DSpace Repository

การผลิตโมนาโคลิน เค รงควัตถุสีเหลืองและซิตรินิน โดย Monascus purpureus จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้วยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง

Show simple item record

dc.contributor.author ศนิ จิระสถิตย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-02T04:23:10Z
dc.date.available 2019-04-02T04:23:10Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3458
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรร่วมกับการเติมแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนต่อการเจริญและการผลิตรงควัตถุสีเหลือง โมนาโคลิน เค และซิตรินินของ Monascus purpureus TISTR 3541 ด้วยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง ผลการทดลองพบว่า รา Monascus สามารถเจริญเติบโตได้บนกากมันสำปะหลัง รำข้าว และข้าวหัก โดยการเติม แหล่งคาร์บอน (กลูโคสและกลีเซอรอลความเข้มข้น 4% และ 8%) มีผลกระทบต่อการเจริญและการผลิตรงควัตถุสีเหลือง โมนาโคลิน เค และซิตรินินจาก M. purpureus เช่นเดียวกับการเติมแหล่งไนโตรเจน (เปปโตนและแอมโมเนียมคลอไรด์ความเข้มข้น 1% และ 5%) ทั้งนี้ข้าวหักเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตรงควัตถุสีเหลืองจากรา Monascus รองลงมา ได้แก่ รำข้าวและกากมันสำปะหลัง ตามลำดับ โดยการหมักรา M. purpureus บนข้าวหักร่วมกับการเติมแอมโมเนียม คลอไรด์ 1% และกลูโคส 4% สามารถปรับปรุงการผลิตรงควัตถุสีเหลืองจากรา M. purpureus ได้ สูงสุด (526.77 OD units/g sdw) ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหักที่ปราศจากการเติมแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจน ขณะที่ตัวอย่างยังคงมีปริมาณซิตรินินต่ำ (0.20 mg/kg) นอกจากนี้ข้าวหักยังเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมที่สุดส าหรับการผลิตโมนาโคลิน เค รองลงมา ได้แก่ กากมันสำปะหลังและรำข้าว ตามลำดับ โดยรา Monascus สามารถผลิตโมนาโคลิน เค ได้ สูงสุด เท่ากับ 40.33 mg/kg และมีปริมาณซิตรินินต่ำ (0.61 mg/kg) เมื่อหมักบนข้าวหักร่วมกับการเติมเปปโตน 1% และกลูโคส 4% ซึ่งปริมาณโมนาโคลิน เค เพิ่มขึ้น 4.4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหักที่ปราศจากการเติมแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจน th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงาน คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ เลขที่สัญญา 78/2558 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กระบวนการหมัก th_TH
dc.subject ของเสียทางการเกษตร th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การผลิตโมนาโคลิน เค รงควัตถุสีเหลืองและซิตรินิน โดย Monascus purpureus จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้วยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง th_TH
dc.title.alternative The production of monacolin K, yellow pigment and citrinin by Monascus purpureus on argo-industrial byproducts in solid-state fermentation en
dc.type Research
dc.author.email sani@buu.ac.th
dc.year 2561
dc.description.abstractalternative The effects of agricultural by-products supplemented with carbon source and nitrogen source on growth and the production of yellow pigment, monacolin K and citrinin by Monascus purpureus TISTR 3541 were studied by solid-state fermentation. The genus of Monascus was capable to growth on cassava residue, rice bran and broken rice. The supplementation of either carbon source (4% and 8% of glucose and glycerol) impacted on growth and the production of yellow pigment, monacolin K and citrinin by Monascus as well asthe supplementation of either nitrogen source (1% and 5% of peptone and ammonium chloride). The broken rice was the best substrate for yellow pigment production from Monascus, followed by rice bran and cassava residues, respectively. The broken rice supplemented with 1% of ammonium chloride and 4% of glucose achieved the highest yellow pigment concentration (526.77 OD units/g sdw) up to 2.5 times as compared with the broken rice without supplemented carbon source and nitrogen source, while the low yield of citrinin was obtained (0.20 mg/kg). In addition, the broken rice was also the best substrate for monacolin K production, followed by cassava residue and rice bran, respectively. The maximum amount of monacolin K was 40.33 mg/kg and low yield of citrinin was observed (0.61 mg/kg) when Monascus was cultivated on the broken rice supplemented with 1% of peptone and 4% of glucose. The monacolin K increased approximately 4.4 times as compared to the broken rice without supplemented carbon source and nitrogen source en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account