DSpace Repository

การวัดความหนาของฟิล์มบางโลหะจากการสปัตเตอร์ด้วย เทคนิคเอกซ์เรยสเปคโตรสโคปแบบกระจายพลังงาน

Show simple item record

dc.contributor.author นิรันดร์ วิทิตอนันต์ th
dc.contributor.author สุรสิงห์ ไชยคุณ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:10:38Z
dc.date.available 2019-03-25T09:10:38Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2029
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการวัดความหนาของฟิล์มบางที่มีความหนาระดับนาโนเมตร ด้วยเทคนิคเอกซ์เรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน (EDS) ซึ่งติดตั้งต่อพ่วงอยู่กับกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ฟิล์มบางโลหะที่ใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษาคือฟิล์มบางโครเมียม (Cr) ที่เคลือบบนกระจกสไลด์และแผ่นซิลิกอนด้วยวิธีสปัตเตอริง โดยโครงสร้างผลึก ความหยาบผิว ความหนาโครงสร้างจุลภาค และ องค์ประกอบทางเคมีของฟิล์มบางที่เตรียมได้ถูกศึกษาด้วยเทคนิคต่าง ๆ ได้แก่ GA-XRD, AFM, FE-SEM และ EDS ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าฟิล์มที่เคลือบได้มีสีเทาเข้มมันวาวผิวเนียนเรียบ สะท้อนแสงดี ความหนาของฟิล์มที่ใช้ในงานวิจัยนี้มีค่าอยู่ในช่วง 50.5 - 284.5 nm โดยความเข้มของรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะของ Cr L จากชั้นฟิล์มกับความหนาของฟิล์ม สัมพันธ์กันตามสมการ I I (1- e ) - dd s เมื่อ Id เป็นความเข้มของรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะจากชั้นฟิล์มที่มีความหนาเท่ากับ d และ Is เป็นความเข้มอิ่มตัวของรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะส่วน เป็นค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงเส้น ส่วนความเข้มของรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะของ Si K จากวัสดุรองรับกับความหนาฟิล์ม สัมพันธ์กันตามสมการ - dd sI I e เมื่อ Id เป็นความเข้มของรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะจากชั้นฟิล์มที่มีความหนา เท่ากับ d และ Is เป็นความเข้มรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะของวัสดุรองรับที่ยังไม่มีชั้นของฟิล์มบางเคลือบทับ ส่วน เป็นค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงเส้น ความหนาของฟิล์มบางจากเทคนิคเอกซ์เรย์สเปคโตรสโคปี แบบกระจายพลังงานในงานวิจัยนี้มีความถูกต้องถึง 95% เมื่อเทียบกับความหนาของฟิล์มบางที่ได้จากเทคนิค FE-SEM th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ฟิล์มบางโลหะ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ th_TH
dc.subject เทคนิคเอกซ์เรยสเปคโตรสโคป th_TH
dc.title การวัดความหนาของฟิล์มบางโลหะจากการสปัตเตอร์ด้วย เทคนิคเอกซ์เรยสเปคโตรสโคปแบบกระจายพลังงาน th_TH
dc.title.alternative Thickness Measurement of Metal Sputtered Thin Film by Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy Technique en
dc.type งานวิจัย
dc.author.email surasing@buu.ac.th
dc.author.email nirun@buu.ac.th
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative The objective of this research work is to study the thickness measurement of the thin films with the nanometer range in thickness by energy dispersive X-ray spectroscopy technique (EDS), which equips in the scanning electron microscope (SEM). The metal thin films of chromium (Cr) were deposited on glass slides and silicon substrates by sputtering method. The Crystal structure, roughness, thickness, microstructure and chemical composition of the as-deposited thin films were characterized by various techniques, such as GA-XRD, AFM, FE-SEM, and EDS technique, respectively. The results showed that the as-deposited chromium films exhibit bright color of dark gray, smooth surface and highly reflectance. The thickness of the films in this study is in the range of 50.5 - 284.5 nm. The intensity of the characteristic X-ray of Cr L from films are related to film thickness obeyed the equation as I I (1- e ) - dd s , where Id is the intensity of the characteristic X-ray from the film thickness d, Is is the saturation intensity of the characteristic X-ray and is the linear attenuation coefficient. The intensity of the characteristic X-ray of Si K from sub stratesare related to film thickness obeyed the equation as - d d sI I e , where Id is the intensity of the characteristic X-ray from the film thickness d, Is is the intensity of the characteristic X-ray from bare Si substrate and is the linear attenuation coefficient. The thickness of the thin films from the mathematical models in this research work is agreement with the thickness from FE-SEM technique of 95% en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account