DSpace Repository

ความต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กและผงหินปูน

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:53Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:53Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1865
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่ง และกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบด เถ้าลอย และผงหินปูน โดยแบ่งเป็นคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสองชนิดและคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสามชนิด โดยคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสองชนิด ได้แก่ คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสาน ร้อยละ 30 40 50 และ 70 คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 30 และ 50 ส่วนคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสามชนิด ได้แก่ คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 30 และ 50 ร่วมกับผงหินปูนแทนที่ร้อยละ 5 10 และ 15 และคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 30 และ 50 ร่วมกับผงหินปูนแทนที่ร้อยละ 5 และ 10 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 และ 0.50 ทำการทดสอบการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งของคอนกรีตที่อายุ 28 และ 56 วัน และทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า สำหรับคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสองชนิด ที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบทดแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 70 มีการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งต่ำสุด แต่ที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50 คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 50 มีการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาคอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานและคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสาน ที่การแทนที่วัสดุประสานเท่ากัน พบว่า คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานมีการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งต่ำกว่า สำหรับคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสามชนิด พบว่า คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 50 ร่วมกับผงหินปูนแทนที่ร้อยละ 5-15 มีการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งต่ำที่สุด ทั้งที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 และ 0.50 สุดท้ายเมื่อพิจารณาระหว่างการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งและกำลังอัด พบว่า ทั้งคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสองชนิดและสามชนิดมีกำลังอัดสูงและมีการแทรกซึมคลอไรด์ต่ำกว่าคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วน คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 50 มีกำลังอัดสูง แต่มีการแทรกซึมคลอไรด์ต่ำ ส่วนคอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประานร้อยละ 50 ร่วมกับผงหินปูนแทนที่ร้อยละ 5 และ 15 มีการแทรกซึมคลอไรด์ต่ำแต่ก็มีกำลังอัดต่ำด้วย th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2557 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คลอไรด์ th_TH
dc.subject ผงหินปูน th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title ความต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กและผงหินปูน th_TH
dc.title.alternative Chloride resistance of concrete containing ground-granulated blast furnace slag and limestone power en
dc.type Research
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative This research aims to study the rapid chloride penetration and compressive strength of concrete containing ground granulated blast-furnace slag, fly ash and limestone powder. There were two types of binder in concrete which were binary binder concrete and ternary binder concrete. Binary binder concrete were concrete with ground granulated blast-furnace slag replacement at 30%, 40%, 50%, and 70% of binder and concrete with fly ash replacement at 30% and 50% of binder. For ternary binder concrete, there were concrete with ground granulated blast-furnace slag replacement at 30% and 50% of binder and limestone powder replacement at 5%, 10% and 15% of binder and concreter with fly ash replacement at 30% and 50% of binder and limestone powder replacement at 5% and 10% of binder. The water to binder ratio of 0.40 and 0.50 was used. The rapid chloride penetration tests (RCPT) were performed at 28 and 56 days. The compressive strength tests were done at 28 days From the experimental results of binary binder concrete, it was found that concrete with ground granulated blast-furnace slag replacement at 70% of binder had the lowest rapid chloride penetration for binary binder concrete at water to binder ratio of 0.40. But, at were to binder ratio of 0.50, concrete with fly ash replacement at 50% of binder had the lowest rapid chloride penetration. When the same replacement of ground granulated blast-furance slag and fly ash in concrete was compared, it showed that concrete with fly ash replacement had lower rapid chloride penetartion than concrete with ground granulated blast-furnace slag replacement. For ternary binder concrete, it was found that concrete with ground granulated blast-furnace slag replacement at 50% of binder and limestone power replacement at 5%-15% of binder had the lowest rapid chloride penetration for both water to binder ratio of 0.40 and 0.50. Finally, when the relationship between the rapid chloride penetration and compressive strength of concrete was considered, both binary binder concrete and ternary binder concrete had higher compressive strength and lower chloride penetration than plain cement concrete. Concrete with ground granulated blast-furnce slag replacement at 50% of binder had high comperssive strength and less rapid chloride penetration. Concrete with ground granulated blast-furnace slag replacement at 50% of binder and limestone powed replacement at 5% and 15% of binder had less rapid chloride penetration, but low compressive strength en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account