DSpace Repository

การพัฒนาศักยภาพพืชสมุนไพรไทยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งสู่มาตรฐานสากล

Show simple item record

dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.author อรสา สุริยาพันธ์
dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:52Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:52Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1843
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพพืชสมุนไพรไทยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งสู่มาตรฐานสากลในปีที่ 3 ได้ทำการศึกษา 3 ขั้นตอน ได้ทำการศึกษาถึงขั้นตอนที่ 1 คือ การทดสอบความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดสมุนไพรผสมในการควบคุมแบคทีเรียก่อโรค พบว่าสารสกัดผสมระหว่างพริกชี้ฟ้าและตะไคร้ ความเข้มข้น 160 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ที่เติมในหมึกแปรรูปสามารถควบคุมปรมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดให้คงที่ตลอดเวลาการศึกษา และมีฤทธิ์ฆ่า MRSA T18 และ E. tarda biofroup 1 DS002 ที่เติมลงในหมึกแปรรูปได้ ขั้นตอนที่ 2 คือ การประเมินเบื้องต้นถึงความเหมาะสมของการเติมสารสกัดสมุนไพรผสมที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตอาหารทะเลแห้งและแปรรูป จากการศึกษาพบว่ามีการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในทุกขั้นตอนของการผลิตหมึกแปรรูป แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า การตากแดดครั้งสุดท้ายสามารถกำจัดแบคทีเรียปนเปื้อนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกระบวนการที่เหมาะสมในการเติมสารสกัดผสมสมุนไพรจึงควรทำภายหลังจากที่มีการตากแดดครั้งสุดท้ายก่อนการจัดส่งจำหน่าย และขั้นตอนสุดท้ายในการศึกษาครั้งนี้จึงทำการศึกษาถึงผลของการเติมสารสกัดผสมในขั้นตอนภายหลังจากที่มีการตากแดดครั้งสุดท้ายในกระบวนการผลิตหมึกแปรรูปก่อนจะนำไปจำหน่ายต่อปริมาณและชนิดของแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดเป้นระยะเวลา 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดผสม 160 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในหมึกแปรรูปได้ดีที่สุดตลอดระยะเวลาการศึกษา 21 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 ชุดการศึกษา ส่วนในวันที่ 28 ของการศึกษาพบการปนเปื้อนด้วยเชื้อราในทุกชุดการทดลอง ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดผสมระหว่างพริกชี้ฟ้ากับตะไคร้ความเข้มข้น 160 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรมีประสิทธิภาพในการควบคุมแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในหมึกแปรรูปภายใน 21 วัน ของการจำลองการจำหน่ายหมึกแปรรูปโดยการเปิดปากถุงตลอด 21 วัน และควรเติมหลังจากขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตแปรรูป th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject พืชสมุนไทยไพร th_TH
dc.subject อาหารทะเลแห้ง th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การพัฒนาศักยภาพพืชสมุนไพรไทยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งสู่มาตรฐานสากล th_TH
dc.title.alternative Development of Thai medicinal plants for improvement of dried seafood products into international standard en
dc.type Research
dc.author.email subunti@buu.ac.th
dc.author.email verapong@buu.ac.th
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The research project entitled "Development of Thai medicinal plants for improvement of dried seafood products into international standard" in the third year was investigated and divided into 3 processes. In the first step, the appropriate concentrations of mixed medicinal extracts for controlling pathogenic bacteria was determined. Results showed that the mixture of cayenne pepper (Capsicum annuum L.) and lemon grass (Cymbopogon citrates) at a concentration of 160 mg/ml supplemented in processes squid was able to constantly control the number of total heterotrophic bacteria throughout the experiment and eliminated MRSA T18 and E. tarda biogroup 1 DS002 applied in processes squid. The second step related with evaluation of the appropriate step for application of mixed medicinal extracts in dried seafood products processes. Results demonstrated that there was a contamination of total heterotrophic bacteria in every steps of dried seafood products processing. However, sun drying in the last step of dried seafood products processing was able to effectively remove contaminated bacteria. Therefore, the best step for applying the mixture of medicinal herbs on the processing of dried seafood products should be performed at the last sun drying step prior to distribution of the products. The last step of the study was to assay the effect of application of mixed medicinal herbs after sun drying of the products on the numbers and types of total heterotrophic bacteria for 28 days of the experiment prior to distribution of the product for sale. Results showed that the mixed extracts at 160 mg/ml was effectively capable for controlling total heterotrophic bacteria in the processes squid compared to the other three treatments during 21 days of the experiment. However, there was a fungi contamination in all treatments during the study. The obtained results concluded that the mixture extracts of cayenne pepper and lemon grass at 160 mg/ml showed the best combination for controlling the contaminated bacteria in processes squid drying a 21-day of simulation selling the product by opening the plastic bag and this should be applied in the last step before the sale. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account