DSpace Repository

การสร้างเสริมสุขภาพในการควบคุมวัณโรค: กรณีศึกษานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลวังน้ำเย็น

Show simple item record

dc.contributor.author สมสมัย รัตนกรีฑากุล
dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
dc.contributor.author นิสากร กรุงไกรเพชร
dc.contributor.author เจนจิรา เจริญการไกร
dc.contributor.author อริสรา ฤทธิ์งาม
dc.contributor.author ชรัญญากร วิริยะ
dc.contributor.author ตระกูลวงศ์ ฦาชา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:20:03Z
dc.date.available 2019-03-25T09:20:03Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2858
dc.description.abstract การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานสรา้งเสริมสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคซึ่งเป็นโครงการที่บุคลากรโรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว พัฒนาขึ้นและได้รับการยกย่องว่าเป็นนวัตกรรมที่ดีระดับประเทศ โดยใช้ยุทธศาสตร์ กฎบัตรการสร้างเสริมสุขภาพออตตาวา (Ot-tawa Charter for Health Promotion) เป้นกรอบการวิเคราะห์ ทำการศึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรวม 27 คน เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์แบบเจาะลึก สังเกต การประชุมกลุ่มย่อย การศึกษาจากเอกสาร ภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง การศึกษาข้อมูลในโรงพยาบาล องค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องและที่บ้านผู้ป่วย ตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องของข้อมูลด้วยเทคนิคการใช้ข้อมูลยืนยันจากหลายแหล่ง ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชื่อโครงการ "วัณโรค 4 days เอาอยู่" พัฒนาจากสภาพปัญหาของระบบบริหารผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลพบ ได้แก่ จำนวนผู้รับบริการที่มากขึ้น การติดเชื้อของบุคลากร และผู้ป่วยที่รับการรักษาพยายามฆ่าตัวตาย ลักษณะนวัตกรรมที่สำคัญ คือ มีการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ลดจำนวนวันที่รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเหลือเพียง 4 วัน ในแต่ละวันจะมีแนวปฏิบัติของบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน รวมทั้งใช่เป็นแบบกำกับ และประเมินผลการให้บริการที่เป็นรูปธรรม มีการนำนวัตกรรมหลายอย่างร่วมให้บริการกับผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น การส่งต่อผู้ป่วยไปยังครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับระบบคิดให้เกิดความรับผิดชอบต่อการควบคุมโรคของผู้ป่วย ครอบครัว อาสาสมัคร บุคลากรสาธารณสุขทั้งในโรงพยาบาล องค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชนประสานงานนำกองทุนต่าง ๆ มาสนับสนุนการใช้และให้บริการอย่างเหมาะสม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้อัตราการรักษาหายเพิ่มขึ้น อัตราการป่วยซ้ำ อัตราตายลดลง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว สมาชิกในชุมชนและบุคลากรผู้ให้บริการ ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการรักษา ป้องกันและควบคุมดรคติดต่อที่สำคัญ ได้แก่ วัณโรค เอดส์ โรคเรื้อน ที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่องเข้มงวด โดยใช้แนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีระบบการประสานงาน การสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การส่งเสริมสุขภาพ th_TH
dc.subject วัณโรค - - ผู้ป่วย - - การดูแล th_TH
dc.subject วัณโรค th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การสร้างเสริมสุขภาพในการควบคุมวัณโรค: กรณีศึกษานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลวังน้ำเย็น th_TH
dc.title.alternative Health promotion in tuberculosis control: The case study tuberculosis patients health promoting innovation of Wong Nam Yen Hosptial en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 4
dc.volume 23
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The qualitative research aimed to study and analyze the process of health promotion program for the tuberculosis patients. The program was developed by Wang Nam Yen Hospital, Sa Kaeo province and has been secognized as a good national innovation. Ottawa charter for health promotion strategies were used to be research conceptual frame work. The study involved 27 participants who took part in the program. Collecting data methods were in-depth interview, group meeting, documentary study, related photos study, and the collecting data at hospital, community organization and patients' home. The data were validated by triangulate method. Content analysis was used for analyze data. The results revealed that the context of the caring process for tuberculosis patients as the name "4 Days Tuberculosis (TB) Program Under Control" was the increase of patients, the infection of hospital's staffs and attempt to suicide of the patient. The specific of program were four days of practice guideline for health care personnel. The guidelines used to regulate, follow up, and evaluate their services. There were many innovations to apply in health care services in order to continuing care and transmission precaution. The referral system that transfer patient to family and community operated for effectively continuous care. To change the patients and families, health volunteers, public health officers in hospital and local administration organization, and community mind set about the responsibility of this disease control. The funds invested in order to support the accessibility and providing services. The consequences of this program were increasing curative rate, decreasing re-admission rate and death rate, and increasing quality of life for patients, families, community members and health care personnel. These findings could be applied for development of curative system, prevention and control of important communication diseases as well as tuberculosis, AIDS, and leprosy. These illness were needed continuing and strictly care clear practice guidelines, coordinating and effectively supporting system which in accordance with the context of community. en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page 74-88.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account