DSpace Repository

การประเมินผลกระทบของสารไดออกซินในอากาศที่มีต่อสุขภาพในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ th
dc.contributor.author ชมภูศักดิ์ พูลเกษ th
dc.contributor.author รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์ th
dc.contributor.author นันทพร ภัทรพุทธ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:22Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:22Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/270
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของสารไดออกซินในอากาศที่มีต่อสุขภาพของประชาชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 3 ชุมชน จำนวน 73 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างอากาศจาก 3 ชุมชน พร้อมกับทำการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อหาสารบ่งชี้โรคมะเร็ง 5 ชนิด (CA 19-9, AFP, CEA, NSE, Ferritin) ด้วยวิธีการ CLIA, ECLIA และ CMIA สำหรับวิธีการและการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารไดออกซินนั้นได้ใช้มาตรฐานแนะนำจากประเทสเยอรมัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสารบ่งชี้โรคมะเร็งในเลือดทุกชนิด 69.86% เป็นสารบ่งชี้โรคมะเร็งชนิด NSE 39.72% ชนิด CEA 13.70% Ferritin 10.96% CA 19-9 4.11% และ AFP 1.37% โดยที่กลุ่มตัวอย่างในชุมชนที่ 1, 2, และ 3 มีสารบ่งชี้โรคมะเร็งเท่ากับ 34.24% 31.51% และ 4.11% ตามลำดับ สำหรับปริมาณสารไดออกซินในอากาศของชุมชนที่ 1 เท่ากับ 19.9 เฟมโตกรัมต่อลูกบาศก์เมตรซึ่งเกินมาตรฐานองค์การอนามัยโลกปี พ.ศ. 2540 (17.0 เฟมโตกรัมต่อลูกมาศก์เมตร) ส่วนชุมชนที่ 2 และ 3 มีปริมาณสารไดออกซินเท่ากับ 17.0 และ 12.6 เฟมโตกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีอาการเจ็บป่วย คือ เป็นผื่นคันตามร่างกาย 43.84% อาการเวียนศรีษะ 32.88% และอาการปวดศรีษะ 30.14% ข้อมูลเชิงสถิติ พบว่า ลักษณะส่วนบุคคล ของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบสารบ่งชี้โรคมะเร็งในเลือดทางสถิติ (p-value > 0.05) กลุ่มตัวอย่างที่ตรวจพบสารบ่งชี้โรคมะเร็งในเลือด ทางสถิติ (p-value > 0.05) แต่ปริมาณสารไดออกซินในอากาศของชุมชนทั้งสามแห่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลกระทบของสารไดออกซินในอากาศที่มีต่อสุขภาพของประชาชนยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พนักงาน และสาธารณชน ควรดำเนินงานร่วมกันแบบพหุภาคีและเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารไดออกซิน th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2553 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.subject สารไดออกซิน th_TH
dc.subject โรคมะเร็ง th_TH
dc.title การประเมินผลกระทบของสารไดออกซินในอากาศที่มีต่อสุขภาพในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง th_TH
dc.title.alternative The health impact of dioxin in the ambient of Maptaphut industrial estate, Rayongprovince en
dc.type Research
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative The research aimed to determine impact of dioxin in ambient air on health of people who live near Maptaphut Industrial Estate in Rayong Province. The samples in this research studies were taken from 3 communities with the total of 73 cases. The researchers had performed 3 ambient community samples together with the blood samples in order to analyze 5 types of tumor markers (CA 19-9, AFP, CEA, NSE, Ferritin) with CLIA, ECLIA and CMIA method. The air samples were analyzed for dioxin concentration according to German Guideline Standard. Finding showed that the samples had 5 types of tumor markers were 69.86%. Tumor markers consisted of NSE 39.72%, Ferritin 10.96%, CA 19-9 4.11%, and AFP 1.37%. The tumor markers of the samples in community on. 1, 2 and 3 the dioxin concentrations of 34.24%, 31.51% and 4.11% respectively. The concentration of dioxin in ambient air of community no.1 was 19.9 fg/m3 which was higher than the standard of WHO 1997 (17.0 fg/m3) The community no.2 and 3 had the dioxin concentrations of 17.0 and 12.6 fg/m3, respectively. The study of samples reported rash, vertigo and headache which accounted for 43.84%, 32.88% and 30.14% respectively. Statistical analysis found that the personal characteristic of the samples were not significantly associated with the tumor markers (p-value > 0.05). The samples with the tumer markers and without the tumer markers were not significantly different (p-value > 0.05) . For the concentration of dioxin in ambient air of the three communities were significantly different(p-value < 0.05) In conclusion our study was revealed that impact of diozin in ambientair on health og people were not clear. However, the goverment, privatesector, related organization workers and the public should take action with multiparty and network for prevention and control of dioxin hazard. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account