DSpace Repository

การวางสินค้าในสื่อโทรทัศน์และผลกระทบต่อผู้บริโภค

Show simple item record

dc.contributor.author ชมพูนุช ปัญญไพโรจน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:24Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:24Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/292
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง การวางสินค้าในสื่อโทรทัศน์ และผลกระทบต่อผู้บริโภคนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิควิธีการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย 2 แบบ คือ การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณ (Quantitative Content Analysis) และการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากรายการโทรทัศน์ 4 ประเภท (ได้แก่ รายการละคร รายการเพลง รายการเกมโชว์ และรายการข่าวบันเทิง) ที่เผยแพร่ออกอากาศทางโทรทัศน์ช่อง 3,5,7,9 และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2552 จำนวน 160 รายการ ส่วนการวิจัยเชิงสำรวจนั้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวนรวมทั้งสิ้น 232 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling Technique) และแบ่งนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ ประมาณ 25-30 คน แล้วให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มรับชมคลิปรายการโทรทัศน์ 1 ประเภทรายการต่อ 1 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ประเภทของสินค้าที่มีการวางในรายการโทรทัศน์สูงสด 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์, ห้างสรรพสินค้า, และร้านค้าต่าง ๆ, สินค้ากับความงาม, ร้านอาหาร และสินค้าเกี่ยวกับอาหาร และเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ส่วนเทคนิคการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์ โดยตอนช่วงนำเข้ารายการ เทคนิคการวางสินค้าที่ปรากฎสูงสุด 3 อันดัยแรก ได้แก่ การแสดงโลโก้หรือชื่อตราสินค้าโดยไม่มีเสียงบรรยาย, ภาพโฆษณาและมีการพูดชื่อสโลแกน หรือคุณสมบัติ, และการแสดงโลโก้หรือชื่อตราสินค้า โดยมีเสียงบรรยาย โดยตอนช่วงเนื้อหารายการ เทคนิคการวางสินค้าที่ปรากฎสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ แสดงภาพของตราสินค้า โลโก้ ชื่อ (ขึ้นเป็นตัวอักษร) แต่ไม่มีการพูดบรรยาย รองลงมา คือ การนำสินค้ามาเป็นของรางวัล หรือของตอบแทนให้กับผู้เข้าร่วมรายการ และการนำเอา Key Concept ของสินค้ามาเป็นหัวข้อหนึ่งในการนำเสนอ ในช่วงก่อนเข้ารายการ หรือก่อนโฆษณา เทคนิคการวางสินค้าที่ปรากฎสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่การมีเสียงบรรยายพูดระบุชื่อสินค้า (เช่น สนับสนุนโดย) รองลงมา คือ การมีพิธีกรพูดระบุชื่อสินค้า บริการและระบุคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ และมี้เสียงบรรยายระบุคุณสมบัติของสินค้า ในช่วงก่อนจบรายการ เทคนิคการวางสินค้าที่ปรากฏสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การแสดงโลโก้หรือชื่อตราสินค้า โดยไม่มีเสียงบรรยาย รองลงมาคือ ภาพโฆษณาพูดชื่อ สโลแกน หรือคุณสมบัติของสินค้า และภาพโฆษณาพูดชื่อตราสินค้า และภาพโฆษณาแต่มีมีเสียงบรรยาย ผลการวิจัยยังพบอีกว่า ความถี่ในการรับชมรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ (ละคร เกมโชว์ และเพลง) ที่มีการวางสินค้าไม่มีความสัมพันธ์กับการจดจำสินค้าที่มีการวางในรายการ แต่ความถี่ในการรับชมรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ (ข่าวบันเทิง) ที่มีการวางสินค้ามีความสัมพันธ์กับการจดจำสินค้าที่มีการวางในรายการโทรทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.003 การจดจำสินค้าที่มีการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ (เกมโชว์) มีความสัมพันธ์กับการตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการวางในรายการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.015 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ในการจดจำกับสินค้าที่มีการวางในรายการโทรทัศน์ประเภทละคร ข่างบันเทิง และเพลง ทัศนคติต่อสินค้าที่มีการวางในรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ (ละคร เกมโชว์ ข่าวบันเทิง และเพลง) มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อบริษัทที่เป็นเจ้าของสินค้าที่มีการวางสินค้าในรายการดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 ทัศนคติต่อบริษัทที่เป็นเจ้าของสินค้าที่มีการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ (ละคร เกมโชว์ ข่าวบันเทิง และเพลง) มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีการวางสินค้าในรายการดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ความรู้ด้านการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์โดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อสินค้า และผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีการวางสินค้าในรายการโดยรวม แต่พบความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อเจ้าของสินค้าที่มีการวางสินค้าในรายการโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.033 ทัศนคติต่อการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์โดยรวมมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อสินค้า, จ้าของสินค้า, และผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีการวางสินค้าในรายการโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 ความรู้ด้านการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์โดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์โดยรวม th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2552 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ th_TH
dc.subject โฆษณา - - ชื่อตราสินค้า th_TH
dc.subject โฆษณา - - รายการโทรทัศน์ th_TH
dc.title การวางสินค้าในสื่อโทรทัศน์และผลกระทบต่อผู้บริโภค th_TH
dc.title.alternative Product placements in Thai television media and its effects on consumers en
dc.type Research
dc.year 2553


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account