DSpace Repository

การพัฒนาส่วนสกัดน้ำจากเหง้าเร่วหอมเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ

Show simple item record

dc.contributor.author กล่าวขวัญ ศรีสุข
dc.contributor.author เอกรัฐ ศรีสุข
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:56Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:56Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1906
dc.description.abstract โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVDs) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด กระบวนการเกิดพยาธิสภาพของโรค CVDs เกี่ยวข้องกับ endothelial dysfunction ที่เป็นผลให้มีชีวปริมาณของไนตริกออกไซด์น้อยลง ในปัจจุบันพบว่าส่วนสกัดจากพืชหลายชนิดสามารถป้องกันและรักษาโรค CVDs ได้โดยการกระตุ้นเอนไซม์เอนโดทีเลียลไนตริกออกไซด์ซินเทส (eNOS) มีการรายงานก่อนหน้านี้พบว่าส่วนสกัดจากเหง้าเร่วหอมสามารถเพิ่มปริมาณไนไตรท์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ดังนั้นเราจึงตั้งสมมติฐานว่าส่วนสกัดจากเหง้าเร่วหอมอาจจะมีผลต่อการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดของมนุษย์ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ ตรวจสอบผลของส่วนสกัดจากเหง้าเร่วหอมต่อการผลิต ไนตริกออกไซด์ที่เกิดจากเอนไซม์ eNOS และยังทำการตรวจสอบกลไกในการกระตุ้นการผลิตไนตริกออกไซด์ด้วย ในการศึกษาทำการเตรียมส่วนสกัดเอทานอลของเหง้าเร่วหอม (EPE) และส่วนสกัดน้ำที่ใช้อัตราส่วนของเร่วหอมและน้ำเท่ากับ 1:10, 1:20 และ 1:30 ตามลำดับ (EPW1 EPW2 และ EPW3) ทำการประเมินความเป็นพิษของส่วนสกัดและผลต่อการผลิตไนตริกออกไซด์โดยวิธี MTT และปฏิกิริยา Griess ตามลำดับ ส่วนสกัดน้ำทั้งหมดไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ แต่ส่วนสกัด EPE ที่ความเข้มข้น 100 และ 200μg/ml ลดจำนวนเซลล์มีชีวิตลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณไนไตรท์ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่สัมผัสกับส่วนสกัดทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้นของส่วนสกัด ส่วนสกัดน้ำของเร่วหอมไม่สามารถกระตุ้นการแสดงออกของเอนไซม์ eNOS แต่ส่วนสกัดเอทานอล EPE สามารถเพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ eNOS ทั้งในระดับโปรตีน และ mRNA ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ยิ่งกว่านั้นส่วนสกัด EPE เหนี่ยวนำการฟอสโฟรีเลชันของเอนไซม์ eNOS และ Akt ที่น่าสนใจคือส่วนสกัด EPE สามารถยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน vascular cell adhesion molecule-1 และ intercellular adhesion molecule-1 ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย TNF- ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าส่วนสกัด EPE อาจป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งโดยปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด โดยการกระตุ้นการผลิตไนตริกออกไซด์และการแสดงออกของเอนไซม์ eNOS ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมนุษย์ และโดยการยับยั้งการเกิดการอักเสบของหลอดเลือด ดังนั้นส่วนสกัดของเร่วหอมนี้อาจถูกนำไปพัฒนาเป็นอาหารเสริมเพื่อใช้รักษา และป้องกันโรค CVDs th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การอักเสบของหลอดเลือด th_TH
dc.subject ภาวะหลอดเลือดแข็ง th_TH
dc.subject โรคหลอดเลือดและหัวใจ th_TH
dc.subject เร่วหอม th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนาส่วนสกัดน้ำจากเหง้าเร่วหอมเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ th_TH
dc.title.alternative Development of etlingera pavieana water extract as health care products en
dc.type Research
dc.author.email klaokwan@buu.ac.th
dc.author.email ekaruth@buu.ac.th
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative Cardiovascular diseases (CVDs) are group of disorders of the heart and blood vessels. A variety of pathological processes of CVDs are associated with endothelial dysfunction involving a reduced nitric oxide (NO) bioavailability. Currently, many plant extracts have been shown their prevention and treatment of CVDs via activation of endothelial nitric oxide synthase (eNOS). The extract from Etlingera pavieana rhizomes was previously reported to increase nitrite levels in the RAW 264.7 macrophages, thus, we hypothesize that the extract of E. pavieana rhizomes is able to affect NO production of human endothelial cells. The aim of this study was to investigate the effect of extracts from E. pavieana rhizomes on production of eNOS-derived NO in human endothelial cells. The mechanism underlying their effects was also studied. In this study, we prepared extracts of E. pavieana rhizomes, including ethanol extract (EPE) and water extracts at a ratio of plant material and water at 1:10, 1:20 and 1:30, respectively (EPW1 EPW2 and EPW3, respectively). All extracts were determined their effect on cytotoxicity and NO production in EA.hy926 human endothelial cells by MTT and Griess reaction assay, respectively. All the water extracts of E. pavieana extracts did not show cytotoxicity on EA.hy926 cells but EPE at concentrations of 100 and 200μg/ml reduced significantly cell viability. The nitrite levels of media from endothelial cells treated with all extracts increased in a concentration-dependent manner. The water extract of E. pavieana did not up-regulate eNOS expression whereas EPE slightly but significantly increased the expression of eNOS mRNA and protein in endothelial cells. Moreover, EPE induced the phosphorylation of eNOS and Akt. Interestingly, EPE inhibited the expression of vascular cell adhesion molecule-1 (VCAM-1) and intercellular adhesion molecule-1 (ICAM-1) in TNF--induced endothelial cells. The obtained data indicated that EPE may protect atherosclerosis formation by improving endothelial dysfunction via stimulating NO production and eNOS expression in human endothelial cells as well as inhibiting vascular inflammation. Thus, the extracts from E. pavieana might be developed as food supplement for the treatment and prevention of CVDs en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account