DSpace Repository

การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลนครแหลมฉบัง

Show simple item record

dc.contributor.author ธีระ กุลสวัสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:14:40Z
dc.date.available 2019-03-25T09:14:40Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2251
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความผูกพันขององค์กรของบุคลากรเทศบาลนครแหลมฉบัง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลนครแหลมฉบัง และ 3. เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลแหลมฉบังที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลนครแหลมฉบังจำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน การรับรู้บรรยากาศองค์กร และความผูกพันองค์กร เป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80 ผลการวิจัยได้ได้ว่า 1. ระดับความผูกพันต่อองค์กรด้านการยอมรับเป้าหมายขององค์กร อยู่ในระดับมาก ด้านความเต็มใจและใช้ความพยายามในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก และด้านความต้องการรักษาความเป็นสมาชิกองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลนครแหลมฉบัง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ค่าไค-สแควร์ ( x2 ) เท่ากับ 60.92 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 47 ค่า x2/df เท่ากับ 1.29 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ .083 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .975 ดัชนีวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .944 ดัชนีความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .997 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองเศษเหลืออยู่ในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .015 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .029 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 61 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลนครแหลมฉบังที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. บรรยากาศองค์มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันต่อองค์กร (DE=.39) 3. ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกพันต่อองค์กรผ่านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (IE=.36) th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การจูงใจในการทำงาน th_TH
dc.subject ความผูกพันต่อองค์การ th_TH
dc.subject ความพอใจในการทำงาน th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลนครแหลมฉบัง th_TH
dc.title.alternative The development of a causal model of organizational commitment of officers in Laemchabang city municipality en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 3
dc.volume 3
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative The purpose of this research aims 1. To study the organizational commitment of officers in Laemchabang City Municipality; 2. to study the factors which effect on the commitment of officers in Laemchabang City Municipality; and 3. to develop and validate the casual model with organizational commitment of officers in Laemchabang City Municipality. The group sampling consists of 340 officers in Laemchabang City Municipality. The research instrument is five-level-assessing questionnaires totally 60 questions divided into job satisfactions, job motivation factors, organizational climate and organizational commitment. Data were analyzed by descriptive statistics by using LISREL 8.80 to examine the causal relationship model. The result indicates that 1. The level of organizational commitment in an acceptance of organizational goals is high, the level of organizational commitment in a willingness and working effort is high, and level of maintaining membership status in the organization is medium; 2. The causal model organization commitment of officers in Laemchabang City Municipality is fitted to the empirical data with test of goodness of fit equally Chi-Square (x2 ) =60.92, degrees of freedom (df) =47, x2 /df = 1.29 probability (p-value) =.083, Goodness of Fit Index (GFI) =.975, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) =.944, Comparative Fit Index (CFI) =.997, Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) =.015,Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) =.029. All model variables indicated the organization commitment total 61 percents. The assumption test demonstrates that 1. A causal model of organizational commitment of officers in Laemchabang City Municipality is fitted to the empirical data 2. The organizational climate had a direct effected the organizational commitment (DE=.43) and job satisfaction had a direct effected the organizational commitment (DE=.39) 3. Job motivation had an indirect effect the organizational commitment via job satisfaction (IE=.36) en
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and law
dc.page 275-307.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account