DSpace Repository

ฤทธิ์ทางชีวภาพของเปปไทด์ที่สกัดได้จากกากน้ำปลา

Show simple item record

dc.contributor.author แวววลี โชคแสวงการ
dc.contributor.author ผาณตา เอี้ยวซิโป
dc.contributor.author สิทธิรักษ์ รอยตระกูล
dc.contributor.author จันทิมา จเรสิทธิกุลชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
dc.date.accessioned 2019-10-15T07:37:36Z
dc.date.available 2019-10-15T07:37:36Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3710
dc.description.abstract กากน้ำปลาเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอุตสาหกรรมน้ำปลา ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ยังคงมีสารอาหารที่มี คุณค่าสูง ในกระบวนการผลิตน้ำปลาในโรงงานอุตสาหกรรม โปรตีนจากปลาจะถูกย่อยให้มีขนาดโมเลกุล เล็กลงด้วยเอนไซม์จากระบบย่อยอาหารของปลาและจากแบคทีเรียทนเค็มในบ่อหมัก จึงสามารถจัดเป็น โปรตีนไฮโดรไลเซทที่เกิดตามธรรมชาติได้ กากน้ำปลาแบ่งออกเป็น 3 ระดับชั้นคุณภาพ ตามระดับของ น้ำปลาที่ผลิตและระยะเวลาในการหมัก ซึ่งทำให้โมเลกุลของเปปไทด์ในโปรตีนไฮโดรไลเซทมีขนาด แตกต่างกันด้วย งานวิจัยนี สนใจศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของเปปไทด์จากกากน้ำปลาเพื่อน้าไปสู่การเพิ่ม มูลค่าของผลิตภัณฑ์พลอยได้ โดยฤทธิ์ทางชีวภาพที่ถูกศึกษา ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ความสามารถในการจับกับไอออนของโลหะ ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ฤทธิ์ยับยั งการเจริญของจุลชีพ และฤทธิ์ยับยั้งการเจริญ ของเซลล์มะเร็ง กากน้ำปลาถูกนำมาศึกษาวิธีสกัดที่เหมาะสมและวิธีแยกเปปไทด์ออกจากเกลือโดยใช้ gel-filtration chromatography ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของโปรตีนในกากน้ำปลามี ค่าลดลงตามระดับชั้นคุณภาพที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปริมาณโปรตีนไม่มีความสอดคล้องโดยตรงกับฤทธิ์ทางชีวภาพ กากน้ำปลาระดับชั้นคุณภาพที่ 1 มีความสามารถในการยับยั้งอนุมูล DPPH และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ angiotensin-converting enzyme (ACE) ได้ดีกว่าอีกสองระดับชั้นคุณภาพ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.32  0.02 mg/mL และ 0.99  0.40 mg/mL ตามล้าดับ และยังมีความสามารถในการ รีดิวซ์ที่ดีกว่าระดับชั้นคุณภาพที่ 2 และ 3 อีกด้วย กากน้ำปลาระดับชั้นคุณภาพที่ 2 มีความสามารถใน การยับยั้ งอนุมูล hydroxyl และจับกับไอออนของโลหะได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.36  0.01 mg/mL และ EC50 เท่ากับ 1.00  0.12 mg/mL ตามลำดับ กากน้ำปลาระดับชั้นคุณภาพที่ 2 และ 3 แสดงคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย S. aureus, E. coli and X. oryzae pv. oryzae ได้ บางส่วน อย่างไรก็ตามกากน้ำปลาทั้งสามระดับชั้นคุณภาพไม่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของ เซลล์มะเร็งตับชนิด HepG2 และเมื่อเปปไทด์ผ่านการแยกส่วนตามมวลโมเลกุลและแยกส่วนตาม คุณสมบัติไฮโดรโฟบิก ตามลำดับ พบว่าเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ ACE ที่ดี เป็นกลุ่มที่มีขนาดโมเลกุลเล็กกว่า 3 kDa และมีความไฮโดรโฟบิกสูง โดยเปปไทด์ บริสุทธิ์จากแฟรกชันที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สามารถระบุลำดับกรดอะมิโนได้ด้วย LC-MS/MS คือ PQLLLLLL และ LLLLLLL ซึ่งมีคุณสมบัติไฮโดรโฟบิกสูง งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ทางชีวภาพจากเปปไทด์ที่มีอยู่ในกากน้ำปลา ซึ่งสามารถใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ในอนาคต th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กากน้ำปลา th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมน้ำปลา th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title ฤทธิ์ทางชีวภาพของเปปไทด์ที่สกัดได้จากกากน้ำปลา th_TH
dc.title.alternative Bioactive activities of peptides extracted from fish sauce byproduct en
dc.type Research
dc.author.email janthima.jar@biotec.or.th th_TH
dc.author.email panata@buu.ac.th th_TH
dc.author.email sittiruk@biotec.or.th th_TH
dc.author.email waeowalee@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561
dc.description.abstractalternative Fish sauce byproduct (FSB) is a waste from fish sauce industry. It is known to be low value but rich in nutrients. In the fish sauce manufacturing process, fish proteins are cleaved by proteases from the fish gastrointestinal system and from halophilic bacteria in the fermentation tank. Therefore, FSB is considered as natural protein hydrolysate. FSB can be classified into 3 grades, depending on the grade of fish sauce and fermentation period. Thus, the molecular weight of peptides from each grade of the protein hydrolysate could be varied. This work focuses on investigation of biological activities of peptides from FSB, including antioxidant, ion chelation, antihypertensive, antibacterial and anticancer activities, in order to develop value-added products from the FSB. In our experiment, extraction protocols were optimized, and desalting methods were performed using gelfiltration chromatography. Our results indicated that protein concentration of the FSB extracts were decreased with lowering grades of the FSB. Protein content was not correlated with the FSB bioactivities. The 1st grade FSB showed the stongest abilities to inhibit DPPH radicals and angiotensin-converting enzyme activity with the IC50 values of 0.32  0.02 mg/mL and 0.99  0.40 mg/mL, respectively. Also, the reducing power of the 1st grade FSB was higher that the other two grades. The 2nd grade FSB revealed the strongest abilities to scavenge hydroxyl radicals and to chelate metal ion with the IC50 of 0.36  0.01 mg/mL and EC50 of 1.00  0.12 mg/mL, respectively. The 2nd and 3rd grade FSB exhibited partial antibacterial activity against S. aureus, E. coli and X. oryzae pv. oryzae. However, none of the FSB exhibited anticancer activity against hepatocarcinoma cell line HepG2. After peptide fractionation based on molecular weight and hydrophobicity, it was shown that small peptides with the molecular weight lower than 3 kDa and with high hydrophobicity exhibited strong antioxidative and ACE inhibition activities. Two pure peptides, PQLLLLLL and LLLLLLL, could be identified by using LC-MS/MS from the fraction with the strongest antioxidant property. Both of them were shown to be highly hydrophobic. In summary, this work revealed an information about bioactivities of the peptides in the undervalued fish sauce byproduct, which could be useful for the future development of value-added products from manufacturing waste en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account