DSpace Repository

การศึกษาศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
dc.contributor.author พินิจ จริตงาม
dc.contributor.author สามารถ ดีพิจารณ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:16:08Z
dc.date.available 2019-03-25T09:16:08Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2608
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการเป็นแหล่งท่องเทียวเชิงอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวบ้านและแหล่งการค้าของคนในชุมชนในปัจจุบัน 2) เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาชุมชนและสร้างเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการของชุมชนตลาดบ้านใหม่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนตลาดบ้านใหม่จำนวน 12 คน โดยแบ่งออกเป็นผู้บริหารจากส่วนราชการ คือนายกเทศมนตรีจำนวน 1 คน ผู้บริหารชุมชนจำนวน 1 คน ผู้ประกอบการจำนวน 5 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 5 คน ใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากการวิจัยพบว่าการบริหารจัดการชุมชนตลาดบ้านใหม่นั้นเริ่มต้นจากการมอบนโยบายของนายกเทศมนตรีอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ที่ได้มอบนโยบาย 2 ช่วงเวลาคือระยะแรกเป็นการฟื้นฟูชุมชนตลาดบ้านใหม่และระยะที่สองเป็นการรักษาตลาดให้มีบรรยากาศแบบเดิม ๆ เมื่อครั้งอดีต โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชาวบ้านผู้ประกอบการ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนนอกจากนี้ได้มีการบริหารจัดการชุมชนตลาดบ้านใหม่โดยคณะกรรมการตลาดที่ผ่านการคัดสรร จากชาวบ้านในชุมชน และยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบริหารจัดการ รายได้ที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงการวางแนวทางพัฒนาตลาดในอนาคตเพื่อรองรับการแข่งขันและเป็นทางเลือกให้ แก่นักท่องเที่ยว ส่วนเรื่องการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาชุมชนและสร้างเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการของชุมชนตลาดบ้านใหม่นั้นพบว่าตลาดบ้านใหม่ มีความได้เปรียบในเรื่องทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว มีทำเลที่ตั้งเหมาะสม มีธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม อยู่ใกล้สถานท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดและการคมนาคมขนส่งสะดวกสบายแต่ปัญหาที่ต้องดดำเนินการปรับปรุงแก้ไขคือ สถานที่จอดรถและห้องน้ำ สำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่ยังไม่เพียงพอ ทางเดินภายในตลาดที่ไม่สะดวกและควรเพิ่มเติมเรื่องการประชาสัมพันธ์ตลาดรวมถึงป้ายบอกทางและป้ายสื่อสารภายในตลาดตลอดจนข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์แก่นักท่องเที่ยวเพื่อช่วยในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยว This research aims to study ecotourism and commerce management of Banmai market community, Chachoengsao province, and to propose some ideas to enhance tourism potential of the community. This is a qualitative research using in-depth interviews to collect data from a sample comprising 12 community-related persons: 1 mayor, 1 community supervisor, 5 entrepreneurs, and 5 tourists. The results reveal that the administrative policy of Banmai market is initiated by the major of Chachoengsao. It is divided into 2 stages, community recondition and preservation of old-time atmosphere, has been well supported by villagers, entrepreneurs, administrators, and all related persons. In addition, there is a market committee, elected by villagers, which is working to efficiently manage the earnings and set the directions for developing the market’s competitiveness. Moreover, it is found that Banmai market has advantages in its vast natural resources, good location, beautiful environment, and convenient transport. However, the problems that need immediate resolutions are insufficient parking spaces, toilets, and direction signs, as well as inconvenient walkways within the market. Additionally, more public relations and information for tourist are needed to make Banmai market a well known place for tourism. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การท่องเที่ยว th_TH
dc.subject การพัฒนาชุมชน - - ฉะเชิงเทรา th_TH
dc.subject ตลาดบ้านใหม่ (ฉะเชิงเทรา) ฉะเชิงเทรา - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว th_TH
dc.title การศึกษาศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ประเทศไทย th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 4
dc.year 2553
dc.journal วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ = Journal of Graduate School of Commerce Burapha Review
dc.page 59-73.


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account