DSpace Repository

ความหลากหลายของมดในหมู่เกาะมัน (เกาะมันนอก เกาะมันกลาง และเกาะมันใน) อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-07-30T07:31:55Z
dc.date.available 2019-07-30T07:31:55Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3663
dc.description.abstract มดในเกาะมันนอก เกาะมันกลาง และเกาะมันใน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ดำเนินการศึกษาใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ทำการเก็บตัวอย่างโดยวิธีการวางกับดักหลุม พบ มดทั้งสิ้น 61 ชนิด จาก 30 สกุล 6 วงศ์ย่อย โดยเกาะมันนอก พบมด 39 ชนิด จาก 25 สกุล 6 วงศ์ย่อย มด ในวงศ์ย่อยมดคันไฟ พบจำนวนชนิดมากที่สุด 22 ชนิด 10 สกุล คิดเป็น 56.41 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนชนิด มดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ วงศ์ย่อยมดแดง พบ 5 ชนิด 6 สกุล คิดเป็น 15.38 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ย่อยมดไอ้ชื่น พบ 6 ชนิด 6 สกุล คิดเป็น 15.38 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ย่อยมดก้นห้อย พบ 3 ชนิด 2 สกุล คิดเป็น 7.69 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ย่อยมดค่อม พบ 1 ชนิด 1 สกุล คิดเป็น 2.56 เปอร์เซ็นต์ และวงศ์ย่อยมดตะนอย พบ 1 ชนิด 1 สกุล คิดเป็น 2.56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เกาะมันกลาง พบมด 28 ชนิด จาก 21 สกุล 6 วงศ์ย่อย มดในวงศ์ย่อยมดคันไฟ พบจำนวนชนิดมากที่สุด 14 ชนิด 8 สกุล คิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนชนิดมด ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ วงศ์ย่อยมดแดงพบ 7 ชนิด 6 สกุล คิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ย่อยมดไอ้ชื่น พบ 3 ชนิด 3 สกุล คิดเป็น 10.72 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ย่อยมดก้นห้อย พบ 2 ชนิด 2 สกุล คิดเป็น 7.14 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ย่อยมดท้องควั่น พบ 1 ชนิด 1 สกุล คิดเป็น 3.57 เปอร์เซ็นต์ และวงศ์ย่อยมดตะนอย พบ 1 ชนิด 1 สกุล คิดเป็น 3.57 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเกาะมันในพบมด 35 ชนิด 19 สกุล 5 วงศ์ย่อย มดในวงศ์ย่อย มดคันไฟ Myrmicinae มีจำนวนชนิดมากที่สุด พบ 19 ชนิด จาก 8 สกุล คิดเป็น 54.29 เปอร์เซ็นต์ของ จำนวนชนิดมดทั้งหมด รองลงมา คือ วงศ์ย่อยมดแดง Formicinae พบ 9 ชนิด 6 สกุล คิดเป็น 25.71 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ย่อยมดก้นห้อย Dolichoderinae พบ 4 ชนิด 2 สกุล คิดเป็น 11.43 เปอร์เซ็นต์ วงศ์ย่อยมด ไอ้ชื่น Ponerinae พบ 2 ชนิด 2 สกุล คิดเป็น 5.71 เปอร์เซ็นต์ และวงศ์ย่อยมดตะนอย Pseudomyrmecinae พบจ านวนชนิดและสกุลน้อยที่สุด คือ 1 ชนิด 1 สกุล คิดเป็น 2.86 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่า เกาะมันนอก พบมดที่มีค่าความชุกชุมสัมพัทธ์สูงที่สุด มี 3 ชนิด คือ มดคันไฟ (Solenopsis geminata) เป็นชนิดที่มีค่าความชุกชุมสัมพัทธ์สูงที่สุด รองลงมาคือ มดน้ำผึ้ง (Anoplolepis gracilipes) และมด รำคาญขายาว (Paratrechina longicornis) ขณะที่เกาะมันกลาง พบ มดที่มีค่าความชุกชุมสัมพัทธ์สูงที่สุด มี 3 ชนิด คือ มดไอ้ชื่นดำ (O. denticulata) เป็นชนิดที่มีค่าความชุก ชุมสัมพัทธ์สูงที่สุด รองลงมาคือ มดคัน (Pheidole sp.1) และมดคัน (Pheidole sp.2) และเกาะมันนอกพบ มดชนิดที่มีการกระจายกว้างที่สุด ได้แก่ มดละเอียดบ้าน (Monomorium pharaonis) มดรำคาญ (Nylanderia sp.) และมดไอ้ชื่นดำ (Odontoponera denticulate) ขณะที่เกาะมันกลางพบมดชนิดที่มี การกระจายกว้างที่สุด ได้แก่ มดคัน (Pheidole sp.1) และมดริ้ว (Tetramorium sp.1) th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (เพิ่มเติม) th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject มด th_TH
dc.subject เกาะมันนอก th_TH
dc.subject เกาะมันกลาง th_TH
dc.subject เกาะมันใน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ความหลากหลายของมดในหมู่เกาะมัน (เกาะมันนอก เกาะมันกลาง และเกาะมันใน) อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative Ant Fauna of Man Islands (Ko Man Nok, Ko Man Klang and Ko Man Nai), Klaeng District, Rayong Province, Eastern Thailand en
dc.type Research en
dc.author.email salineek@buu.ac.th
dc.year 2561 en
dc.description.abstractalternative Ant fauna of Man Islands (Ko Man Nok, Ko Man Klang and Ko Man Nai) in Klaeng District, Rayong Province were conducted from June 2016 to March 2017 using pitfall traps and hand collecting technique. At least sixty one ant species in 30 genera and 6 subfamilies were recognized. In Ko Man Nok, 39 species in 25 genera and 6 subfamilies were reported. In details, the richest subfamily was the Myrmicinae (22 species in 10 genera, representing 56.41% of the total number of species.), followed by the Formicinae (5 species in 6 genera, 15.38%), the Ponerinae (6 species in 6 genera, 15.38 %), the Dolichoderinae (3 species in 2 genera, 8.33%), the Ectatomminae (1 species in 1 genus, 2.56%) and the Pseudomyrmecinae (1 species in 1 genus, 2.56%), respectively. In Ko Man Klang, 28 species in 21 genera and 6 subfamilies were known. In details, the richest subfamily was the Myrmicinae (14 species in 10 genera, representing 50% of the total number of species), followed by the Formicinae (7 species in 6 genera, 25%), the Ponerinae (3 species in 3 genera, 10.72%), the Dolichoderinae (2 species in 2 genera, 7.14%), the Cerapachyinae (1 species in 1 genus, 3.57%) and the Pseudomyrmecinae (1 species in 1 genus, 3.57%), respectively. In Ko Man Nai, 35 species in 19 genera and 5 subfamilies were known. In details, the richest subfamily was the Myrmicinae (19 species in 8 genera, representing 54.29% of the total number of species), followed by the Formicinae (9 species in 5 genera, 25.71%), the Dolichoderinae (4 species in 2 genera, 11.43%), the Ponerinae (2 species in 2 genera, 5.71%), and the Pseudomyrmecinae (1 species in 1 genus, 2.86%), respectively. In addition, Solenopsis geminata was the most abundant species, followed by Anoplolepis gracilipes and Paratrechina longicornis in Ko Man Nok whereas Odontoponera denticulata was the most abundant species, followed Pheidole sp.1 and Pheidole sp.2 in Ko Mak Klang. Moreover, Monomorium pharaonis, Nylanderia sp. and Odontoponera denticulata were the most widely distributed species at Ko Man Nok while Pheidole sp.1 and Tetramorium sp.1 were the most widely distributed species at Ko Man Klang. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account