DSpace Repository

การผลิตเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ACE (Angiotensin-I Converting Enzyme) จากโปรตีนปลานิล ด้วยปฏิกรณ์เมมเบรนเอนไซม์

Show simple item record

dc.contributor.author นรินทร์ เจริญพันธ์
dc.contributor.author วิยดา กวานเหียน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:10:01Z
dc.date.available 2019-03-25T09:10:01Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1975
dc.description.abstract ระบบปฏิกรณ์เมมเบรนเอนไซม์หมุนเวียนแบบต่อเนื่อง (continuous enzymatic membrane reactor, CEMR) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับกระบวนการผลิตเพปไทด์ ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบปฏิกรณ์เมมเบรนเอนไซม์แบบกะ ในการศึกษาครั้งนี้ระบบ CEMR ถูกนำมาใช้ในการผลิตเพปไทด์จากเนื้อปลานิลที่มีกิจกรรมในการยับยั้งเอนไซม์ ACE ใช้เมมเบรนขนาด 1 กิโลดาลตัน เป็นตัวกรองสารละลายโปรตีนที่ผ่านการย่อยในถังปฏิกรณ์ ภายใต้สภาวะควบคุมที่ความดันขับ 1.3 บาร์ ความเร็วตามขวาง 1.5 เมตรต่อวินาที อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และความเป็นกรดด่าง 8 โดยศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการเติมสารตั้งต้นในถังปฏิกรณ์ ความเข้มข้นที่เหมาะสมของเอนไซม์ และผลของการไหลแบบ 2 สถานะ (two-phase flow) ของก๊าซของเหลว (gas-liquid) หรือ gas-liquid two-phase flow ต่อการแยกเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ ACE จากเนื้อปลานิลด้วยระบบ CEMR พบว่า รูปแบบ A คือการเติมสารตั้งต้นอย่าง ต่อเนื่องเข้าไปในระบบให้เท่ากับการไหลออกของเพอมิเอท เหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้ค่าฟลักซ์ของเพอมิเอท และค่ากิจกรรมในการยับยั้งเอนไซม์ ACE สูง ความเข้มข้นของเอนไซม์ที่ 15 ยูนิตต่อกรัมโปรตีน ให้ค่ากิจกรรมในการยับยั้งเอนไซม์ ACE ค่าคอนเวอร์ชัน และค่าผลิตภาพของเพปไทด์สูง นอกจากนี้การใช้ gas-liquid two-phase flow ด้วยค่า gas injection factor เท่ากับ 0.35 ให้ค่าฟลักซ์ของเพอมิเอท ค่ากิจกรรมในการยับยั้งเอนไซม์ ACE ที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับที่ระบบที่ไม่เติมก๊าซ ดังนั้นสภาวะที่เหมาะสมของระบบ CEMR คือการเติมสารตั้งต้นอย่างต่อเนื่องเข้าไปในระบบให้เท่ากับการไหลออกของเพอมิเอท ด้วยค่า gas injection factor เท่ากับ 0.35 ความดันขับ 1.3 บาร์ ความเร็วตามขวาง 1.5 เมตรต่อวินาที ความเข้มข้นของเอนไซม์ 15 ยูนิตต่อกรัมโปรตีน ที่เวลาในการดำเนินการ 720 นาที ให้ค่าคอนเวอร์ชัน และผลิตภาพของกิจกรรมในการยับยั้งเอนไซม์ ACE เท่ากับร้อยละ 400 และ 3.40 มิลลิกรัมของเพปไทด์ที่มีกิจกรรมในการยับยั้งเอนไซม์ ACE ต่อยูนิตของเอนไซม์ การติดตามการย่อยของเพปไทด์ที่ผลิตได้ในระบบจำลองทางเดินอาหาร โดยเปรียบเทียบตัวอย่างเพปไทด์ที่ไม่ผ่านการกรอง เพปไทด์ในรีเทนเทท และเพปไทด์ในเพอมิเอท พบว่า เพปไทด์ในเพอมิเอทให้ค่ากิจกรรมในการยับยั้งเอนไซม์ ACE สูงที่สุดหลังจากผ่านการย่อยด้วยเอนไซม์เพปซิน และแพนครีเอติน ดังนั้นการใช้ระบบ CEMR เป็นระบบหนึ่งที่สามารถผลิตเพปไทด์ที่มีกิจกรรมในการยับยั้งเอนไซม์ ACE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว th_TH
dc.subject ปฏิกรณ์เมมเบรน th_TH
dc.subject ปลานิล th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.subject เฟปไทด์ th_TH
dc.title การผลิตเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ACE (Angiotensin-I Converting Enzyme) จากโปรตีนปลานิล ด้วยปฏิกรณ์เมมเบรนเอนไซม์ th_TH
dc.title.alternative Production of angiotensin-I converting enzyme (ACE) inhibitory peptides from tilapia protein using enzymatic membrane reactor th_TH
dc.type Research
dc.author.email kwiyada@wu.ac.th
dc.author.email narinch@buu.ac.th
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative The continuous enzymatic membrane reactor (CEMR) is the system of alternative for hydrolysis process involving proteins which has higher productivities and more uniform products than batch-type reactors. In this study, the CEMR was employed to produce ACE inhibitory peptides from tilapia protein. A hollow fiber membrane (MWCO 1 kDa) was equipped with stirred reactor tank. The enzymatic hydrolysis and separation of peptides conditions were performed at constant transmembrane pressure (1.3 bar), cross flow velocity (1.5 m s-1), temperature (50°C) and pH (8). The investigations of the effect of substrate feeding pattern, enzyme concentration, and gas-liquid two-phase flow on performance of CEMR were studied. It was found that the substrate feeding pattern A which was the most suitable for producing of ACE inhibitory peptides because it gave constant flux and high ACE inhibitory activity. The enzyme concentration at 15 unit g-1protein gave high ACE inhibitory activity conversion and productivity. Addition of gas sparging into the membrane module led to increase permeate flux compared with that without gas sparging. In addition, gas injection factor up to 0.35 gave the best improvement of permeate flux, and ACE inhibitory activity of permeate was increased. Operating using substrate feeding pattern A, at ε = 0.35, TMP = 1.3 bar, CFV = 1.5 m s-1, and enzyme concentration = 15 unit g-1protein at 720 min of operation, ACE inhibitory activity conversion and productivity were 400 % and 3.40 mg ACE inhibitory peptides unit-1 of enzyme. Simulated gastrointestinal digestion on the ACE inhibitory activity of peptides in pre-hydrolysis, retentate and permeate were investigated. The results showed that peptides in permeate gave the highest ACE inhibitory activity when digested with pepsin and pancreatin. This result indicates that CBEMR was successfully employed to produce ACE inhibitory peptides en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account