DSpace Repository

เทคโนโลยีเภสัชสารสนเทศแสดงข้อมูลฉลากยาเอกสารกำกับยาแบบอัตโนมัติสำหรับบริหารจัดการคลังยาปฎิชีวนะเพื่อความปลอดภัย

Show simple item record

dc.contributor.author วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-01-20T07:58:03Z
dc.date.available 2020-01-20T07:58:03Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3738
dc.description.abstract จากสถานการณ์การใช้ยาในปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคขาดความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายที่เกี่ยวกับยา อีกทั้งยังไม่มีแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย ข้อมูลที่ได้รับจากเภสัชกรที่เป็นเพียงฉลากยาจากคลินิกหรือโรงพยาบาลจึงไม่เพียงพอ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงมีแนวคิดในการสร้างระบบแสดงข้อมูลฉลากยาเอกสารกำกับยาแบบอัตโนมัติโดยการส่งข้อมูลดิจิตอลไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลในเครื่องแม่ข่าย เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการลดความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) ที่เกิดในกระบวนการใช้ยา ตั้งแต่การสั่งใช้ยา การคัดลอกคำสั่งใช้ยา การจ่ายยา และ สุดท้ายเป็นการบริหารยา โดยการนำเทคโนโลยี Optical Character Recognition (OCR) มาทำการแปลงไฟล์ภาพเอกสารที่ได้รับการสแกนให้กลายเป็นไฟล์ข้อความตัวอักษรที่สามารถสืบค้นได้ โดยระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยส่วนแรกคือส่วนของการเก็บข้อมูล ซึ่งข้อมูลยาที่ใช้ในการเก็บมาจากเอกสารกำกับยา โดยใช้เทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition) เป็นการแปลงรูปภาพเป็นตัวอักษร ส่วนที่สองการจัดการข้อมูลยา ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการสร้าง แก้ไข ลบ และแสดงข้อมูลยาทั้งหมดภายในระบบ ส่วนที่สามการค้นหาข้อมูลยา จะเป็นการค้นหาข้อมูลยาได้จากชื่อ สรรพคุณของยารวมถึงอาการของผู้ป่วย ส่วนที่สี่ส่วนการจัดการผู้ใช้จะควบคุมการเข้าถึงระบบในส่วนต่าง ๆ ของผู้ใช้แต่ละประเภท ระบบเทคโนโลยีเภสัชสารสนเทศแสดงข้อมูลฉลากยาเอกสารกำกับยาแบบอัตโนมัตินี้มีประสิทธิภาพในการแปลงรูปภาพเป็นตัวอักษรด้วยเทคโนโลยี OCR ที่ความแม่นยำได้ถึงร้อยละ 96.61 และสามารถช่วยลดเวลาของการเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลยา และช่วยให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจในการใช้ยา มีความรู้ความถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูล รู้วิธีของการเก็บรักษาของยาเพื่อให้ได้รับประโยชน์ ช่วยให้ปลอดภัยและลดปัญหาของการใช้ยาที่ผิดกับโรค th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title เทคโนโลยีเภสัชสารสนเทศแสดงข้อมูลฉลากยาเอกสารกำกับยาแบบอัตโนมัติสำหรับบริหารจัดการคลังยาปฎิชีวนะเพื่อความปลอดภัย th_TH
dc.title.alternative Automatic Pharmacy Information Leaflet Identification of Organize Antibiotics Drug Safety en
dc.type Research th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative In currently of drug use situation, Consumers lack knowledge and understanding of the dangers associated with drugs. And there is no easy access to information sources Information received from pharmacists being just drug leaflet from clinics or hospitals is not enough. As a result of the above problems, the idea of creating a drug leaflet information system is how to apply automatic drug documentation by sending digital information to store at server’s database in order to reduce drug errors (Medication Error) caused. In the process of medication from the prescription, copying drug use orders, dispensing and finally administering drug, we adopt the Optical Character Recognition (OCR) technology to convert image file of drug leaflet to be digital information that can be searched easily. For this research, it can be divided into 4 parts. The first part is the data collection which the drug information is collected from the drug documentation Using OCR (Optical Character Recognition) technology to convert images into texts. In this part Two, it is Drug Information Management used to create, edit, delete and display all drug information within the system. The third part is searching for drug information using the name medicinal properties including symptoms of patients. For the last part, it is about the User Management as the Access Control Level. Pharmacy information leaflet identification system developed is enable to be effective in converting images into texts as the drug digital information using the OCR technology and the accuracy from our experiments is around 96.61 percent. This proposed system can help to reduce the time of data collection into the database in manually. Moreover this helps consumers understand the right methods of medicine storage and reduce the problem of drug abuse. th_TH
dc.keyword เทคโนโลยีเภสัชสารสนเทศ th_TH
dc.keyword เอกสารกำกับยา th_TH
dc.keyword การประมวลผลภาพ th_TH
dc.keyword OCR th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account