DSpace Repository

ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
dc.contributor.author ไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.author ทวีชัย สายทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:21:26Z
dc.date.available 2019-03-25T09:21:26Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3240
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ความผูกพันธ์ต่อองค์การ สมรรถนะ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ บรรยากาศองค์การ หลักธรรมาภิบาล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดพหุระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลและปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานส่วนตำบล จำนวน 1,166 คน และหัวหน้าส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 523 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยเป็น 1) ตัวแปรตาม คือประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล วัดจาก การปฏิบัติงานการปรับตัว และการยืดหยุ่น 2) ตัวแปรทำนายระดับบุคคล ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัวแปร ได้แก่ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ สมรรถนะ และความผูกพันต่อองค์การ 3) ตัวแปรทำนายระดับองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปรได้แก่ การนำนโยบายไปปฏิบัติ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลักธรรมาภิบาล และบรรยากาศองค์การ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป้นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ตั้งแต่ 0.500 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่น ตั้งแต่ 0.944 ถึง 0.987 สถิติที่ใช้คือ สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับ ตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ความผูกพันต่อองค์การ สมรรถนะ บรรยากาศองค์การ หลักธรรมาภิบาล และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเกือบทุกด้านอยู่ในระดับน้อย ยกเว้นรายได้อยู่ในระดับปานกลาง การนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลเกือบทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง 2. โมเดลการวัดพหุระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลที่วัดจาก ตัวแปรสังเกต 3 ตัว ได้แก่ การปฏิบัติงาน การปรับตัว และการยืดหยุ่น โมเดลทีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี 3. ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับดี ระดับบุคคล พบว่า ประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจาก สมรรถนะ และความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ร้อยละ 72.7 ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า ประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่ได้รับอิทธิพลจาก การนำนโยบายไปปฏิบัติ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลักธรรมาภิบาล และบรรยากาศองค์การ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การบริหารองค์การ th_TH
dc.subject ความผูกพันต่อองค์การ th_TH
dc.subject ประสิทธิผลองค์การ th_TH
dc.subject ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.subject องค์การบริหารส่วนตำบล th_TH
dc.title ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative The multi-level causal factors affecting effectiveness of sub-district administrative organizations (SAOs) in the Eastern Region of Thailand en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 3
dc.volume 26
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study levels of the effectiveness of sub-district administrative organizations, levels of organizational commitment, levels of competency, levels of Social Economic Status (SES),levels of organizational climate, levels of good gevernance, levels of transformational leadership and levels of public policy implementation to test the effectiveness of sub-district administrative organizations multi-level measurement model and to the multi-level causal factors influencing on effectiveness of sub-district administrative organizations in the eastern region of Thailand. The samples were 1,166 workers and 523 directors of bureau working in sub-district administrative organizations. The variables in this research were 1) the dependent variable was effectiveness of sub-district administrative organizations which composed of 3 observable variables such as productivity, adaptability and flexibility 2) the predictor variables in individual level which composed of 3 latent variables such as Social Economic Status (SES), competency, organizational commitment, 3) the predictor variables in sub-district administrative organizations level which composed of 4 latent variables such as public policy implementation, transformational leadership, good governance, organizational climate. The questionnaires used in data collecting were the 5 rating scales with the content validity between 0.500-1.000 and reliability at 0.944-0.987. The statistics were used the basic statistics multi-level confirmatory factors analysis and multi-level structural equation model. The statistical software was used computer programs. The research results were: 1. The effectiveness of sub-district administrative organizations, organizational commitment,competency, organizational climate, good governance and transformational leadership were in high levels. The Social Economic Status (SES) of workers was in few levels nearly all indicators except income indicator was in moderate level. The public policy implementation of sub-district administration organizations was in high levels nearly all indicators except Economic, Social and Political indicator was in momerate level. 2. The proposed model with 3 dependent observable which were productivity, adaptability and flexibility model fits with the empirical data were good fit level. 3. The proposed multi-level model fits with the empirical data were good fit level. For individual level, the effectiveness of sub-district administrative organizations were directly positive influenced by competency and organizational commitment and at statistical significance level of 0.01. The predictor variables in individual level which composed of 2 latent variables influences could significantly predict the effectiveness of sub-district administrative organizations accounted for 72.7%. For sub-district administrative organizations level, the effectiveness of sub-district administrative organizations weren't influenced by public policy implementation, transformational leadership, good governance and organizational climate. en
dc.journal วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education, Burapha University
dc.page 190-204.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account