DSpace Repository

การหาเส้นทางที่เหมาะสมจากภาพภูมิประเทศที่มีเส้นชั้นความสูงด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพและการจัดกลุ่มข้อมูล

Show simple item record

dc.contributor.author กฤษณะ ชินสาร th
dc.contributor.author สุวรรณา รัศมีขวัญ th
dc.contributor.author จักริน สุขสวัสดิ์ชน th
dc.contributor.author อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:23Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:23Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/283
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ นำเสนอขั้นตอนการรู้จำเส้นชั้นความสูงหลักของภาพแผนที่ภูมิประเทศที่ได้จากการกราดภาพ (Scanning) โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ การจัดกลุ่มข้อมูลแบบอาศัยความหนาแน่น และระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบวิธีการแพร่กระจายย้อนกลับ โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการรู้จำตัวเลขระดับความสูงของเส้นชั้นความสูงหลักในภาพแผนที่ซึ่งจะใช้ในการระบุค่าระดับความสูงที่อยู่ในแผนที่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากโดยปกติแล้วนั้นแผนที่ภูมิประเทศจะถูกเขียนหรือพิมพ์ไว้ในกระดาษ ดังนั้นการจะนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องใช้วิธีการกราดภาพ เพื่อสร้างแฟ้มข้อมูลภาพแผนที่ซึ่งสามารถนำไปประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการได้ แต่อย่างไรก็ตามแผนที่ภูมิประเทศนั้นประกอบไปด้วยข้อมูลที่มีคุณลักษณะเด่นแตกต่างกันอย่างหลากหลาย และตัวเลขที่แสดงค่าระดับความสูงแต่ละตัวได้ถูกจัดวางไว้ในทิศทางที่แตกต่างกันมาก นอกจากนี้ภาพแผนที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการผิดเพี้ยนของค่าสีที่เกิดจากการรวมแสงของเลนส์ในช่วงที่ทำการกราดภาพ จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรู้จำเป็นอย่างมาก แต่ด้วยวิธีการที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขั้นมานั้น แม้ว่าภาพแผนที่ใช้งานจะมีปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วก็ตาม ขั้นตอนวิธีนี้ก็ยังสามารถที่จะทำการรู้จำได้ และผลของการทดลองนั้นก็อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้จากการรู้จำค่าระดับความสูงในเส้นขั้นความสูงหลักเพื่อนำค่าที่ได้ไปใช้ในการระบุความสูงของเส้นทาง เพื่อใช้ในการคำนวณและตัดสินใจเลือกเส้นทางซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่ต้องทำการพัฒนาต่อไป นอกจากนี้ เรายังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการรู้จำได้ในอนาคตโดยการปรับปรุงขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการสกัดคุณลักษณะเด่น th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 (2 ปี ต่อเนื่อง) en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การทำแผนที่ - - การประมวลผลข้อมูล th_TH
dc.subject การทำแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ th_TH
dc.subject เทคนิคการประวลผลภาพ - เครื่องมือและอุปกรณ์ th_TH
dc.subject แผนที่ th_TH
dc.title การหาเส้นทางที่เหมาะสมจากภาพภูมิประเทศที่มีเส้นชั้นความสูงด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพและการจัดกลุ่มข้อมูล th_TH
dc.title.alternative Possible path finding from topographic map using image processing and data clustering techniques th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative This research proposes a method of recognition of index contour lines from scanned topographic map using image processing, density based clustering and back-propagation neural network techniques. The purpose of this research is to recognize altitude numeric Number of index contour lines for specifying height level on the scanned map. Traditionally, topographic maps have been printed on paper. When we want to know about information of height’s surface, we have to scan topographic map and then recognize it. However, the recognition of index contour lines is very difficult because topographic maps involve various features and each altitude numeric has been displayed in different directions. Furthermore, scanned topographic maps always have a Chromatic aberration problem which leads to false color representation. Therefore, we try to develop the method which can overcomes all problems as mentioned, and results of proposed method is satisfactory. The benefit of this recognition is to specify height’s surface for path decision which we will develop in the future. In addition, modification of feature selection algorithms are point of interests in the future research in order order to improve the learning performance. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account