DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมเขตภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author พรรัตน์ แสดงหาญ
dc.contributor.author อภิญญา อิงอาจ
dc.contributor.author ณภัค ธนเดชะวัฒน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned 2019-04-21T03:21:35Z
dc.date.available 2019-04-21T03:21:35Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3519
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจอุปสงค์และอุปทานการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจ โรงแรมเขตภาคตะวันออก พัฒนารูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมเขตภาคตะวันออก และถอดบทเรียนจากประสบการณ์การทำงานของผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมต้นแบบ โดยใช้การวิจัย แบบผสม ด้วยกลยุทธ์การตรวจสอบข้อมูลรอบด้านพร้อมกัน (Concurrent Triangulation Strategy) ผลการวิจัยในส่วนของอุปสงค์และอุปทานการจ้างงานผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่ทั้งผู้บริหาร หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์และพนักงานผู้สูงอายุเห็นด้วยกับการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมเขต ภาคตะวันออก กล่าวคือผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่มีความประสงค์จะจ้างพนักงาน ผู้สูงอายุ และในขณะเดียวกัน พนักงานผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็มีความประสงค์จะทำงานต่อเช่นกัน สำหรับรูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมเขตภาคตะวันออกได้มีการกำหนดถึงลักษณะงาน ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ประเภทงานสำหรับพนักงานผู้สูงอายุคุณสมบัติของพนักงานผู้สูงอายุ การสรรหาและคัดเลือกพนักงานผู้สูงอายุ ระยะเวลาการทำงานและสัญญาการจ้างงานผู้สูงอายุ รวมถึง ค่าตอบแทนและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จสำหรับการจ้างงาน ผู้สูงอายุประกอบด้วยพนักงานผู้สูงอายุ สถานประกอบการหรือโรงแรม และภาครัฐ สำหรับบทเรียน จากประสบการณ์การทำงานของผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมต้นแบบที่เป็นกรณีศึกษาพบว่าสาเหตุสำคัญ ของการทำงานหลังวัยเกษียณของพนักงานผู้สูงอายุ ประกอบด้วยสาเหตุที่เกิดจากตัวผู้สูงอายุเองและ สถานประกอบการหรือโรงแรม และพบว่าพนักงานผู้สูงอายุมีอุปสรรคปัญหาบ้าง ทั้งอุปสรรคปัญหาที่ เกี่ยวกับสุขภาพและอุปสรรคปัญหาที่เกี่ยวกับการทำงาน แต่อุปสรรคเหล่านั้นสามารถป้องกันแก้ไขได้ โดยไม่มีผลกระทบรุนแรงต่อการทำงานของพนักงาน ผู้สูงอายุหรือองค์การ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การจ้างงาน th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมโรงแรม -- ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมเขตภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative The development of elderly employment model in the Eastern hotel business of Thailand en
dc.type Research
dc.author.email pornrat@buu.ac.th
dc.year 2560
dc.description.abstractalternative The research aimed to survey demand and supply of elderly employment in the hotel businesses of the eastern region, develop elderly employment model in the hotel businesses of the eastern region, as well as take lesson-learned from work experience of the elderly in the hotel businesses casestudy with an adoption of mixed research through use of Concurrent Triangulation Strategy. The findings in the part of the demand and the supply of elderly employment revealed that most of the in human resource managers and the elderly employees agreed with the elderly employment in the hotel businesses of the eastern region. That is, most of the administrators in human resource development units wished to employ the elderly employees, whereas the elderly employees wished to continue their work. Regarding the employment model for the elderly in the hotel businesses of the eastern region, there was a determination for: the right job, the job type, the qualifications, the recruitment and selections, the working time, the employment contract, and the compensation and welfare for the elderly employees. However, for the important factors yielding an impact on the success of the employment for the elderly comprised the following: the elderly employees, hotels and the government sector. For the lessons from the work experience of the elderly in the case study, it was found that the important causes for their working after retirement age comprised the causes from themselves and from the hotels. The findings also revealed that the elderly employees had some obstacles or problems which related to both their health and their work. However, all these obstacles and problems could be prevented and solved without any severe effects on themselves or the organizations en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account