DSpace Repository

การเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต th
dc.contributor.author พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ th
dc.contributor.author วัลลดา เล้ากอบกุล th
dc.contributor.author นลิน มงคลศรี th
dc.contributor.author วัลลภา พ่วงขำ th
dc.contributor.author พิจารณา ศรีวาจนะ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:51Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:51Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/145
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนกลับ (Case-Control Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่มีภาวะแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยอาศัยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) จากผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินไม่น้อยกว่า 2 ปี ที่มารับบริการการตรวจรักษาที่คลินิกเฉพาะโรคเบาหวาน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ทุกรายในช่วงเวลา ที่ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล จนได้กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเป็น กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 77 คน และไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน 4 ด้าน ได้แก่ 1) พฤติกรรมการรับประทานยา 2) พฤติกรรมการรับประทานอาหาร 3) พฤติกรรมการออกกำลังกาย และ 4) พฤติกรรมการดูแลตนเอง / การจัดการการเครียด และแบบบันทึกผล การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฎิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่า ที (T-test) การวิเคราะหืค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่ได้โดยการทดสอบค่า ที (t) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งสองกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่นๆ พบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลตนเอง/การจัดการความเครียด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งสองกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งที่ไม่มีและมีภาวะแทรกซ้อน มีพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง และมีพฤติกรรมด้านการรับประทานยา การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลตนเองเกี่ยวกับการจัดการความเครียดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการรับประทานยา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มากกว่าพฤติกรรมสุขภาพด้านด้านอื่น ๆ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวม ได้แก่ ระดับการศึกษา โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อาชีพ มีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 อาชีพ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการรรับประทานอาหาร อย่างมีนียสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 รายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานยา การรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .01 และ .05 ตามลำดับ ระยะเวลาการเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 en
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เบาหวาน - - โรค - - การรักษา th_TH
dc.subject เบาหวาน - - ผู้ป่วย - - การใช้ยา th_TH
dc.subject เบาหวาน - - ผู้ป่วย - - ยา th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Comparison of drug using compliance between diabetic patients with and without comolications at health science center en
dc.type Research
dc.year 2547
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were designed to compare drug using compliance between diabetic patients with and without complivations at Health Sciece Center, Burapha University. The sample selected by quota sampling from type 2 diabetic patients who had more than 2 years gotten diagnosis. They were divided in to control group (without complications 72 patients) and a study group (with complications 77 patients). Measurements were made by 4 topics of health behavior questionnaire; 1) drug using compliance 2) diet behavior 3) exercise 4) emotional self-care, recording physical examination and laboratories. The statistics employed were frequency, percentage, mean, Standard deviation, t-test and Pearson's product moment correlation coefficient. The result of this study found that: 1. The comparison of drug using compliance between type 2 diabetic patients with and without complications were not different with non-statistical significance. 2. The comparison of other health behaviors between type 2 diabetic patients with and without complications were found that not different with non-statistical significance. 3. As a whole of health behaviors in type 2 diabetic patients with and without complications were in medium level. The most of health behaviors mean score was drug using compliance. 4. The positice correlation factors to health behaviors were education and Income at a statistically significant level of .01 and .05 (r=.2150, .1843). The negative correlation factors to health behaviors were occupation at a statistically significant level od .05 (r=-.1624). 5. Educational had a positive correlation to drug using compliance, exercise and emotional self-care behaviors at a statistically significant level of .05 Occupation had a negative correlation to diet behavior at a statistically significant level of .01. Income had a positive correlation to drug using compliance, diet behavior exercise and emotional self-care behaviors at a statistically significant level of .05,.01 and .05 Course of illness had a correlation to health behaviors at a non-statistically significant level of .05. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account