DSpace Repository

โครงการการพัฒนาผลิตฝรั่งกึ่งแห้งที่เสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยใช้การดึงน้ำออกวิธีออสโมซิสร่วมกับการทำแห้ง

Show simple item record

dc.contributor.author วิชมณี ยืนยงพุทธกาล th
dc.contributor.author อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ th
dc.contributor.author ธีรารัตน์ อิทธิโสภณกุล th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:11Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:11Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1542
dc.description.abstract การใช้สารละลายผสม (โอลิโกฟรุคโตส: ซูโครส: โซเดียมคลอไรด์) ที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันในการออสโมซิสฝรั่งมีผลทำให้ค่า WL SG และ WR แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ผลจากการสร้างสมการ Regression พบว่า ค่า WL และ WR เป็นผลมาจากความเข้มข้น ของซูโครสและโซเดียมคลอไรด์เป็นสำคัญ การใช้สารละลายผสมที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันมีผลทำให้ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด และคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) โดยพบว่าสิ่งทดลองที่ใช้สารละลายผสมของโอลิโกฟรุคโตส 35% และซูโครส 15%ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุด (p≤0.05) จากการแปรปัจจัยด้านความเข้มข้นของเฟอรัสกลูโคเนต แคลเซียมแลคเตท และการใช้สภาวะสุญญกาศในการออสโมซิส พบว่า อิทธิพลร่วมของทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อคะแนนความชอบโดยรวม (p≤0.05) อิทธิพลระหว่างความเข้มข้นของเฟอรัสกลูโคเนตกับการใช้สภาวะสุญญากาศมีผลต่อปริมาณเหล็กของฝรั่งหลังการออสโมซิส (p≤0.05) และอิทธิพลระหว่างความเข้มข้นของแคลเซียมแลคเตทกับการใช้สภาวะสุญญากาศมีผลต่อปริมาณแคลเซียมของฝรั่งหลังการออสโมซิส (p≤0.05) ปัจจัยหลักแต่ละด้านมีผลต่อค่า WL SG และWR (p≤0.05) เลือกสิ่งทดลองที่ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุด คือ การเติมเฟอรัสกลูโคเนตความเข้มข้น 1% และแคลเซียมแลคเตทความเข้มข้น 1% ร่วมกับการใช้สภาวะสุญญากาศ การ ออสโมซิสช่วยลดเวลาในการทำแห้งลงได้ โดยเวลาที่ใช้ในการทำแห้งฝรั่งที่ผ่านและไม่ผ่านการออสโมซิสที่อุณหภูมิ 70 °C ความดัน 36 cmHg เท่ากับ 580 และ 697 นาที ตามลำดับ โดยพบว่า ฝรั่งกึ่งแห้งที่ผ่านการออสโมซิสมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมด แคลเซียม และเหล็ก มากกว่าฝรั่งกึ่งแห้งที่ไม่ผ่านการออสโมซิส รวมถึงได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมากกว่าซึ่งอยู่ในระดับชอบปานกลาง (p<0.05) ผลิตภัณฑ์ฝรั่งกึ่งแห้งที่พัฒนาได้มีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค เมื่อเก็บรักษาไว้อย่างน้อย 1 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การทำแห้ง th_TH
dc.subject ฝรั่ง th_TH
dc.subject วิธีออสโมซิส th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title โครงการการพัฒนาผลิตฝรั่งกึ่งแห้งที่เสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยใช้การดึงน้ำออกวิธีออสโมซิสร่วมกับการทำแห้ง th_TH
dc.type Research
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative Difference concentrations of mixture solution (Oligofructose, sucrose and NaCl) used in guava osmosis effected on WL SG and WR (p≤0.05). The result from regression equation showed that WL and WR significantly affected from sucrose and NaCl concentration. Difference concentrations of mixture solutions significantly affected on total sugar content and liking sensory scores (p≤0.05). The treatment using mixture of Oligofructose 35% and sucrose 15% received the highest overall liking scores (p≤0.05).The influence of factor variation from ferrous gluconate concentration, calcium lactate concentration and vacuum impregnation treatment were evaluated. It was found that all three factors influenced overall liking scores (p≤0.05). Both ferrous gluconate concentration and vacuum impregnation treatment influenced iron content of osmosed guava (p≤0.05). As well as both calcium lactate concentration and vacuum impregnation treatment influenced calcium content of osmosed guava (p≤0.05). Each main factorsaffected on WL SG and WR (p≤0.05). Treatment using 1% ferrous gluconate and 1% calcium lactate combined with vacuum impregnation was selected because it received the highest overall liking scores. Osmosis treatment could reduce the drying time. Drying time under temperature 70 C, pressure 36 cmHg of non-osmosed and osmosed guava were 580 and 697 minutes, respectively. It was found that semi-dried osmosed guava contained more content of total sugar, calcium and iron than semi-dried nonosmosed guava as well as received more overall liking scores as moderately like level (p≤0.05). The developed product was safely to consumer when stored at room temperature for at least 1 month. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account