DSpace Repository

การวิเคราะห์ความไวต่อยาปฏิชีวนะรูปแบบใหม่และมีประสิทธิภาพสูงสำหรับ การทดสอบตัวอย่างทางคลินิกระดับจุลภาคด้วยวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ภาพดิจิตอล

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฏฐิณี ธีรกุลกิติพงศ์
dc.contributor.author อาลักษณ์ ทิพยรัตน์
dc.contributor.author ภักดี สุขพรสวรรค์
dc.contributor.author อาณัติ ดีพัฒนา
dc.contributor.author สมชาติ โชคชัยธรรม
dc.contributor.author จักริน สุขสวัสดิ์ชน
dc.contributor.author มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ
dc.date.accessioned 2019-07-14T04:06:44Z
dc.date.available 2019-07-14T04:06:44Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3618
dc.description.abstract ยาปฏิชีวนะถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในผู้ป่วยอย่างแพร่หลายทั้งในวงการแพทย์และสาธารณสุข การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมต่อโรคจึงมีความจำเป็น เนื่องจากเชื้อก่อโรคแต่ละชนิดมีความไวต่อยาปฏิชีวนะที่แตกต่างกัน การตรวจสอบความไวในการต้านเชื้อแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะรูปแบบใหม่ที่ยังคงให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีกว่าวิธีการในปัจจุบัน มีต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถ วิเคราะห์กับตัวอย่างได้เป็นจำนวนมากและให้ผลการตรวจสอบที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ จะช่วยลดปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ ที่นับวันจะพบปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นจำนวนมากเนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่คลอบคลุมเชื้อตั้งแต่ยังไม่ได้ตรวจสอบความไวในการต้านเชื้อแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาปรับปรุงวิธีการทดสอบความไวของยาปฏิชีวนะต่อเชื้อแบคทีเรียรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการลดขนาดการวิเคราะห์ด้วยอุปกรณ์ plastic box plate เปรียบเทียบกับเทคนิคการตรวจวิเคราะห์รูปแบบเดิมที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป Petri dish และมีการประยุกต์ใช้ชุดประมวลผลการตรวจสอบด้วยภาพดิจิตอลเพื่อลดเวลาการเพาะเลี้ยงเชื้อ ทำให้ทราบผลภายในเวลาอันรวดเร็ว ในเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (Escherichia coli) และเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Staphylococcus aureus) ทำการทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ Ampicillin, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Clindamycin และ Vancomycin โดยอ้างอิงเกณฑ์มาตรฐานการตรวจติดตามการเกิดวงรอบหยดสารต้านจุลชีพ (clear zone) จาก The Clinical and Laboratory Standards Institute (CLSI) และประเมินผลทดสอบ ทางสถิติด้วยวิธี Independented - Sample T tast ผลการทดสอบพบว่าวิธีแบบเดิม Petri dish โดยทดสอบวิธี disc diffusion และ drop plate พบว่าการทดสอบวิธี drop plate สามารถยับยั้งการ เจริญของเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ Escherichia coli และเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcus aureus ได้ชัดเจนและรวดเร็วกว่าวิธี disc diffusion อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ที่ปริมาตร ยาปฏิชีวนะน้อยที่สุด 2 ul ภายในระยะเวลาเพาะเลี้ยงเชื้อ 3 ชั่วโมง และ 6 ชั่วโมงตามลำดับ การ เปรียบเทียบวิธีรูปแบบใหม่ plastic box plate ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของอุปกรณ์ 96-microwell plate โดยการทดสอบวิธี disc diffusion และ drop plate พบว่าการทดสอบวิธี drop plate สามารถยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ Escherichia coli และเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcus aureus ได้ชัดเจนและรวดเร็วกว่าวิธี disc diffusion อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ที่ปริมาตรยาปฏิชีวนะที่น้อยที่สุด 2 ul ภายในระยะเวลาเพาะเลี้ยงเชื้อ 3 ชั่วโมงและ 6 ชั่วโมงตามลำดับ และยาปฏิชีวนะ Ciprofloxacin ที่ความเข้มข้นที่น้อยที่สุด (MIC) 5 µg/ 20 µl ปริมาตร 2 ul สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมลบ Escherichia coli และเชื้อแบคทีเรียแก รมบวก Staphylococcus aureus ในระยะเวลาการเพาะเลี้ยงเชื้อ 3 ชั่วโมงและ 6 ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่ายาปฏิชีวนะอื่น การใช้เทคโนโลยีชุดประมวลผลการตรวจสอบด้วยภาพดิจิตอล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจติดตามความสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียของยา ปฏิชีวนะทั้ง 5 ชนิด ได้รวดเร็วก่อนระยะเวลา 12 - 18 ชั่วโมง th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ยาปฏิชีวนะ th_TH
dc.subject แบคทีเรียแกรมบวก th_TH
dc.subject แบคทีเรียแกรมลบ th_TH
dc.subject สารต้านจุลชีพ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การวิเคราะห์ความไวต่อยาปฏิชีวนะรูปแบบใหม่และมีประสิทธิภาพสูงสำหรับ การทดสอบตัวอย่างทางคลินิกระดับจุลภาคด้วยวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ภาพดิจิตอล th_TH
dc.title.alternative Novel and high–throughput antimicrobial susceptibility method based on clinical microscale testing and digital image processing protocols en
dc.type Research th_TH
dc.author.email nuttinee@go.buu.ac.th
dc.author.email aluck@eng.buu.ac.th
dc.author.email phakdee@go.buu.ac.th
dc.author.email anat@buu.ac.th
dc.author.email jakkarin@buu.ac.th
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Antibiotics are widely used in the treatment of infectious diseases in patients, both in the medical and public annular. Appropriate and adequate antibiotic selection for the disease is necessary as each pathogen is sensitive to different antibiotic drug. New antibiotic susceptibility technique that can determine better analytical results than current methods is challenge. Providing lower cost, analyzing with a large number of samples, performing fast detection and accuracy which we are wishing to reduce antibiotic drugs resistance. The aim of this study was to design and develop a new antibiotic susceptibility testing method by applying the technology to reduce size of antibiotic susceptibility plate, compared to conventional form of the commonly used (Petri dish) and the application of digital image processing set to reduce incubation period within a short time. Gram-negative bacteria (Escherichia coli) and Gram-positive bacteria (Staphylococcus aureus) tested the susceptibility of bacteria to 5 antibiotics, including Ampicillin, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Clindamycin and Vancomycin, based on the standards for monitoring the occurrence of the clear zone of antimicrobial agents (The Zone) from the Clinical and Laboratory Standards Institute (CLSI) and evaluation of statistical test by method Independent - Sample T test. The results showed that the original method of Petri dish was tested by disc diffusion and drop plate method. Drop plate method was able to inhibit the growth of gram-negative bacteria (Escherichia coli) and gram-positive bacteria (Staphylococcus aureus) were significantly clearer and faster than disc diffusion method (p<0.05) at the minimum antibiotic volume 2 ul within 3 hours and 6 hours respectively. Comparison of the new plastic box plate used as a representative of 96-microwell plate equipment by testing disc diffusion and drop plate methods. It was found that the Drop plate method can inhibit the growth of microbes significant clearer and faster than disc diffusion method (p<0.05) at the minimum antibiotic volume 2 ul within 3 hours and 6 hours respectively. Minimal Inhibitory Concentration (MIC) 5 µg/20, 2 µl of Ciprofloxacin which outperforms inhibit the growth of gram-negative bacteria (Escherichia coli) and grampositive bacteria (Staphylococcus aureus) in the incubation period of 3 hours and 6 hours, respectively. Digital image processing technology can increase the efficiency of monitoring, and the ability to inhibit bacterial growth of all 5 antibiotics quickly before the 12–18 hour period en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account