DSpace Repository

การประเมินความรู้และความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของครูในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:14:41Z
dc.date.available 2019-03-25T09:14:41Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2280
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและประเด็นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการฝึกอบรมของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูสอนวิชาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจำนวน 94 คน ด้วยการใช้สมการถดถอย Logit แยกศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการฝึกอบรมจำนวน 4 สมการ ได้แก่ ความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และประมง ผลจากการประเมินความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยแบบทดสอบทั้ง 4 หมวด พบว่าครูส่วนใหญ่มีพื้นฐานความรู้ ระดับปานกลาง (ร้อยละ 38.89 ของคะแนนเต็ม) เพื่อพิจารณาแยกหมวด พบว่าครูมีพื้นฐานความรู้ ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำมากเป็นอันดับที่ 1 ครูมีความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการจัดการทรัพยากรน้ำ มากเป็นอันดับที่ 1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรดิน ประกอบด้วย อายุการสอนรายวิชา ว411 ประสบการณ์ฝึกอบรม จำนวนข้อที่ตอบไม่ทราบจากแบบทดสอบหมวดทรัพยากรดิน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย ระดับคะแนนจากแบบทดสอบหมวดทรัพยากรน้ำและอายุของครู ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ประกอบด้วย ประสบการณ์ฝึกอบรมและระดับคะแนนจากแบบทดสอบหมวดทรัพยากรป่าไม้ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรประมง ได้แก่ ประสบการณ์ฝึกอบรม ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า ในกรณีจัดฝึกอบรมด้านทรัพยากรที่มีปัญหาวิกฤติ เช่น ทรัพยากรน้ำ ควรเลือกครูที่มีอายุน้อยและมีพื้นฐานความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำมาก่อน แต่กรณีที่จัดฝึกอบรมด้านทรัพยากรที่มีปัญหาเร่งด่วนหรือระยะยาวควรเลือกครูที่เคยมีประสบการณ์ฝึกอบรมมาก่อน ซึ่งเกณฑ์เหล่านี้จะช่วยคัดเลือกครูที่มีความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างแท้จริง และทำให้การอบรมมีประสิทธิภาพ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ th_TH
dc.subject ครู - - การฝึกอบรม - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.title การประเมินความรู้และความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของครูในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 16
dc.year 2547
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were to assess teacher’s knowledge of natural resource management and to analyze factors affecting the training needs. The sample group consisted of 94 teachers teaching in resource and environmental subjects. The analytical instruments were 4 logit regression equations of training needs on soil, water, forest and fishery resources management. The results from knowledge assessment on natural resources management in the 4 resources revealed that most teachers had knowledge score at the medium level or accounted to 38.89% of the total scores. When considering each resource by ranking it was found that teachers had the highest knowledge on water resource management. The order of the training needs should begin with water resource. The factors affecting the training needs in soil resource were the number of years teaching in environmental sciences, the trained experiences, and the number of “I don’t know” answers from the soil management test. The factors affecting the training needs in water resource consisted of the score level from the water management test and teacher’s age. The factors affecting the training needs in forest resource were past training experience and score level from the forest resource test. And the factor affecting the training needs in fishery resource was only past training experience. The study results indicated that a training for critical natural resource problems such as water resource should emphasize on younger teachers who had the background knowledge in water resource management. However, in the case of arranging a training for urgent or long-term natural problems the target group should be teachers who had more experience in environmental training. These criteria could effectively help select teachers to participate in the natural resource training and could meet their needs in an efficient way. en
dc.journal วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of Education.
dc.page 81-94.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account