DSpace Repository

อุบัติการณ์และแนวทางเพื่อนำไปสู่การควบคุมการปนเปื้อน แบคทีเรียกรดแลคติกในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิงของประเทศไทย (ปีที่ 1)

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริโฉม ทุ่งเก้า
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:09Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:09Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1523
dc.description.abstract โครงการวิจัยนี้ศึกษาการปนเปื้อนแบคทีเรียกรดแลคติกของโรงงานผลิตเอทานอลที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบจำนวน 4 แห่ง โดยนำตัวอย่างจากขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ กากน้ำตาลเข้มข้นสารอาหารเพิ่มเติม กากน้ำตาลที่ใช้เลี้ยงยีสต์ กากน้ำตาลจากท่อผสม กากน้ำตาลจากถังหมัก และน้ำหมักก่อนการกลั่น รวมทั้งสิ้น 67 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนสิงหาคม 2556 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 ทำการแยกเชื้อบนอาหาร MRS agar ที่เติม cycloheximide 100 mg/l พบว่าทุกโรงงานมีแบคทีเรียกรดแลคติกปนเปื้อนในทุกจุดที่เก็บตัวอย่าง โดยมีปริมาณอยู่ในช่วงประมาณ 5-8 log cfu/ml ยกเว้นในกากน้ำตาลเข้มข้นที่พบน้อยกว่า 0.5 log cfu/ml และสามารถรวบรวมโคโลนีที่พบมากได้ทั้งหมด 25 ไอโซเลต เมื่อนามาจัดจาแนกโดยใช้ชุดทดสอบ API 50 CHL พบว่าอยู่ใน 2 จีนัส ได้แก่ Lactobacillus และ Pediococcus โดยไอโซเลตร้อยละ 88 เป็นจีนัส Lactobacillus สปีชีส์ของ Lactobacillus ที่พบ ได้แก่ L. plantarum 1, L. pentosus, L. fermentum 2, L. brevis 1, L. rhamnosus และ L. buchneri โดย L. pentosus เป็นสปีชีส์ที่พบได้บ่อยที่สุด และจากการศึกษาซ้ำในบางโรงงานพบการปนเปื้อนในระดับที่ใกล้เคียงกันรวมทั้งพบแบคทีเรียสปีชีส์เดิมด้วย ผลการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศไทยที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบมีแบคทีเรียกรดแลคติกปนเปื้อนในระดับค่อนข้างสูงและแพร่กระจายอยู่ในทุกขั้นตอนของกระบวนการหมัก จึงควรมีการศึกษาถึงผลกระทบต่อการผลิตเอทานอลของแบคทีเรียเหล่านี้รวมทั้งหาแนวทางในการลดการปนเปื้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กากน้ำตาล th_TH
dc.subject การปนเปื้อน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.subject เอทานอล th_TH
dc.subject แบคทีเรียกรดแลคติกใส th_TH
dc.title อุบัติการณ์และแนวทางเพื่อนำไปสู่การควบคุมการปนเปื้อน แบคทีเรียกรดแลคติกในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิงของประเทศไทย (ปีที่ 1) th_TH
dc.title.alternative Incidence and strategies for controlling lactic acid bacteria contamination in Thailand industrial fuel ethanol production en
dc.type Research
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative This research studied the contamination of lactic acid bacteria in the process for ethanol production in four commercial plants employing molasses as the raw material. A total of 67 samples collected were concentrated molasses, additional nutrients, yeast cultivation molasses, molasses in mixing lines, as well as fermentation molasses between August, 2013 to June, 2014. Isolations of lactic acid bacteria were performed by cultivating on MRS agar containing 100 mg/l cycloheximide. It was found that all four ethanol plants were contaminated with lactic acid bacteria in a range of ca.5-8 log cfu/ml except the molasses raw material which contained less than 0.5 log cfu/ml. A total of 26 predominated isolates of lactic acid bacteria were identified using API 50CHL biochemical tests to be in two genera, Lactobacillus and Pediococcus with Lactobacillus accounted for 88 % of total isolates. The species of Lactobacillus found were L. plantarum 1, L. pentosus, L. fermentum 2, L. brevis 1, L. rhamnosus, and L. buchneri with L. pentosus being the most common species. Moreover, re-examination in some plants revealed similar numbers and same species of bacteria. The data verify contamination with lactic acid bacteria throughout the processes to produce ethanol from molasses in Thailand. Further studies on effects of contamination on ethanol production as well as strategies for reducing such contamination should be conducted in order to increase the production efficiency. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account