DSpace Repository

การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์

Show simple item record

dc.contributor.author เสาวภา สวัสดิ์พีระ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:34Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:34Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1686
dc.description.abstract แผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ เป็นแผนงานวิจัยที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ แผนงานวิจัยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับประมงและการเพาะเลี้ยงชายฝั่งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนำไปสู่การแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง มีวัตถุประสงค์หลักของแผนงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนสำหรับการผลิต เชิงพาณิชย์ มีระยะเวลาการวิจัย 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2558 ปีที่รายงานเป็นปีที่สองของแผนงานวิจัย แผนงานวิจัยประกอบไปด้วย โครงการวิจัย 8 โครงการ ภายใต้ 4 แผนงานวิจัยย่อย สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ประกอบไปด้วย 4 แผนงานวิจัยย่อย 7 โครงการวิจัย ได้รับงบประมาณรวมทั้งสิ้น 4,270,000.00 บาท (สี่ล้านสองแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน) ผลการดำเนินงานพบว่า บรรลุ เป้าหมายของแผนงานวิจัย 7 ตัวชี้วัด จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 7 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่หนึ่งและสองได้ข้อมูลผลงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์การเจริญพันธุ์ของปลาแมนดารินที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น และสามารถนำไปใช้สนับสนุนในการจัดการ การทำฟาร์มเพาะเลี้ยง ในด้านการจัดการพ่อ-แม่พันธุ์ เป็นผลสำเร็จเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดารินของแผนงานวิจัยต่อไป รวมทั้งได้องค์ความรู้พื้นฐานทางด้านพันธุศาสตร์เซลล์ของปลาแมนดาริน เพื่อใช้ในการวางแผนสำหรับการอนุรักษ์ การ ปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นปลาเศรษฐกิจและเพิ่มผลผลิตเพื่อคืนสู่ธรรมชาติตัวชี้วัดที่สาม ได้ระบบเลี้ยงปลาแมนดาริน ในเรื่องของสภาพแวดล้อมต่างๆ ชนิดของ อาหารและปริมาณอาหารธรรมชาติที่เหมาะสม สัดส่วนของพื้นที่ที่ผลิตอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในตู้เลี้ยงกับพื้นที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดาริน ระบบกรองชีวภาพ ระบบการเก็บตัวอ่อนลูกปลา หลังจากนั้นจะมีการสร้างระบบเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในขนาดต่างๆ แล้วทำการทดสอบระบบเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมา และได้สัดส่วนความหนาแน่นของลูกปลาแมนดารินที่เหมาะสม ต่ออัตรารอด การ เจริญเติบโต ในการอนุบาลปลาแมนดารินตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะที่มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) ตัวชี้วัดที่สี่,ห้าและหกได้ข้อมูลการอนุบาลลูกปลาที่ความหนาแน่นของปลาและอาหารที่ เหมาะสม และระยะเวลาของการเปลี่ยนอาหารที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นเทคนิคในการอนุบาลลูกปลาให้มีอัตราการรอดสูง รวมทั้งการเสริมอาหารที่จำเป็นสำหรับอาหารมีชีวิตวัยอ่อน ซึ่งจะส่งผลทำให้ลูกปลามีความแข็งแรง อัตราการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็ว ทำให้มีการสะสมสารสีในลูกปลา ทำให้ปลามีสีสันสวยงามเป็นการเพิ่มคุณภาพและราคาของปลาอีกด้วย ตัวชี้วัดที่เจ็ด ได้ข้อมูลการตลาดที่สมบูรณ์พร้อมนำมาใช้ในการประเมินในการทำฟาร์มต่อไปผลการวิจัยได้ข้อมูลการตลาดจากการสำรวจสมบูรณ์แล้ว สามารถแสดงให้เห็นถึงชนิด ปริมาณและมูลค่าของปลาแมนดารินในตลาดของสัตว์ทะเลสวยงามภายในประเทศ และโรคที่พบในปลาแมนดาริน เพื่อเป็นแนวทางในการรักษา การกักโรคและการป้องกันโรค ผลสำเร็จของงานวิจัยระยะนี้เป็นผลสำเร็จเป้าประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้ th_TH
dc.description.sponsorship แผนงานวิจัยปีงบประมาณ 2556-2558 รายงานผลการดำเนินงาน ปีที่ 2 ปีงบประมาณ 2557 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปลา - -การเลี้ยง th_TH
dc.subject ปลาแมนดาริน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ th_TH
dc.title.alternative Development of aquaculture technology of mandarinfish, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) for conservation and commercial production en
dc.type Research
dc.year 2558


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account