DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรแบบบูรณาการ (ปีที่ 1)

Show simple item record

dc.contributor.author พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ th
dc.contributor.author เวธกา กลิ่นวิชิต th
dc.contributor.author ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ th
dc.contributor.author กาญจนา พิบูลย์ th
dc.contributor.author พวงทอง อินใจ th
dc.contributor.author สมชาย ยงศิริ th
dc.contributor.author ยุวดี รอดจากภัย th
dc.contributor.author สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:26Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:26Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1321
dc.description.abstract แผนงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสารสนเทศและจัดการความรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน 3) เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ 5) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชนและครอบครัวต้นแบบ เพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ 6) เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในศูนย์บริการแบบพักค้างและแบบช่วงกลางวัน และ 7) เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุ ผู้ให้บริการ ผู้ดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุในภาคตะวันออกของไทย วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การวิเคราะห์อภิมาน การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม การวิจัยเชิงสำรวจ เชิงพรรณนา ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ ตุลาคม 2555-กันยายน 2556 ผลการวิจัยในแต่ละ โครงการวิจัยย่อยพบว่า 1. ผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุในภาคตะวันออก พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ มีคุณภาพอยู่ในระดับที่ 3 หรือระดับ C (70.59%) งานวิจัยในระดับที่ 1 ระดับ A และ ระดับที่ 2 ระดับ B พบว่า มีการศึกษาน้อยที่สุด (5.88%) ประเด็นที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุในภาคตะวันออก พบว่า ส่วนใหญ่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การหกล้ม และการดูแลตนเอง รูปแบบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่ใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (60%) การวัยเกี่ยวกับโรคในผู้สูงอายุภาคตะวันออก ส่วนใหญ่คือ โรคเบาหวาน รองลงมาคือ โรคสมองเสื่อม ภาวะหัวใจวายและโรคข้อเข้าเสื่อม งานวิจัยในระดับที่ 3 และ 4 ส่วนใหญ่เป้นงานวิจัยเกี่ยวกับสวัสดิการและโครงการเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ (60%) 2. สถานการณ์ด้านภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก พบว่า มีระดับการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับดี และดีมาก โดยส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตนเองมีสุขภาพดี (46.7%) 3. การสังเคราะห์งานวิจัยในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง พบว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการศึกษาวิจัยมากที่สุด โดยพบว่าผลการวิจัยรูปแบบการควบคุมโรคเบาหวาน 2 รูปแบบ คือ 1) โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองที่มีการดำเนินการติดตามประสิทธิผลของผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง และ 2) โปรแกรมส่งเสริมการดูแลควบคุมการดูแลควบคุมโรคเฉพาะเรื่อง โดยพบว่า รูปแบบที่ 1 สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงได้ และรูปแบบที่ 2ประกอบด้วย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การปฏิบัติสมาธิ การให้ความรู้ การให้คำปรึกษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน 4. ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก พบว่า ผู้หญิงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประชากรผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออก (68.2%, 84%, 76.57% และ 70.3%) อายุเฉลี่ยของผู้สูงอายุในชุมชน คือ 67.3+-5.64 ปี และในศูนย์ให้บริการแบบพักค้าง คือ 71.92 ปีโดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วงอายุที่ต่ำกว่า 70 ปี เป็นผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี) (66.11%: 33.89%, 54.7%: 45.3% และ 77.33%: 22.67%) สถานภาพสมรส คู่ (55.7%, 57.5% และ 43.93%) รองลงมาคือ สถานภาพ หม้าย (31.33%, 39.33% และ 29.84%) ส่วนใหญ่ ยังมีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษา (56.1%, 68.2% และ 78.05) จำนวนผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาสุงกว่าระดับประถมศึกษา มีมากกว่า ที่ไม่ได้รับการศึกษามาก 5. การพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุในการให้บริการแบบช่วงกลางวัน พบว่า มีความต้องการมาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 5 องค์ประกอบ 14 มาตรฐาน ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ มี 4 มาตรฐาน 2) องค์ประกอบคุณลักษณะและสมรรถนะของผู้ให้บริการมี 2มาตรฐาน 3) องค์ประกอบด้านคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุ มี 6 มาตรฐาน 4) องค์ประกอบด้านระบบการเงินและการคลัง มี 2 มาตรฐาน และ 5) องค์ประกอบด้านระบบมาตรฐานภายใน มี 1 มาตรฐาน 6. การพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 10 มาตรฐาน คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการบริหารจัดการ มี 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 การดำเนินงาน มาตรฐานที่ 2 ระบบบริหารจัดการ มาตรฐานที่ 3 การบริหารการเงิน องค์ประกอบที่ 2 ด้านการดูแลสุขภาพ มี 3 มาตรฐานคือ มาตรฐานที่ 4 การวางแผนการดูแลสุขภาพ มาตรฐานที่ 5 การดูแลสุขภาพ มาตรฐานที่ 6 การบริหารยา องค์ประกอบที่ 3 สิทธิและความคุ้มครอง มี 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 7 ด้านสิทธิของผู้สูงอายุ มาตรฐานที่ 8ความเป็นส่วนตัว และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ องค์ประกอบที่ 4 ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย มี 1 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 9 ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และองค์ประกอบที่ 5 ด้านระบบมาตรฐานภายใน มี 1 มาตรฐานคือ มาตรฐานที่ 10 ระบบและกลไกประกันคุณภาพ 7. กลุ่มผู้ที่ให้บริการผู้สูงอายุในศูนย์บริการแบบพักค้าง ตามบริบทของภาคตะวันออกส่วนใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้ (30.8%) ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงาน คุณวุฒิระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงตอนปลายและไม่ได้ผ่านการรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ สถานบริบาลส่วนใหญ่ ใช้กระบวนการสอนงานและอยู่ในความควบคุมของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุ มีความต้องการมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ด้านการบริหารจัดการและการปฏิบัติงาน ที่ผู้ดูแลควรได้รับการรับรองหรือผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ 8. การศึกษาภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 239 ราย ผลการศึกษาพบว่า ภาวะโภชนาการมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทุก ๆ มิติ (r=0.379 p<0.001) ในระดับปานกลาง (64.44%) กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า คือ กลุ่มที่ออกกำลังกายมากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์ (25.34+-2.80 vs. 24.46+-3.05, p=0.03) และกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน (94.60+-10.41 vs. 90.38+-8.72 p=0.01) ผลการตรวจด้วยเครื่อง BCM มีความสัมพันธ์กับผลการวัด MNA แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (r=0.11 p=0.165) 9. สถานการณ์โรคในผู้สูงอายุ ภาคตะวันออก พบว่า ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุเรียงลำดับ 5 ลำดับ ดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขข้อ โรคกระดูกเสื่อม และโรคกระเพาะอาหาร 10. ความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ต้องการด้านการสนับสนุนจากสังคม เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้เป็นส่วนใหญ่ 11. การเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่บ้าน ตามบริบทของภูมิภาคตะวันออก ของไทย มี ความหมาย 2 แบบคือ 1) ผู้ที่เจ็บป่วยที่บ้าน และมีอาการทรุดลง ก่อนเสียชีวิต 2) ผู้ที่ศึกษาที่โรงพยาบาลไม่ได้แล้ว ต้องมาดูแลเพื่อเสียชีวิตที่บ้าน การตายอย่างสงบที่บ้าน หมายถึง การตายที่หมดอายุขัย และจากไปแบบไม่ทรมาน การตายที่สงบและอบอุ่น ณ บ้านของตนเอง การตายที่ไม่รบกวนลูกหลาน การตายที่มีลูกหลานมาอยู่รอบข้าง และ การตายตามธรรมชาติที่ทำให้ลูกหลานมีความสุขสบายใจ 12. ความต้องการของผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต มี 2 ข้อ ได้แก่ 1) การได้ทำบุญก่อนจากไป 2) การมีโอกาสได้สั่งเสียลูกหลาน การเตรียมผู้สูงอายุและญาติ เพื่อให้ผู้สูงอายุตายอย่างสงบ ควรประกอบไปด้วย องค์ประกอบ 7 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. การที่ลูกหลานอยู่เคียงข้างตลอดเวลา 2. การมีเสียงพูดบอกนำทางก่อนสิ้นใจ 3. การช่วยให้ได้ทำบุญที่บ้าน 4. การที่ลูกหลานช่วยให้หมดความห่วงกังวล 5. การดูแลความสุขสบาย คอยช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน 6. การที่ลูกหลานทำให้ตามที่รับปากไว้ 7. การจัดเตรียมสิ่งของตามความเชื่อไว้ให้ก่อนการตาย The purpose of this research project was developing integrated aging care model and sub-objective were 1) developing and sharing aging health information 2) development health Promotion model and evaluation health promotion potential in elderly 3) developing health care standard for elderly with chronic illness 4) development nutritional care model and nutritional assessment in elderly 5) development prototype of community and family For integrated aging health care 6) developing aging health care standard in nursing home and day care 7) development home-based peaceful dying preparation for elderly at the end of life. The population of this research project was the elderly, the provider and the care giver in eastern Region of Thailand. Research methodologies were meta-analysis, systematic review, participatory Action research and descriptive research. Study time since October 2012 to September 2013. It was found that; 1. The research synthesis of elderly in the eastern region revealed that there were in level C mostly (70.59%), level A and B slightly (5.88%), the most aging health care study were health promotion behavior, fall and self care. The research framework ususlly used Pender’s health promotion model (60%), and the most study in chronic illness was Diabetic Mellitus and the second were dementia, heart disease and arthritis. The research in level C and D were study in elderly welfare and subsistence allowance project for the elderly mostly (60%). 2. Health status and health behavior in the eastern elderly were in the good and very good level. They feel healthy (46.7%). 3. The systematic review founded that Diabetic Mellitus was the most chronic illness to study and proposed 2 model for controlling disease namely; 1) Self health care program by monitoring efficacy continuously 2) Special program for control health behavior (food, exercise, mediation, health education, counseling and complication prevention). 4. Demographic of the eastern elderly revealed that female were the most population in this area (68.2%, 84.6%, 76.57% and 70.3%), average of age was 67.3+-5.64 years in community and 71.92 years in nursing home. They were in the early elderly (60-69 years) more than the lately elderly (66.11%: 33.89%, 57.7%) 45.3% and 77.33%: 22.67%). Couple was the most status of them (55.7%, 57.5% and 43.93%) by window was secondly (31.33%, 39.33% and 29.84%). The sample has primary school education mostly and more interested that their education in Higher level more than no education. 5.Standard of aging health care in day care has 5 components and 14 standards such as; 1) Management has 4 standards 2) Characteristics and competencies of providers have 2 standards 3) Health care quality has 6 standards 4) Budgeting system has 2 standards and 5) Internal process has 1 standard. 6. Standard of aging health care in nursing home has 5 components and 10 standards namely; 1) Management has 3 standards (1. Operation standard 2. Management system standard 3. Financial standard) 2) Health care has 3 standards (4. Health care planning 5. Health care 6. Drug Administration) 3) Right and Protection have 2 standards (7. Elderly rights 8. Privacy and human dignity) 4) Environment and safety system has 1 standard (9.Environment and safety system) and 5) Internal process has 1 standard (10. Quality system and quality assurance) 7. The provider in nursing in the eastern region was nursing aid (30%), education in primary school or secondary school and more over they has not certify for elderly care. The nursing care mostly trained them by on the job training and be covered by registered nurses On the other hand, The elderly need the certified provider importantly. 8. Nutrition status of 239 participants elderly found correlation between nutritional status and quality of life (QOL) (r=0.379 p<0.001) in the middle range (64.44%) had normal MNA. Those who had normal MNA also had better QOL (93.01+10.61 vs. 89.69+9.71, p= 0.016). The subjects who exercise more than 4 days per week had better MNA (25.34+2.80 vs. 24.46+3.05 p=0.03). Those who had higher income (more than 10,000 bath/month) had higher QOL (94.60+10.41 vs. 90.38+8.72 p=0.01). MNA correlated to all domain of QOL (r=0.379 p<0.001). BCM correlated to MNA but not QOL (r=0.111 p=0.165). 9.Illnesses situation in the eastern elderly found in the top 5 chronic illnesses namely; Hyper Tension, Diabetic Mellitus, Arthritis, Osteoporosis and Peptic ulcer. 10. The most elderly need of self health care was the social support. 11. Preparing of death and dying peaceful in home-based for the eastern elderly and their family were 2 types; 1) Sickness and dying at home 2) Sickness in hospital and refer to dying at home. Home-based dying peaceful means de-function, dying at their home, dying around their descendant and doesn’t obligate their family. 12. The end of life care of the eastern elderly needs 2 aspects namely; 1) Make merit before die and 2) Give parting instructions and has 7 items to prepare; 1) Beside 2) Softly voice to passing this moment 3) Make merit 4) Help to release their concern 5) Comfortably daily care 6) Do covenant and 7) Prepare on their believe. th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จาก สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ - - การดูแล - - ไทย - - ชลบุรี th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรแบบบูรณาการ (ปีที่ 1) th_TH
dc.title.alternative Development of Integrative Aging Care Model (Phase I) en
dc.type Research
dc.year 2556


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account