DSpace Repository

การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินความหลากหลาย ของสัตว์กลุ่มหอยในแนวหญ้าทะเล บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author กฤษนัยน์ เจริญจิตร
dc.contributor.author กาญจนา หริ่มเพ็ง
dc.contributor.author พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา
dc.contributor.author สมถวิล จริตควร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-07-12T03:32:12Z
dc.date.available 2019-07-12T03:32:12Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3613
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาชนิดพันธุ์และการแพร่กระจายของหอยทะเลขนาดเล็ก บริเวณแนวหญ้าทะเล บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยประยุกต์การสำรวจภาคสนามและเทคโนโลยี ภูมิสารสนเทศ ซึ่งได้ประยุกต์หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก หรือ โดรน ในการผลิตข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ รายละเอียดสูง ผลการศึกษาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 (ต้นฤดูฝน) และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 (ปลาย ฤดูแล้ง) รวมทั้งสิ้น 30 สถานี พบว่า ความชุกชุมหอยทะเลขนาดเล็กในฤดูฝน มีทั้งสิ้น 17 วงศ์ (Family) 26 สกุล (Genus) และไม่น้อยกว่า 56 ชนิดพันธุ์ ส่วนฤดูแล้งพบหอยทะเลขนาดเล็กทั้งสิ้น 22 วงศ์ 32 สกุล ไม่น้อยกว่า 58 ชนิดพันธุ์ ความชุกชุมเฉลี่ยของหอยทะเลขนาดเล็กบริเวณแหล่งหญ้าทะเลทะเลใบสั้น (หญ้ากุ่ยช่ายทะเล (Halodule pinifolia)) และประเภทใบยาว (หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides)) เท่ากับ 22.62±1.06 x104 ตัวต่อตารางเมตร และผลการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากโดรนพบพื้นที่ปกคลุมของแนว หญ้าทะเลบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนทั้งหมด เท่ากับ 1.80 ตารางกิโลเมตร เมื่อพิจารณาปริมาณหอยทะเลขนาด เล็กต่อปริมาณการปกคลุมของแนวหญ้าทะเลทั้งหมด จะพบในฤดูฝนมากกว่าเล็กน้อย โดยความชุกชุมหอย ทะเลขนาดเล็กในฤดูฝน ประมาณ 4.21 x1011 ตัว และฤดูแล้งพบความชุกชุมหอยทะเลขนาดเล็ก ประมาณ 3.94 x 1011 ตัว ผลจากการวิจัยพบว่าโดรนเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถผลิตภาพถ่ายทาง อากาศเพื่อวิเคราะห์ความชุกชุม ของหอยทะเลขนาดเล็กที่สัมพันธักับพื้นที่ของหญ้าทะเลได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อทิศทางการพัฒนาและอนุรักษ์ระบบนิเวศของอ่าวคุ้งกระเบนอย่างมีนัยสำคัญต่อไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กลุ่มหอย th_TH
dc.subject หญ้าทะเล th_TH
dc.subject อ่าวคุ้งกระเบน th_TH
dc.subject หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก th_TH
dc.title การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินความหลากหลาย ของสัตว์กลุ่มหอยในแนวหญ้าทะเล บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี th_TH
dc.title.alternative Using Geoinformation for Evaluation of the Mollusk Biodiversity in Seagrass area: Kung Krabaen Bay, Chantaburi Province
dc.type Research th_TH
dc.author.email kitsanai@go.buu.ac.th
dc.author.email karnjana@buu.ac.th
dc.author.email somtawin@buu.ac.th
dc.author.email pongrat@buu.ac.th
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The aim of this study was identify the species and distribution of micro-marine snail along to the seagrass habitat in Kung Kra Baen Bay, Chantaburi, Thailand. Using integrated method from geoinformation science (Orthoimage from sUAS) and field surveying. The ground samples including with micro-marine snail and water quality were collected in the rain (2017 May) and dry seasons (2018 March). The study found 1) the rain season was found micro-marine snail of 17 family 26 Genus and 56 species while the dry season was found 22 family, 32 genus and 58 species. The total amount of density of marine micro-snail in seagrass habitat was estimated average of 22.62±1.06 x104 inds/m2 from seagrass species of Halodule pinifolia and Enhalus acoroides respectively. 2) The seagrass covered around 1.80 km2 was derived from sUAS’s orthoimage classification. The total amount of micro-marine snail was estimated 4.21 x 1011 inds of study area for rain season and 3.94 x 1011 inds of study area for dry season. This result shown that the micro-marine snail was found in rain season more slightly than in dry season. The sUAS’s orthoimage has more potentail candidate tool for micro-marine snail protection and bio-sustainable development in Kung Kra Baen Bay en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account