DSpace Repository

การหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน

Show simple item record

dc.contributor.author สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-06-01T14:55:08Z
dc.date.available 2019-06-01T14:55:08Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3582
dc.description.abstract งานวิจัยนี้จะศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายชนิดต่าง ๆ 5 ชนิด ได้แก่ ดินทรายออตตาวา 3820 ดินทรายออตตาวา 3821 ดินทรายอยุธยา ดินทรายชลบุรีและดินทรายโทยุระ ส่วนของเหลวที่ใช้ในการทดสอบ คือ น้ํา และ ขี้ผึ้ง เหลว โดยขี้ผึ้งเหลวจะทําการย้อมสีแดงด้วยเรดซูดานสาม (Red Sudan III) ด้วยอัตราส่วน 1:10,000 โดยน้ําหนัก ทําการศึกษาคุณสมบัติทางด้านกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของดินทรายชนิดต่าง ๆ เช่น การทดสอบหาความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) การทดสอบการกระจายตัวของเม็ดดิน (Sieve analysis) การวิเคราะห์สารอินทรีย์ในดินด้วยการเผา (Ignition Loss Method) การถ่ายภาพขยายอนุภาพด้วยเครื่อง Scanning Electron Microscope (SEM) ค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยสามารถหาได้โดยถ่ายภาพตัวอย่างทรายผสมกับของเหลวที่ระดับการอิ่มตัวต่าง ๆ ด้วยกล้องดิจิตอลจํานวน 2 ตัว โดยกล้องแต่ละตัวทําการติดตั้งฟิลเตอร์กรองแสงให้ผ่านที่ความถี่ 450 นาโนเมตร และ 640 นาโนเมตร รูปถ่ายที่ได้ถูกนําไปวิเคราะห์เพื่อหาค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยที่ความถี่ 450 นาโนเมตร และ 640 นาโนเมตรโดยใช้โปรแกรมการคํานวณที่เขียนบนซอฟแวร์ MatLab จากนั้นวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในทรายชนิดต่างๆและวิเคราะห์ผลกระทบของลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของดินทราย ที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลว การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายแตกต่างชนิดกัน 5 ชนิดพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ย และระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายออตตาวา 3820 ออตตาวา 3821 ดินทรายโทยุระ มีความสัมพันธ์กันแบบแปรผันตรง กล่าวคือเมื่อระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายเพิ่มมากขึ้น ค่า ความเข้มแสงเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนดินทรายอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่น เชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวมีความสัมพันธ์กันแบบผกผัน กล่าวคือ เมื่อระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายเพิ่มมากขึ้น ค่าความเข้มแสงเฉลี่ยมีค่าลดลง ส่วนในดินทรายชลบุรีไม่ พบความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวโดยปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว ได้แก่ ขนาดคละของเม็ดดิน ลักษณะพื้นผิวของเม็ดดิน ธาตุในดิน สีของดิน th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน th_TH
dc.title.alternative Investigation of average optical density and degree of liquids saturation in sand by multispectral image analysis method en
dc.type Research th_TH
dc.author.email Sittihphat@buu.ac.th
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative This research aims to study the factors affecting the relationship between liquids saturation and average optical density in five different porous media (i.e., Ottawa#3820, Ottawa#3821, Toyoura sand, Ayutthaya sand, and Chonburi sands). Reddyed Paraffin liquid with Red Sudan III (1:10000 by weight) was employed as experimental liquids in this study. Physical and chemical properties of both porous media and liquids were investigated in laboratory including specific gravity, sieve analysis, Ignition loss method, Scanning Electron Microscope (SEM), viscosity, vapor pressure, and transmittance properties. All samples were prepared at varying water and paraffin liquid saturations and compacted into cylindrical container, and then image of each sample was taken by 2 consumer-grade digital cameras fitted with 2 different band-pass filters (450 and 640 nm). Images were analyzed by an in-house program to obtain the average optical density for each spectral band. Graphic plots of degree of liquid saturation versus average optical density were constructed for each porous medium. The results indicated that average optical density in both spectral bands were linearly proportion to degree of liquids saturation for all porous media except Ayutthaya sand which average optical density were inversely proportional to degree of liquid saturation and There were no linearly relationship between average optical density and degree of liquid saturation in Chonburi sand. Factors affecting the relationship between liquids saturation and average optical density were particles size distribution, surface texture of porous media, elements in porous media, and initial color of dry state of porous media. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account