DSpace Repository

ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น

Show simple item record

dc.contributor.author ปฏิญญา เอี่ยมสำอางค์
dc.contributor.author รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
dc.contributor.author พรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.available 2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2089
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ได้ตั้งใจของวัยรุ่นโดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดอิทธิพลสามองค์ประกอบ รูปแบบการศึกษาเป็น Case – control Study กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ตั้งครรภ์ภายใน 24 เดือน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 234 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษา (Case) คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไม่ได้ตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำ 117 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ (Control) คือ หญิงวัยรุ่นที่ตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำ 117 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และ Binary Logistic Regression ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95 % ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นตั้งครรภ์ที่แฟนหรือสามีไม่ต้องการบุตรมีการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจสูงเป็น 41 เท่าของวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่แฟนหรือสามีต้องการมีบุตร (OR = 41.02 , 95 % CI = 8.34 – 201.78) วัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มีประวัติการคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอมีการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจสูงเป็น 3.34 เท่า ของวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มีประวัติการคุมกำเนิดที่สม่ำเสมอ (OR = 3.34. , 95 % CI = 1.24 – 9.00) และวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มีเพื่อนรุ่นเดียวกันตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจสูงเป็น 2.24 เท่าของวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ไม่มีเพื่อนรุ่นเดียวกันตั้งครรภ์ (OR = 2.24., 95 % CI = 1.10 – 5.46) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรให้ความสนใจดูแลเป็นพิเศษในกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ในชุมชนที่แฟนหรือสามีไม่ต้องการมีบุตร ไม่คุม / คุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีเพื่อนตั้งครรภ์ เพราะปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกขณะตั้งครรภ์ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ครรภ์ในวัยรุ่น th_TH
dc.subject ครรภ์ไม่พึงประสงค์ th_TH
dc.subject วัยรุ่น th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น th_TH
dc.title.alternative Risk factors of unintended repeat pregnancy among adolescents en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 8
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to identify risk factors of unintended repeat pregnancies among adolescents. Theory of Triadic Influence: TTI was used as a theoretical framework. A case – control study was designed to address the purpose of the study. Participants consisted of 234 pregnant adolescents aged 19 years and younger who had repeated pregnancies within 24 months, in the east of Thailand. The subjects were divided into two groups: study group (case) consisted of 117 unintended repeated pregnant adolescents and the control group consisted of 117 intended repeated pregnant adolescents. The self – administered questionnaires were used as an instrument. Data were analyzed using descriptive statistics, and binary logistic regression analysis at 95% confident interval. The results of this study revealed that pregnant adolescents whose partners did not want babies were 41 times more likely to have unintended repeated pregnancies than those whose partners wanted babies (OR = 41.02 95% CI = 8.34-201.78). Those who inconsistently used contraception were 3 times more likely to have unintended repeat pregnancies than those consistently used (OR = 3.34. , 95 % CI = 1.24 – 9.00) and those who reported having friends becoming pregnant were 2 times more likely to have unintended repeat pregnancies than those who did not have (OR = 2.24., 95 % CI = 1.10 – 5.46) The findings suggested that nurse practitioners should pay attention to adolescents whose partners did not want babies, who inconsistently used contraception, and those who had their friends becoming pregnant. These factors are risk factors of unintended repeat pregnancy among adolescents, affecting infant development during pregnancy en
dc.journal วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา = The Public Health Journal of Burapha University
dc.page 55-67.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account