DSpace Repository

การสะสมปริมาณสารสีในลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เมื่ออนุบาลด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิด.

Show simple item record

dc.contributor.author อมรรัตน์ กนกรุ่ง th
dc.contributor.author รวิวรรณ วัฒนดิลก th
dc.contributor.author ศิริวรรณ ชูศรี th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:33Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:33Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1677
dc.description.abstract จากการศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่ายขนาดเล็ก Tetraselmis gracilis, Isochrysis galbana, Nannochloropsis oculata และ Dunaliella salina ที่เลี้ยงด้วยอาหารเหลวที่มีปริมาณของธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีปริมาณแตกต่างกัน 6 ระดับ จากผลการศึกษา พบว่าสาหร่ายขนาดเล็ก T. gracilis มีการเจริญเติบโตดีที่สุดเมื่อทำการเลี้ยงด้วยอาหารเหลวสูตร ที่ 3 (1.760 mmol N, 0.041 mmol P, 126.97 X 104 เซลล์ต่อมิลลิลิตร) สาหร่ายขนาดเล็ก I. galbana พบว่ามีปริมาณความหนาแน่นเซลล์สูงสุด เมื่อทำการเลี้ยงด้วยอาหารเหลวสูตร 5 (1.760 mmol N, 0.082 mmol P, 744.83 X 104 เซลล์ต่อมิลลิตร) สาหร่ายขนาดเล็ก N. oculata พบว่าสาหร่ายขนาดเล็กชนิดนี้มีการเจริญเติบโตทางด้านความหนาแน่นของเซลล์สูงสุด เมื่อทำการเลี้ยงด้วยอาหารเหลวสูตรที่ 5 (1714.37 X 104 เซลล์ต่อมิลลิตร) และสาหร่ายขนาดเล็ก D. salina พบว่ามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีปริมาณความหนาแน่นของเซลล์สูงสุด เมื่อเลี้ยงในอาหารเหลวสูตรที่ 3 (1.760 mmol N, 0.041 mmol P, 252.76 X 104 เซลล์ต่อมิลลิตร) ในการศึกษาการสะสมสารสีในแพลงก์ตอนสัตว์อาร์ทีเมีย (Artemia salina) ที่ทำการเพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก 3 ชนิด (T. gracilis, N. oculata และ D. salina) พบว่า มีการสะสมสารสีแคโรทีนอยด์ 4 ชนิด คือ มีสารสีแคโรทีนอยด์ canthaxanthin, batacarotene, zeaxanthin และ echinenone สารสีที่เด่นและพบในปริมาณสูงกว่าสารสีชนิดอื่น ในอาร์ทีเมียที่เพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่ายทั้ง 3 ชนิด คือ canthaxanthin แต่ไม่พบการสะสมสารสีแคโรทีนอยด์ในอาร์ทีเมียที่เพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่าย I. galbana ในส่วนของการศึกษาการสะสมสารสีแคโรทีนอยด์ในลูกปลาแมนดารินที่ทำการให้อาหารด้วยอาร์ทีเมีย (A. salina) ซึ่งมีการเพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก 4 ชนิด พบว่ามีการสะสมสารสี Betacarotene สูงในปลาแมนดารินที่เลี้ยงด้วยอาร์ทีเมียที่ทำการเพิ่มคุณค่าทาง อาหารด้วยสาหร่าย T. gracilis สารสีแคโรทีนอยด์ Echinenone พบการสะสมในปริมาณสูงในปลาแมนดารินที่เลี้ยงด้วยอาร์ทีเมียซึ่งทำการเพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่าย D. salina และสารสีแคโรทีนอยด์ canthaxanthin พบว่ามีการสะสมสูงในปลาที่เลี้ยงด้วยอาร์ทีเมียซึ่งทำการเพิ่มคุณค่า ทางอาหารด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก I. galbana และสาหร่ายขนาดเล็ก T. gracilis th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2557 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ลูกปลา - - การอนุบาล th_TH
dc.subject ลูกปลาแมนดาริน th_TH
dc.subject แพลงก์ตอนพืช th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การสะสมปริมาณสารสีในลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เมื่ออนุบาลด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิด. th_TH
dc.title.alternative Pigment accumulation in mandarinfish larvae, Synchiropus splendidus (Herre,1927) feed with zooplankton culture in different algae species. en
dc.type Research
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The study on the growth of four species microalgae (Tetraselmis gracilis, Isochrysis galbana, Nannochloropsis oculata and Dunaliella salina) cultured in Guillard “f/2” medium with 6 different levels of nitrogen and phosphorus. The result showed that the best condition for culture of T. gracilis was the third formula. (1.760 mmol N, 0.041 mmol P, 126.97 X 104 cells / ml). The I. galbana showed the highest density of cells when were cultured in the medium of formula 5 (1.760 mmol N, 0.082 mmol P, 744.83 X 104 cells/ ml) while the N. oculata showed the best growth when cultured in the medium of formula 5 (1714.37 X 104 cells/ml). And the microalgae of D. salina had rapidly grown in culture medium of formula 3 medium (1.760 mmol N, 0.041 mmol P, 252.76 X 104 cells/ ml). The study on pigment accumulation in Artemia (Artemia salina) which were increased nutritive value with 3 types of microalgae (T. gracilis, N. oculata and D. salina) found that Artemia contained canthaxanthin as the dominant pigments whereas the recessive pigments were batacarotene, zeaxanthin and echinenone, respectively. But it was found that there is no pigment accumulation in the Artemia which were increased nutritive value with I. galbana. The study on pigment accumulation in mandarinfish larvae which fed with Artemia (A. salina) that was increased nutritive value with 4 different types of microalgae. The results showed that the betacarotene were the highest accumulation in mandarinfish larvae which fed with the enriched Artemia (A. salina) with T. gracilis. In addition there were the high rate of Echinenone accumulation in mandarinfish larvae fed with enriched Artemia with D. salina. And it was found that the mandarinfish larvae which fed with I. galbana and T. gracilis showed the highest rate of canthaxanthin accumulation en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account