DSpace Repository

การประเมินการรับสัมผัสสารเบนซีน โทลูอีนและไซลีนที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของพนักงานเก็บกวาดขยะในเขตควบคุมมลพิษ ของจังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.author มริสสา กองสมบัติสุข
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-06-11T09:09:47Z
dc.date.available 2019-06-11T09:09:47Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3595
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสารเบนซีน โทลูอีนและไซลีนรวมถึงประเมินความสามารถในการทำงาน จำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษา มี 200 คน กลุ่มศึกษามีอายเฉลี่ย 44.05 ปี และ 33.95 ปีสำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษาใน แต่ละวันส่วนใหญ่ทำหน้าที่เก็บกวาดขยะ 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 92.0 และทำงาน 6 วัน ต่อสัปดาห์ ร้อยละ 63.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกคร้ังร้อยละ 57.0 โดยส่วนใหญ่เป็น การใช้ผ้าปิด จมูกร้อยละ 97.9 และระดับความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับ ดีร้อยละ 64.0 ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการ หายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=100) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเบนซีน 20.63±1.363 ppb โทลูอีน 86.09±84.016 ppbและไซลีน 4.85±6.125 ppb และมีการเก็บตัวอย่า ง ปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษา (n=100) มีค่าเฉลี่ย± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ โทลูอีนในปัสสาวะ 0.001±0.002 µg/l และไซลีนในปัสสาวะ0.038± 0.082µg/l เมื่อเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นของสารเบนซีน โทลูอีนและไซลีนในบรรยากาศการทำงาน ระหวา่งกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า สารเบนซีน โทลูอีนและไซลีน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p <0.001, p<0.001 และ p<0.001 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบ เทียบค่าเฉลี่ยของความสามารถในการทำงานระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ไม่มี ความแตกต่างกันและเมื่อหาความสัมพันธ์พบวา่ ปริมาณความเข้มข้นของสารเบนซีน โทลูอีนและ ไซลีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลและในปัสสาวะกบัความสามารถในการทำงานของ กลุ่มศึกษาพบวา่ ไม่มีความสัมพันธ์กัน จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษาควรได้รับ การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายของสารเบนซีน โทลูอีนและไซลีนและวิธีการป้องกัน รวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกนัระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปในขณะ ปฏิบัติงาน th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โทลูอีน th_TH
dc.subject การควบคุมมลพิษ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การประเมินการรับสัมผัสสารเบนซีน โทลูอีนและไซลีนที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของพนักงานเก็บกวาดขยะในเขตควบคุมมลพิษ ของจังหวัดระยอง th_TH
dc.title.alternative Benzene, toluene and xylene’s exposure assessment affecting work ability among the road sweepers in pollution control area, Rayong Province en
dc.type Research th_TH
dc.author.email srirat@buu.ac.th
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative This research was a cross sectional study. The objectives were to evaluate benzene, toluene and xylene’s exposure and work abilityamong the road sweepers in pollution control area in Rayong province. We sampled 200 persons. The mean age of the study group was 44.05 years; the mean age in the comparison group was 33.95 years. Ninety two percent of the study group worked 8 hours per day; 63 % worked, 6 days per week. Fifty seven percent always used respiratory protection; however, most of them used only cotton masks (97.9%). Most of them about work ability had good level (64.0%). In order to assess exposure to pollutants air sample were collected by attaching a personal “Organic Vapor Monitor (3M 3500)” to the lapel of each participant. Results of the study group (n=100) showed average exposure measures of benzene of 20.63 (SD = ±1.363 ppb), toluene 86.09 (SD= ±84.016 ppb) and xylene4.85 (SD= ±6.125 ppb). Urine samples were also collected after the work shift. Results of urine samples (n=100) showed average ±SD of toluene to be 0.001 ± 0.002 µg/l and xylene 0.038 ± 0.082 µg/l. The average comparison of concentration of benzene, toluene and xylene was significantly different between the study and comparison groups at level 0.05 (p <0.001, p<0.001 and p<0.001, respectively). However, the relationship between benzene, toluene and xylene in atmosphere and in urine and work ability of study group were not significant. We should be concerned about the training in order to gain the knowledge and understanding the hazard environment in working place and the protection. Furthermore, road sweepers should be advised to use suitable respiration protective equipment in a correct manner en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account