DSpace Repository

การสร้างเครือข่ายหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลในประเทศไทย จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ: การวิเคราะห์โดยการศึกษาแบบเดลฟาย

Show simple item record

dc.contributor.author ดวงกมล อุ่นจิตติ
dc.contributor.author กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์
dc.contributor.author สมฤทัย ธีรเรืองสิริ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-07-28T08:58:14Z
dc.date.available 2019-07-28T08:58:14Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3652
dc.description.abstract เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวิธีการงาน จดหมายเหตุ ทําให้มีการจัดเก็บจดหมายเหตุในรูปแบบดิจิทัล ที่เรียกว่า “จดหมายเหตุดิจิทัล” ตลอดจนเรียกจดหมาย เหตุมหาวิทยาลัยว่า “จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัล” กระบวนการและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงนี้คือ การเปลี่ยนแปลง จากการจัดทําเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นกระดาษให้เป็นเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นดิจิทัล (Born- Digital) และการ แปลงผัน (Digitization) จากสื่อต่าง ๆ เช่น กระดาษ ฟิล์ม เป็นต้น ให้เป็นดิจิทัล หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัล ต้องสร้างเครือข่ายนักจดหมายเหตุกับกลุ่มต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการและการยอมรับมาตรฐานร่วมกัน (Kalb et al., 2013) การวิจัยนี้ศึกษาการแสวงหามาตรฐานร่วมกันโดยวิธีการเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในหอ จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัล จํานวน 22 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 4 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง ของเคนดอล (Kendall's coefficient of concordance) .049 ที่ค่านัยสําคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีมติความเห็นร่วมกันคือ 1. วัตถุประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหอจดหมายเหตุเพื่อช่วยให้นัก จดหมายเหตุสร้างกรอบงานร่วมกัน และพัฒนางานร่วมกับนักพัฒนาชุดคําสั่งได้ 2. หน้าที่สําคัญของนักจดหมายเหตุ ในบริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคือการทํางานที่รวดเร็วให้ทันการ เปลี่ยนแปลงให้สามารถสงวนรักษาวัสดุจดหมายเหตุดิจิทัลให้มีอายุยาวนาน ที่สามารถเข้าถึงได้ในอนาคต 3. ระบบ สารสนเทศของหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่ต้องทํางานร่วมกันนั้น เอกสารจดหมายเหตุดิจิทัลต้องมีลักษณะที่ (a) สามารถค้นคืนได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) ตลอดอายุของ การสงวนรักษา (b) สามารถกู้คืนและเข้าถึงได้ ที่สามารถเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ตลอดอายุเอกสาร (c) สามารถนําเข้าระบบได้จํานวนมากด้วยวิธีการประมวลผล ที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (d) สามารถปรับเปลี่ยนได้กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในทุกมิติ และ (e) สามารถกู้คืนจากความสูญเสีย เช่น ภัยพิบัติ ได้ 4. มาตรฐานสถาปัตยกรรมควรมีมาตรฐานในการสงวนรักษาเอกสาร จดหมายเหตุดิจิทัลให้มีอายุยืนนานอย่างไม่มีกําหนด ด้วยการดําเนินการตามมารฐาน AS 4390 หรือมาตรฐาน DoD 5015.2-STD 5. มาตรฐานระบบควรเป็นมาตรฐานที่เครือข่ายหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลสามารถทํางาน ร่วมกันได้ คือ เกณฑ์วิธี (Protocol) และสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ และ 6. เทคโนโลยีที่ใช้สร้างหอจดหมายเหตุ ดิจิทัลควรสร้างบนพื้นฐาน OAIS (Open Archival Information Systems) และสามารถบูรณาการเข้ากับระบบ ห้องสมุด หากห้องสมุดพัฒนาระบบหลักด้วย XML (Extensible Markup Language) เพราะสามารถทํางานกับ OAIPMH (Open Archives Initiative-Protocol for Metadata Harvesting) ได้ ส่วนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของหอ จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลนั้น หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มีบทบาทสําคัญทั้งด้านการแลกเปลี่ยน แนวคิด วิชาการ และประสบการณ์ ความร่วมมือในเชิงภาคี เช่น การประชุม การส่งต่อข่าวสาร และการติดต่อกันด้วย เหตุผลความคุ้นเคย ชอบพอกัน ได้แก่ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยรังสิต หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล จากการอภิปรายผลพบว่าสอดคล้อง กับมาตรฐานสากลทุกประเด็น ข้อเสนอแนะการวิจัยคือการวิจัยขั้นต่อไปควรเป็นการวิจัยเพื่อนําไปสู่การพัฒนา หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลร่วมกันในลักษณะการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เป็นรายประเด็น เช่น มาตรฐาน สถาปัตยกรรมหรือเทคโนโลยี เป็นต้น เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ และข้อเสนอแนะจากเครือข่ายหอจดหมาย เหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัล คือความชัดเจนที่ได้จากการวิเคราะห์เครือข่ายหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลนําไปสู่การ สร้างองค์กรร่วมกัน เช่น สมาพันธ์ เพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนาหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลร่วมกันต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject หอจดหมายเหตุ th_TH
dc.subject เอกสารจดหมายเหตุ th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ th_TH
dc.title การสร้างเครือข่ายหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลในประเทศไทย จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ: การวิเคราะห์โดยการศึกษาแบบเดลฟาย th_TH
dc.title.alternative Networking The Digital University Archives In Thailand From The Experts' Perspectives : Analyzing By a Delphi Study en
dc.type Research en
dcterms.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.author.email somruthaik@hotmail.com
dc.author.email kkpradit@buu.ac.th
dc.author.email doungka@buu.ac.th
dc.year 2561 en
dc.description.abstractalternative The Information Technology and Communication (ICT) plays important roles on changes of archival processes and procedures. Therefore, archives are stored in digital format, called “digital archive” and “digital university archive”. The changed processes and procedures are changing from physical archive to born-digital archive and digitization where digital university archives have to build archivists’ network with many groups to enhance service qualities and accept common standards (Kalb et al., 2013). This study, therefore, investigates common standards by Delphi technique. Informants consist of professionals in 22 university archives and 4 experts. Kendall's coefficient of concordance results at .049 and statistical significance at .05. It was found that (1) construction of archives’ relationships is to help archivists create common frameworks and co-develop frameworks with programmers, (2) in contexts of rapid ICT changes, archivists’ functions are working to keep up with changes for preserving and being access long term digital archives, (3) Information system of interoperability, digital archive has to (a) being integrity when retrieve all in the future, (b) recovering and accessing throughout the lifetime of archive, (c) being amount of input into the system with the effective and efficient processes, (d) modifying in all dimensions of changes, and being recoverable from any disaster, (4) standards in indefinitely long term preservation are AS 4390, and DoD 5015.2-STD, (5) systematic standards must support of interoperability including: protocol, and architecture of computer, and (6) technology was used to build digital archives network, should be based on OAIS (Open Archival Information Systems) and should be integrated to the library system that developed by XML (Extensible Markup Language), since it can generate with OAI-PMH (Open Archives Initiative-Protocol for Metadata Harvesting). Interaction between digital university archives, the archives that play important roles on -sharing concepts, academic and experiences, cooperation, sending information and acquaint contacting- are Archives of Rangsit University, Archives and Museum of Mahidol University, and Siriraj Archives and Museum of Mahidol University. In addition, the discussion found that all findings are consistent with international standards. Implications are research on participative research action (PAR) on co-development of digital university archives in specific issue such as architectural standards, technology, etc., and should build association to determine co-direction of developing the digital university archives. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account