DSpace Repository

การสมรสข้ามวัฒนธรรม : แนวทางการปรับตัวและผลกระทบต่อสังคมไทย

Show simple item record

dc.contributor.author เจนจิรา ผลดี
dc.contributor.author สมหมาย แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:16:03Z
dc.date.available 2019-03-25T09:16:03Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2546
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพวิถีชีวิตและสาเหตุของการตัดสินใจสมรส ข้ามวัฒนธรรมของคนไทย ผลกระทบที่มีต่อสถาบันครอบครัว สังคมและวัฒนธรรมไทย และแนวทางการปรับตัวของคนไทยที่สมรสข้ามวัฒนธรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้สมรสข้ามวัฒนธรรมที่เป็นคนไทย จำนวน 18 ราย คณะกรรมการของสหพันธ์ครอบครัวเพื่อความสามัคคีและสันติภาพโลก จำนวน 7 ราย และการสนทนากลุ่ม คู่สมรสที่สมัครใจ จำนวน 9 ราย วิเคราะห์ข้อมูลแบบตีความและสรุปข้อมูลสำคัญจากบทสนทนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สมรส มีความ ศรัทธาในความรักแท้ ดำรงชีพอย่างพอเพียง การใช้จ่ายถือหลักประหยัดมัธยัสถ์อดออม จดทะเบียนสมรส บุตร/ ธิดาถือสองสัญชาติ เลี้ยงดูบุตร/ ธิดาให้มีเหตุผล คาดหวังให้บุตร/ ธิดาพูดได้สองภาษา บิดาเป็นหลักในการอบรมจริยธรรมบุตร/ ธิดา ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ จีน ไทยสื่อสาร เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง บุตร/ ธิดาใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ มีวัฒนธรรมอยู่แบบเครือญาติให้เกียรติผู้อาวุโสพี่ดูแลน้อง สาเหตุของการตัดสินใจสมรสข้ามวัฒนธรรมของคนไทย ฝ่ายภายนอกต้องการมีครอบครัวอบอุ่นประสบผลสำเร็จ ไม่หย่าร้าง มีส่วนร่วมสร้างสันติภาพโลกตามอุดมคติหลักปรัชญา บิดา/ มารดาญาติอาวุโสไม่มีส่วนในการตัดสินใจ ฝ่ายจิตใจภายใน (ฝ่ายจิตวิญญาณ) เชื่อว่าเป็นเจตจำนงของพระเจ้าที่ต้องการให้สมรสเพื่อพัฒนาตนให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบ 2. ผลกระทบต่อสังคม เป็นครอบครัวที่มีคู่สมรสเพียงคนเดียวไม่หย่าร้างไม่เสพสิ่งเสพติดและอบายมุขยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม รับผิดชอบครอบครัว มีศูนย์กลางอยู่ที่ความรักแท้ ให้คุณค่าด้านจริยธรรม ส่งเสริมค่านิยมนับถือคุณค่าความดี เลี้ยงดูบุตร ธิดาให้รักนวลสงวนตัวไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีจิตอาสา อยู่เพื่อผู้อื่นสังคมและประเทศชาติ วัฒนธรรมการให้เกียรติผู้อาวุโสตามระบบเครือญาติ สามี/ภรรยามีสิทธิเท่าเทียมกัน 3. แนวทางการปรับตัว องค์กรมีโครงสร้างดูแล แต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มเป็นระบบตามเชื้อชาติ แผนกครอบครัวรับพรเป็นหน่วยงานกลางให้คำปรึกษา จัดอบรมสัมมนาอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดกรอบแนวคิดทบทวนความเข้าใจหลักปรัชญาฯ อยู่เสมอ ด้านตัวผู้สมรสเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยตนเอง ศึกษากฎหมายการสมรสกับชาวต่างชาติทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ใช้หลักปรัชญาเป็นแนวทางปรับตัวบนพื้นฐาน “ความเชื่อ” มีอุดมคติสูงสุด คือ“สร้างสันติภาพให้เกิดในโลก” ผ่านสถาบันครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่ม “ให้ทำความดี มีชีวิตหลังความตาย” สร้างแรงจูงใจให้ทำความดีเพื่อสร้างตัวตนที่ดีก่อนไปสู่โลกฝ่ายวิญญาณหลังความตายเพื่ออยู่ร่วมกับคู่ของตนตลอดนิรันดร์ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การปรับตัวทางสังคม th_TH
dc.subject การสมรสข้ามวัฒนธรรม th_TH
dc.subject ครอบครัว th_TH
dc.subject วัฒนธรรม th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title การสมรสข้ามวัฒนธรรม : แนวทางการปรับตัวและผลกระทบต่อสังคมไทย th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 7
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative This study had several purposes: to study life style status and decision making of cross cultural marriage of the Thais participated in the study. The impact upon family, society, culture and the adjustment guidelines were included in the study. A qualitative research was employed for the study. Data collection done by observations both participative and non-participative nature. An indept-interview gained from 18 Thais and 7 Committee members at the Family Union for Unity and World Peace. A group discussion was organized for 7 voluntary spouses. The analysis of data succeed by using interpretation and conclusion from significant findings in the study.The results found as follows: 1. The spouses have faith in true love, self sufficiency living, cost saving, having married license, the children hold 2 citizenship, using reasons to bring up and expecting them to become bilingualism. Fathers take the leading role on ethical matters. Communication comprises of English, Chinese and Thai. The spouses use self-study for learning English. The children use Thai language as their mother tongue. They live in extended family, respect seniority and caring for siblings. The reason for getting cross cultural marriage consisted of social and spiritual aspects. For social, they would like to have loving family, life success, no divorce, take part to create World Peace by following the idealist philosophy. Parents and cousins take no part in decision making. On the spiritual side, they believe that God blesses them to get married for self development to become the perfect human beings 2. The social impacts reflected by having single marriage, no divorce, no addictive substances and sin behaviors, accepting cultural difference, family responsibility done by showing true love, having ethical value and value promotion, raising the children to respect themselves by helping others, society and the country, respect seniority and caring for siblings, husband and wife have equal right. 3. Guidelines for adjustment, the organization has set up the taking care procedure by appointing the group leader for each nationality. The counseling unit runs by the family section. Meetings and seminars are set up continuously for better understanding of philosophy principles. The spouses use self-study to learn English ready for communication, study foreign married law, Individual difference, cultural difference. They use philosophy principle as a guideline to accept “belief” about “Create World Peace”. The happy family is a core for success. There is a specific group belief about “To behave for life after death”. Motivation to behave before going to the spiritual world and live forever with their spouses are emphasis. en
dc.journal วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม = Journal of education and social developmet.
dc.page 58-71.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account