DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ดุสิต ขาวเหลือง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:23:21Z
dc.date.available 2019-03-25T09:23:21Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3339
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามประเภทและขนาดของสถานประกอบการ 3) ศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารหรือหัวหน้างานในสถานประกอบการที่มีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทำงานอยู่ จำนวน 123 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 111 ชุด คิดเป็นร้อยละ 90.24 โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านทักษะในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ด้านวุฒิภาวะ ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านความรู้เกี่ยวกับงาน ด้านคุณลักษณะทั่วไป ด้านสุขนิสัยและความปลอดภัยในงาน และด้านทักษะในการสื่อสาร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามประเภทราชการและเอกชน และจำแนกตามขนาดของสถานประกอบการระหว่างอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมขนาดกลางและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. รูปแบบการเสริมสร้างความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเสนอแนะรูปแบบที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ ควรใช้รูปแบบการพัฒนาระบบโรงเรียนในโรงงานเพื่อพัฒนาแรงงานช่างเทคนิคที่มีสมรรถนะตามที่สถานประกอบการต้องการ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject คณะศึกษาศาสตร์ - - บัณฑิต - - การจ้างงาน th_TH
dc.subject ความพอใจในการทำงาน th_TH
dc.subject บัณฑิต - - การจ้างงาน th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative The development of enhance entrepreneurs' satisfaction model with graduates on bachelor of education in industrial techonology education program, Faculty of Education, Burapha University en
dc.type บทความวารสาร
dc.issue 2
dc.volume 11
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were 1) to study level of entrepreneurs’ satisfaction with graduates on bachelor of Education in Industrial Technology Education Program. Faculty of Education, Burapha University, 2) to conduct a comparative study level of entrepreneurs’ satisfaction in term of types and various sizes of entrepreneur, 3) to study model of enhance entrepreneurs’ satisfaction with graduates on bachelor of Education in Industrial Technology Education Program, Faculty of Education, Burapha University. The samples consisted of 123 administrators or employers. The data were collected and returned with a total of 111 questionnaires or 90.24%. The statistics used for data analysis were percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and One-way ANOVA. The research findings were summarized as follows: 1. Overall, the level of entrepreneurs’ satisfaction with graduates on bachelor of Education in Industrial Technology Education Program were rated at the high level. When considering all aspects separately, they were also rated at the high level, ranking from higher to lower average score were: decision making and problem solving skill, maturity, human relationship with others, academic knowledge or job performance, general characteristics, healthy and safety habit, and communication skill. 2. In comparative study level entrepreneurs’ satisfaction in tern of types such as government sector and private sector, and various sizes of entrepreneur such as small-scale industry, medium-scale industry, and big-scale industry, they were found that there were no significance different in the level of satisfaction as a whole and in all aspects en
dc.journal วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page 166-178.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account