DSpace Repository

การพัฒนาโลหะผสมแมกนีเซียมด้วยสารเติม สำหรับการกักเก็บก๊าซไฮโดรเจน เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก

Show simple item record

dc.contributor.author สายสมร นิยมสรวญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned 2020-03-28T02:32:51Z
dc.date.available 2020-03-28T02:32:51Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3810
dc.description.abstract แมกนีเซียมไฮไดร์ท (MgH2) เป็นวัสดุสำคัญชนิดหนึ่งในวัสดุกักเก็บพลังงานไฮโดรเจน อย่างไรก็ตาม กระบวนการทางจลศาสตร์และอุณหพลศาสตร์ของ การสร้างพันธะกับไฮโดรเจนเพื่อกักเก็บพลังงานยังต้องการการพัฒนาอีกมาก วิธีการหนึ่งในการปรับปรุงศักยภาพในการกักเก็บไฮโดรเจน คือ การทำโลหะผสม ตัวอย่างเช่น การผสมแมกนีเซียมกับอลูมิเนียม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสามารถลดความร้อนที่ต้องการสำหรับการเกิดการสร้างพันธะกับไฮโดรเจน และพัฒนา ความต้านทานการเกิดปฏิกิริยากับอากาศได้ ในขณะที่การเติมกราไฟต์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างพันธะกับไฮโดรเจนให้กับแมกนีเซียมบริสุทธิ์ได้ ในการศึกษานี้ต้องการศึกษาอิทธิพลร่วมกันระหว่างอลูมิเนียมกับกราไฟต์ที่มีต่อจลศาสตร์และความต้านทานการเกิดปฏิกิริยากับอากาศ โดยเลือกศึกษาองค์ประกอบของโลหะผสมแมกนีเซียมอลูมิเนียมที่สัดส่วน โดยจำนวนอะตอมที่ 60 ต่อ 40 (Mg60Al40 system) โดยการเตรียมโลหะผสมด้วยการบดด้วยหม้อบดพลังงานสูง (high-energy ball milling, HEBM) และมีการศึกษาอิทธิพลของเงื่อนไขในการบดประกอบด้วย ความแตกต่างของพลังงานในการบด ปริมาณการผสมกราไฟต์ และระยะเวลาในการสัมผัสกับอากาศ มีการวิเคราะห์โครงสร้าง โดยใช้เครื่อง X-ray diffraction (XRD) และ Scanning Electron Microscopy (SEM) คุณสมบัติของวัสดุในการดูดซับและการคายก๊าซไฮโดรเจนได้มีการตรวจสอบผ่านระบบกรวิเคราะห์เชิงปริมาตรด้วยระบบ ซีเวิตส์ (Sieverts-type apparatus) และมีการวิเคราะห์พลังงานในการกระตุ้นการคายก๊าซไฮโดรเจนด้วยเครื่อง Differential Scanning Calorimetry (DSC) ด้วยหลักการของคิซซิงเจอร์ (Kissinger analysis) โลหะผสมแมกนีเซียมอลูมิเนียม (Mg60Al40) และการผสมกราไฟต์ ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก แสดงให้เห็นว่าจลศาสตร์ของการปฏิกิริยาของโลหะผสมเพิ่มขึ้นซึ่งพบทั้งโลหะผสมที่เตรียมขึ้นใหม่และโลหะผสมที่ผ่านการสัมผัสกับอากาศเป็นเวลา 2 ปี กราไฟต์ที่เติมเข้ำไปทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการดูดซึมและการคายก๊าซไฮโดรเจนให้กับโลหะผสมแมกนีเซียมอลูมิเนียมซึ่งเตรียมโดยกระบวนการบดผสม และการเติมกราไฟต์ช่วยลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยาคายก๊าซไฮโดรเจน จากค่า 189 KJ/mol ไปสู่ 134 KJ/mol จลศาสตร์ที่เร็วขึ้น พลังงานความร้อนของการเกิดปฏิกิริยาที่ลดลง และความต้านทานการเกิดเสียสภาพเมื่อสัมผัสกับอากาศ ของแมกนีเซียมอลูมิเนียมนี้ทำให้วัสดุนี้ในการพัฒนาไปสู่วัสดุกักเก็บพลังงานไฮโดรเจนที่มีศักยภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งาน ในลักษณะของถังกักเก็บไฮโดรเจน th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject พลังงานทางเลือก th_TH
dc.subject จลศาสตร์ th_TH
dc.subject อุณหพลศาสตร์ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การพัฒนาโลหะผสมแมกนีเซียมด้วยสารเติม สำหรับการกักเก็บก๊าซไฮโดรเจน เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก th_TH
dc.title.alternative Development of Mg based alloys with additives for storing Hydrogen as an alternative energy en
dc.type Research th_TH
dc.author.email saisamor@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Magnesium hydride (MgH2) is a promising candidate as a hydrogen storage material. However, its hydrogenation kinetics and thermodynamic stability still have room for improvement. Alloying Mg with Al has been shown to reduce the heat of hydrogenation and improve air resistance, whereas graphite helps accelerating hydrogenation kinetics in pure Mg. In this study, the effects of simultaneous Al alloying and graphite addition on the kinetics and air-exposure resistance were investigated on the Mg60Al40 system. The alloys were pulverized through high-energy ball milling (hereinafter HEBM). We tested different conditions of milling energy, added graphite contents, and air exposure times. Structural characterization was conducted via X-ray diffraction (XRD) and Scanning Electron Microscopy (SEM). H2 absorption and desorption properties were obtained through volumetry in a Sieverts-type apparatus and Differential Scanning Calorimetry (DSC). The desorption activation energies were calculated using DSC curves through Kissinger analysis. Mg60Al40 with 10 wt.% graphite addition showed fast activation kinetics, even after 2 years of air exposure. Graphite addition provided a catalytic effect on ball-milled Mg-Al alloys by improving both absorption and desorption kinetics and lowering the activation energy for desorption from 189 KJ/mol to 134 KJ/mol. The fast kinetics, reduced heat of reaction, and improved air resistance of these materials make them interesting candidates for potential application in hydride-based hydrogen storage tanks.' en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account