฏิกิริยาแทนที่ด้วยสารออร์กาโนฟอสฟอรัส 2 ชนิด ได้แก่ chlopyriphos (CFP) และ dichlovos (DDVP) ในระบบของ Tris buffer pH เท่ากับ 8 โดยใช้เทคนิคทางสเปกโทรเมทรี ได้แก่ ยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรเมทรี และฟลูออร์เรสเซนต์สเปกโทรเมทรี ผลการศึกษา พบว่า เคโมเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นไม่สามารถใช้เป็นฟลูอออร์เรสเซนส์เซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มสารออร์กาโนฟอสฟอรัสได้ เนื่องจากไม่มีพบการเปลี่ยนแปลงสัญญาณฟลูอออร์เรสเซ็นส์เมื่อเติมสารออร์กาโนฟอสฟอรัส 2 ชนิด CFP และ DDVP แต่อย่างไรก็ตามในการพัฒนา เคโมเซ็นเซอร์โดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโตรเมทรี พบว่า สารเชิงซ้อนของอินดิเคเตอร์โลหะ Calcon กับ Mg2+ สามารถใช้สำหรับการตรวจวัดสารออร์กาโนฟอสฟอรัสในระบบเอเควียสโดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโตรเมทรีได้และใช้เป็น naked eye sensor สำหรับสารออร์กาโนฟอสฟอรัส CPF และ DDPV ได้ด้วย โดยค่าการดูดกลืนแสงที่ 635 นาโนเมตร และสีน้ำเงินของสารละลายจะเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดปฏิกิริยาแทนที่ด้วย CPF และ DDPV ทำการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสโดยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโตรเมทรี พบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้สารเชิงซ้อนของอินดิเคเตอร์ calcon กับ Mg2+ ในการวิเคราะห์ปริมาณสารออร์กาโนฟอสฟอรัสคือ 1:1 เคโมเซ็นเซอร์ที่ได้นำไปสร้างกราฟมาตรฐานสารออร์กาโนฟอสฟอรัส CPF และ DDPV ความเข้มข้น 0-20 μM และค่าการดูดกลืนแสงที่ 635 นาโนเมตร พบว่าได้กราฟมาตรฐานที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงที่ดีโดยให้ค่า correlation coefficient (R2) = 0.9884 และ 0.9488 สาหรับ CFP และ DDVP ตามลำดับ และได้ค่า detection limit สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณ CPF และ DDPV ในระบบเอเควียส คือ 1.00 และ 3.72 μM ตามลำดับ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject ยากำจัดศัตรูพืช th_TH
dc.subject สารเคมีทางการเกษตร th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การพัฒนาเคโมเซ็นเซอร์สำหรับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชออร์กาโนฟอสฟอรัส โดยใช้เทคนิคสเปกโตรเมทรี th_TH
dc.title.alternative Developing of Chemosensors for Organophosphorus Pesticides using Spectrophotometry Techniques en
dc.type Research th_TH
dc.author.email matinee@buu.ac.th th_TH
dc.year 2559 th_TH
dc.description.abstractalternative This research attempt to develop new chemosensor for quantification of organophosphorus in pesticides based on indicator-displacement assay or IDA using spectrometry including UV-visible and fluorescence. In order to develop new chemosensor systems for organophosphorus, compleaxation reactions of 5 metal-indicators including Calcon, Calcien, Murexide, Calconcarboxylic acid and Tiron were explored with 3 metal ions as Mg2+, Ca2+ and Zn2+ using UV-visible and fluorescence spectrometry. In additions, substitution reactions of organophosphorus chlopyriphos (CFP) and dichlovos (DDVP) toward metal-indicator complexs were also studied by UV-visible and fluorescence spectrometry. The results shows that the proposed chemosensor cannot be used as an effective fluorescent sensor for organophosphorus due to non-significant intensities change during substitution reactions. However, good characteristic of chemosensor were found in UV-visible spectrometry studied of substitution reactions of organophosphorus, CFP and DDVP toward metal-indicator complexs. By means of significant change of UV-visible spectrum and colors, the Calcon-Mg2+ complex was considered to be an effective chemosensor and naked eye sensor for organophosphorus. By an introduction of organophosphorus, CFP and DDVP toward developed Calcon-Mg2+ chemosensor, an increasing of absorbance at 635 nanometer and blue color were observed due to substitution of CFP and DDVP toward metal ion. In order to applied the proposed Calcon-Mg2+ chemosensor for the quantification of organophosphorus in pesticides, calibration curves of CFP and DDVP standard solutions were constructed in the range of concentration 0-20 μM using an absorbance at 635 nm of free Calcon. As the results, calibration curves of both organophosphorus shows good analytical characteristics by well linear relation as correlation coefficient (R2) of 0.9884 and 0.9488 for CFP and DDVP, respectively. Moreover, the proposed chemosensor exhibits an excellent limit of detection for CFP and DDVP quantification in aqueous system as 1.00 and 3.72 for CFP and DDVP, respectively. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account