DSpace Repository

การศึกษาการซึมผ่านของน้ำมันดีเซลผ่านทรายโดยใช้ถังทดสอบ

Show simple item record

dc.contributor.author สยาม ยิ้มศิริ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:20Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:20Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1219
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการศึกษาทดลองเบื้องต้นถึงผลกระทบของการไหลของน้ำใต้ดินและสภาวะน้ำขึ้นน้ำลงที่มีผลต่อการเคลื่อนตัวของน้ำมันดีเซลซึ่งจัดเป็น NAPL ชนิดที่มีความหนาแน่น้อยกว่าน้ำหรือ LNAPL (Light Non-Aqueous Phase Liquid) ในตัวกลางพรุนเนื้อเดียวชนิดไม่อิ่มตัวด้วยน้ำโดยวิธีวิเคราะห์ภาพถ่ายการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนแรกทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราความเข้มแสงเฉลี่ย, ระดับการอิ่มตัวด้วยน้ำ และระดับการอิ่มตัวด้วยน้ำมันดีเซลด้วยวิธีวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน (Multispectral Image Analysis Method, MIAM) (Kechavarzi et al., 2000) ในตัวกลางพรุนทั้งสามชนิดคือ ดินทรายชลบุรี ดินทรายออตาวาเบอร์ 3820 และดินทรายออตาวาเบอร์ 3821 พบความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นระหว่างอัตราความเข้มแสงเฉลี่ย ระดับการอิ่มตัวด้วยน้ำ และระดับการอิ่มตัวด้วยน้ำมันดีเซล ในดินทรายออตาวาเบอร์ 3820 และดินทรายออตาวาเบอร์ 3821 และไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวในดินทรายชลบุรี ส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลกระทบของการไหลของน้ำใต้ดินและสภาวะน้ำขึ้นน้ำลงที่มีผลต่อการเคลื่อนตัวของน้ำมันดีเซลในตัวกลางพรุนเนื้อเดียวชนิดไม่อิ่มตัวด้วยน้ำโดยวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (Simplified Image Analysis Method, SIAM) (Flores et al., 2011) เพื่อวิเคราะห์หาระดับการอิ่มตัวของน้ำและระดับการอิ่มตัวของน้ำมันดีเซล ทำการศึกษาในแทงค์อะครีลิคสองมิติ ขนาด 3.5 ซม. × 50 ซม. × 60 ซม. โดยตัวกลางพรุนที่ใช้คือ ดินทรายออตาวาเบอร์ 3820 และดินทรายออตาวาเบอร์ 3821 ซึ่งดินทรายทั้งสองชนิดนี้มีความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นระหว่างอัตราความเข้มแสงเฉลี่ย ระดับการอิ่มตัวด้วยน้ำ และระดับการอิ่มตัวด้วยน้ำมันดีเซลจึงสามารถประยุกต์ใช้วิธีวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่ายได้ ดำเนินการทดลองทั้งสิ้น 6 การทดลองโดยในแต่ละการทดลองใช้เวลาทั้งสิ้น 54 ชั่วโมง โดยแปรผันค่าความชันทางชลศาสตร์ 3 ค่า คือ 0, 0.1 และ 0.2 และจำลองสภาวะน้ำขึ้น-น้ำลงทั้งสิ้น 2 รอบ ผลการศึกษาทดลองพบว่า การขึ้นลงของน้ำใต้ดินมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญในการกระจายของระดับการอิ่มตัวด้วยน้ำมันดีเซล ทั้งในเขตอิ่มน้ำและเขตอิ่มอากาศ และอัตราการไหลของน้ำใต้ดินที่สูงมีผลทำให้การกระจายตัวของน้ำมันดีเซลได้มากกว่า อัตราการไหลของน้ำใต้ดินที่ต่ำก่อให้เกิดการปนเปื้อนของน้ำมันดีเซลในชั้นใต้ดินได้ในวงกว้าง th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย ทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.subject น้ำมันดีเซล
dc.title การศึกษาการซึมผ่านของน้ำมันดีเซลผ่านทรายโดยใช้ถังทดสอบ th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2555


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account