DSpace Repository

การพัฒนาระบบจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เด็กวัยเรียนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของสถาบันชุมชนภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author วันดี โตรักษา th
dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ th
dc.contributor.author นิสากร กรุงไกรเพชร th
dc.contributor.author พัชรินทร์ พูลทวี th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:29Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:29Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/362
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เด็กวัยเรียน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของสถาบันชุมชน ตามแนวคิดของผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กในชุมชน 9 และชุมชน 10 เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว หมู่ 4 หมู่ 8 หมู่ 11 องค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง และทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ณ หมู่ 4 และ หมู่ 5 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง จังหวัดชลบุรีด้วย ทำการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้แทนจาก 1) โรงเรียน 2) สถานบริการสาธารณสุข 3) องค์กรปกครองท้องถิ่น 4) คณะกรรมการชุมชน และประชาชน รวม 341 คน ซึ่งได้จากการแนะนำของผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มตัวอย่างหลักแนะนำต่อ ๆ ไป เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บข้อทมูลอีกจำนวน 5 คนที่ผ่านการอบรมชี้แจง เนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการเก็บข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นอย่างดีแล้ว เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดประเด็นหลักในการสัมภาษณ์ไว้ ใช้การบันทึกเสียง บันทึกภาพ และการบันทึกวีดิโอพร้อมเสียง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกับวิธีการตรวจสอบหลายทาง ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งได้ผลการวิจัยดังนี้ ประชาชนเห็นว่าโรคไข้เลือดออกปํญหาในพื้นที่ศึกษา การดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ปรากฏการณ์ดำเนินรูปแบบและกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรม เริ่มจากเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้นำชุมชนต่าง ๆ และขอความร่วมมือจากโรงเรียน โดยแต่ละภาคส่วนจะมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันไป หน่วยงานของรัฐสนับสนุนวัสดุ และงบประมาณ การกำหนดกิจกรรมดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่กำหนดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและครูในโรงเรียน ประชาชนยังไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมตามแนวทางที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่นั้นยังไม่ค่อยพบเห็นความหลากหลายเท่าที่ควร กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าบุคคลที่ควรมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กวัยเรียน คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การปลูกฝังความคิดเสียสละเพื่อส่วนรวม ความรับผิดชอบต่อสังคมการมีจิตสาธารณะ และแรงจูงใจ ยังเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงาน พื้นที่ศึกษายังไม่มีนโยบายสาธารณะสุขที่ชุมชนคิดร่วมกัน เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกแก่เด็กวัยเรียนทั้งชุมชน มีเพียงนโยบายการปฏิบัติงานของเฉพาะองค์กรที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานอยู่เท่านั้น แต่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยที่ควรจะมีนโยบายสาธารณะ เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดิน ปี 2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การจัดการสิ่งแวดล้อม th_TH
dc.subject นักเรียน - - สุขภาพและอนามัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject สุขาภิบาลในโรงเรียน th_TH
dc.title การพัฒนาระบบจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เด็กวัยเรียนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของสถาบันชุมชนภาคตะวันออก th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2551


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account