DSpace Repository

หม้อ ไห ถ้วย โถ โอ ชาม: วัฒนธรรมอาหารในงานเซรามิก

Show simple item record

dc.contributor.author ภรดี พันธุภากร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-02-05T04:06:08Z
dc.date.available 2020-02-05T04:06:08Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3762
dc.description.abstract งานวิจัย หม้อ ไห ถ้วย โถ โอ ชาม: วัฒนธรรมอาหารในงานเซรามิก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น ของภาชนะและวัฒนธรรมอาหารในยุคสมัยต่าง ๆ และนามาสร้างสรรค์งานศิลปะเซรามิก จากการศึกษา ประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผา 3 ช่วง ยุคสมัย ทำให้ทราบว่า ยุคก่อน ประวัติศาสตร์ มีภาชนะสาหรับการหุงหาอาหาร ที่เรียบง่าย รูปทรงเหมาะสมกับการใช้งาน คือหม้อมีสัน หม้อก้นกลม ถ้วยขนาดเล็ก และไห ไม่ค่อยมีการตกแต่งที่สวยงาม แต่ภาชนะหม้อไห ขนาดใหญ่ที่มีการตกแต่ง ด้วยการเขียน ลาย เรขาคณิตสีแดงนั้น ล้วนเป็นภาชนะที่ใช้ในพิธีกรรม ส่วนอาหารก่อนประวัติศาสตร์ นั้น ว่ากันว่า คือ ข้าว ปลา และเกลือ สมัยสุโขทัยถึง อยุธยา ภาชนะที่ทาด้วยเครื่องปั้นดินเผา มีรูปแบบที่หลากหลาย โดดเด่น และ มีความสวยงาม ด้วยลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาแบบสีเขียวอมฟ้าและแบบเขียนลายใต้เคลือบ ที่เรียกว่า เครื่องศิลาดล สำหรับอาหารคาวยังคงเป็น ข้าว ปลาสัตว์ขนาดเล็ก และพืชผัก สมุนไพร ด้วยวิธีการแกง และต้ม โดยมี ข้าวตอกน้าผึ้ง ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง เป็นขนมหวาน สมัยอยุธยาตอนกลางถึงต้นรัตนโกสินทร์ ภาชนะเกี่ยวกับอาหาร เป็นสินค้าที่มาจากจีน ได้แก่ เครื่องลายคราม และเครื่องถ้วยลายเขียนสี ต่อมามีการสั่งทำเครื่องถ้วยจากจีนด้วยรูปแบบลวดลาย แบบไทย เรียกว่า เครื่องถ้วยเบญจรงค์ ส่วนอาหารในสมัยนี้ มีการเปลี่ยนแปลงและเกิดอาหารคาว หวานในแบบแผนใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส เปอร์เซีย และจีน โดยช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ถือว่าเป็นช่วงรุ่งเรืองสูงสุดของภาชนะ และวัฒนธรรมอาหารราชสำนัก จากการศึกษาจึงได้นำลักษณะที่โดดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะ หม้อ ไห ถ้วย โถ โอ ชาม มาสร้างสรรค์งานเซรามิก เป็นงานศิลปะแบบจัดวาง โดยผสมผสานวัฒนธรรมอาหาร จำนวน 6 ชุดผลงาน คือ ชุด บลูบ้านเชียง (Blue Banchieng) ชุด สามขาสุโขทัย ชุด สองหูสุโขทัย ชุด ลายดอกสุโขทัย ชุด ช่อดอกเบญจรงค์ และชุด กลีบดอกเบญจรงค์ ผลการศึกษาและผลงานสร้างสรรค์ เป็นการสืบสานต่อยอดเชื่อมโยงวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นต้นแบบและแนวทางในการพัฒนาเพื่อปรับใช้กับงานและกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณรายได้จากทุนอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา
dc.title หม้อ ไห ถ้วย โถ โอ ชาม: วัฒนธรรมอาหารในงานเซรามิก th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email poradee@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The research, entitled ‘Pots, Jars, Cups, bowls: Food Culture in Ceramics’, aimed at identifying specifically outstanding characteristics of utensils and food culture in different eras. Then, they were adopted for the creations of ceramic pieces of art. Regarding the historical studies of pottery in three eras, it was known that, in prehistoric time, there were containers for food cooking. They were simple with the shapes suitable for their use: pots with ridge, and round bottom, as well as small cups and jars without beautiful decorations. However, the utensils like big pots and jars with read geometric motifs decorations were the ones used in ritual ceremonies. For the prehistoric foods, it is said that they were rice, fish, and salt. From Sukhothai to Ayuthaya eras, the utensils made of pottery were those with various outstanding and beautiful shapes with the characteristics of blue-green color and drawing under the lacquer called ‘celadon’. Regarding the savory dishes and the desserts, they were still rice, small fish, small animals, vegetables, and herbs with cooking methods of boiling and curry and having honey rice, white boiled flour, and that of red boiled as the desserts. From Middle Ayuthaya to Early Rattanakosin eras, the food utensils were imported from China like blue and white porcelains and color drawing motifs wares. After that, there were orders of wares from China having Thai patterns and motifs called five colored wares (Benjarong wares). In regard to the savory dishes and the desserts during these eras, there have been changes leading to the appearance of their new styles with an influence of those from Portugal, Persia, and China. In particular, during Early Rattanakosin era, it was considered to be the most glorious era of utensils and royal food culture. From the studies, there were applications of outstanding pottery in the forms of utensils like pots, jars, cups, and bowls to the creations of ceramic works of art in terms of layout arrangement with the blends of food culture for the total of 6 sets: Blue Banchieng, Sam Kha Sukhothai, Song-Hu Sukhothai, Lai-Dok Sukhothai, Cho-Dok BenjarOng, and Kleeb-Dok Benjarong. The findings of this study and the creations of the research works as mentioned above were regarded as the continuing connections of diverse culture. en
dc.keyword วัฒนธรรมอาหาร th_TH
dc.keyword เซรามิก th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account