DSpace Repository

การต้านเชื้อราก่อโรคสายพันธุ์ Alternaria ในพืชวงศ์มะเขือด้วยสารสกัดจากหัวบัวบกป่า

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริลักษณ์ กมลวรรณสิทธิ์
dc.contributor.author ขวัญใจ หรูพิทักษ์
dc.contributor.author เอกรัฐ คำเจริญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned 2020-03-29T08:42:45Z
dc.date.available 2020-03-29T08:42:45Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3815
dc.description.abstract การศึกษากิจกรรมการยับยั้งเชื้อรา Alternaria alternata ของสารสกัดหยาบของส่วนหัวของต้น S. pierrei โดยสกัดด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 4 ชนิด ได้แก่ คลอโรฟอร์ม เอทานอล เอทิลอะซิเตตและน้ำ ด้วยวิธี agar plate พบว่า สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ได้ดีกว่าสารสกัดที่สกัดด้วยตัวทำละลายชนิดอื่น ๆ เมื่อนำสารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มไปศึกษากิจกรรมการยับยั้งและฆ่าเชื้อรา พบว่า ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ (MFC) เท่ากับ 2.5 และ 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร การศึกษาครั้งนี้ประเมินประสิทธิภาพของสารสกัดจากหัวบัวบกป่าเพื่อควบคุมโรคใบจุดในมะเขือเทศและพริกสองพันธุ์ภายใต้สภาพโรงเรือนและสภาพแปลง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ทำ 3 ซ้ำ ทั้งสองการทดลอง ทรีตเมนต์ประกอบด้วย 1) ชุดควบคุม 2) ปลูกเชื้อราสาเหตุโรค 3) ฉีดพ่นสารสกัดจากหัวบัวบกป่า 4) ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันการจัดเชื้อรา (mancozeb) 5) ปลูกเชื้อราและฉีดพ่นสารสกัดจากหัวบัวบกป่า และ 6) ปลูกเชื้อราและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันการจัดเชื้อรา (mancozeb) ผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่า ทรีตเมนต์ที่ป้ายสารสกัดจากบัวบกป่าหลังจากป้ายเชื้อก่อโรคทำให้ระดับของการเกิดโรคมีค่าลดลงหลังป้ายสารสกัดเท่ากับ 8.0% และ 3.8% ในมะเขือเทศพันธุ์พวงชมพูและพันธุ์สีดา ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างจากทรีตเมนต์ที่ป้ายสารเคมีป้องกันการจัดเชื้อราหลังจากป้ายเชื้อก่อโรคในสภาพ โรงเรือนและแปลง ประสิทธิภาพของสารสกัดขึ้นอยู่กับพันธุกรรมพืช ชนิดของ พืช และสภาพแวดล้อม ในขั้นต่อไปควรมีการศึกษาวิธีการใช้ภายใต้สภาพแปลงเกษตรกร th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว th_TH
dc.subject เชื้อรา
dc.subject พืชสมุนไพร
dc.subject บัวบก
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
dc.title การต้านเชื้อราก่อโรคสายพันธุ์ Alternaria ในพืชวงศ์มะเขือด้วยสารสกัดจากหัวบัวบกป่า th_TH
dc.title.alternative Antifungal activities of Alternaria sp. in Solanaceae using tuber extracts of Stephania pierrei en
dc.type Research th_TH
dc.author.email sirilakk@buu.ac.th
dc.author.email quanjair@buu.ac.th
dc.author.email agratk@buu.ac.th
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Antifungal activity of crude extract of the tuber of Stephania pierrei against Alternaria alternata using agar plate technique was examined. Chloroform, ethanol, ethyl acetate and water were used as the extraction solvents. The results showed that the chloroform extract from the tuber of S. pierrei was more the percentage of inhibition (%) than the other solvents. Moreover, the crude chloroform extract could inhibit A. alternata TIRTR 3435 with MIC and MBC at 2.5 and 4.0 mg/ml, respectively. This study evaluated the efficacy of Stephania pierrei tuber extract for control of leaf spot disease in two cultivars of tomatoes and chili under greenhouse and field condition. The experiment was conducted Both experiments were conducted in Completely Randomized Design with 3 replications. Treatments included 1) control, 2) fungal, 3) Stephania pierrei tuber extract, 4) fungicide (mancozeb), 5) fungal with Stephania pierrei tuber extract and 6) fungal with fungicide (mancozeb). The results showed that tomatoes plants treated with the fungal with Stephania pierrei tuber extract decreased the disease severity to 8.0% and 3.8% in Puang-chom-poo and Sida cultivar, respectively after prevention but not differed from chemical fungicide under greenhouse and field condition. The efficacy of extracts depends on plant genotype, plant species and environmental factors. Further studies are needed to find out the way to use under conventional condition. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account